การทำลายสินค้า
หนังสือแจ้งทำลายสินค้า (Goods Destruction Notification) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ใช้ในกระบวนการการทำลายสินค้าหรือสินค้าที่มีปัญหาหรือเสียหายอย่างมีประสิทธิภาพและให้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำลายนั้น เป็นเอกสารที่สำคัญในการบัญชีและการจัดการสินค้าในบริษัทหรือองค์กร
หนังสือแจ้งทำลายสินค้ามักมีรายละเอียดต่อไปนี้
-
ข้อมูลสินค้า รายละเอียดของสินค้าที่ต้องการทำลาย เช่น ชื่อสินค้า รหัสสินค้า จำนวน หน่วยนับ เป็นต้น
-
เหตุผลการทำลาย อธิบายเหตุผลที่ต้องการทำลายสินค้า เช่น สินค้าชำรุด หมดอายุ หรือไม่เหมาะสมในการใช้งานต่อไป
-
วิธีการทำลาย อธิบายวิธีที่ใช้ในการทำลายสินค้า เช่น การทำลายด้วยการทำลายทางกายภาพ เผาไหม้ หรือการทำลายทางเคมี
-
วันที่และเวลาที่ทำลาย ระบุวันที่และเวลาที่สินค้าถูกทำลาย
-
ข้อมูลผู้ทำลาย ระบุชื่อและตำแหน่งของบุคคลหรือผู้รับผิดชอบในกระบวนการทำลาย
-
ลายเซ็น ลายเซ็นของผู้รับผิดชอบในการทำลายและผู้ตรวจสอบหรืออนุมัติ
หนังสือแจ้งทำลายสินค้าเป็นการบันทึกสำคัญในกระบวนการจัดการสินค้าและการบัญชี มันช่วยให้สามารถติดตามและตรวจสอบการทำลายสินค้าได้อย่างถูกต้องและมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ การทำลายสินค้าเชิงกฎหมายและความสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ดังนั้น การปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการทำลายสินค้า
การทำลายสินค้า เมื่อผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะทำลายสินค้าจะต้องมีเอกสารหลักฐานในการบันทึกบัญชีด้วย
– เอกสารหรือรายงานการขออนุมัติการทำลาย ซึ่งจะต้องมีลายเซ็นของผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายสินค้าและวัตถุดิบ โดยจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้สรรพากรตรวจสอบ
– บันทึกในรายงานสินค้าและวัตถุดิบในช่อง “จ่าย” และหมายเหตุ “ทำลายเมื่อวันที่” จะบันทึกการทำลายเฉพาะในรายงานสินค้าและวัตถุดิบเท่านั้น ไม้ต้องบันทึกรายการอื่นอีก เพราะจะเป็นการบันทึกบัญชีซ้ำซ้อนเนื่องจากการบันทึก “จ่าย” จากรายงานได้ทำให้มูลค่าสินค้าและวัตถุดิบปลายงวดลดลงแล้ว
การทำลายสินค้า ของเสียและเศษซาก ทำอย่างไร
การลงรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับของเสียเกินปกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัย สินค้าหมดอายุ มีขั้นตอน ดังนี้
– ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้าดังกล่าวว่า เสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่
– เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสีย เศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ(ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ละลงลายมือชื่อเป็นพยานร่วมในการตรวจสอบ
– ก่อนทำลายต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่สรรพากรจังหวัดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน สรรพากรอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายตามความเหมาะสม
เปิดใบกำกับภาษี กรณีสินค้าเน่าเสียเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย
ถ้าจะทำลายสินค้าที่หมดอายุหรือว่าเน่าเสีย ต้องแจ้งหน่วยงานไหนไหม แล้วต้องเปิดใบกำกับภาษีไหม กรณีสินค้าเน่าเสียเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ หากบริษัทฯ ได้ทำลายสินค้าซึ่งชำรุดบกพร่องนั้น
ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้าที่ได้ทำลาย และบริษัทฯ มีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายสินค้าแล้วให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายเพื่อใช้เป็น หลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยาน ในการทำลาย
ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
สถานที่ การ จดทะเบียน พาณิชย์?
ช้อปปิ้ง SHOPEE รับจ่าย โดนภาษี ย้อน หลัง?
ซื้อ ของไป บริจาค ภาษีซื้อ ขอคืน ได้หรือไม่?
แม่ค้าร้านค้า ขายของออนไลน์ รายรับจ่าย รู้ก่อนโดนย้อนหลัง?
วิธีการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่ม ยอดขาย
ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ รายรับ รายจ่าย โอกาส?
รับทําบัญชี #2 DBD สำนักงานบัญชี ระยอง ปิดงบ จดบริษัท?
จดทะเบียน ร้านขายข้าวมันไก่ ที่ ฟาสต์ฟู้ด?