ความหมายของการบัญชี หลักการ และแนวความคิดในทางบัญชี ?
การบัญชี เป็นเรื่องของการจดบันทึกรายการหรือข้อมูลที่เป็นจำนวนเงิน รายการประเภทเดียวกันจะถูกบันทึกไว้ด้วยกัน และเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งจะสรุปยอดของรายการต่างๆที่ได้บันทึกไว้ว่าแต่ละรายการมียอดเป็นเท่าใด แล้วจัดทำเป็นรายงาน รวมทั้งการวิเคราะห์และตีความหมายของข้อมูลที่ปรากฏในรายงานที่ทำขึ้น คนส่วนใหญ่คิดว่าการบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชีเท่านั้น ความจริงแล้วการบัญชีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน การรับเงิน การจ่ายเงินเพื่อซื้อสิ่งของ การกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อบ้านล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบัญชีทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ หรืออาจจะมีการบันทึกเพียงบางเรื่องเท่านั้น
หลักการและแนวความคิดในทางบัญชี (Accounting Principles and Concepts)
งบการเงินมีประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ และนักลงทุน เป็นต้น ดังนั้น ข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงินที่นำเสนอต่อบุคคลฝ่ายต่างๆนั้น จะต้องเป็นข้อมูลที่มีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการดังนี้ ประการแรก มีความเกี่ยวข้อง (Relevance) กับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ ข้อมูลในงบการเงินสามารถใช้ประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ ประการที่สอง มีความเชื่อถือได้ (Reliability) นั่นคือ ต้องเป็นข้อมูลที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ใช่ข้อมูลที่เสริมแต่งขึ้นเพื่อหวังประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ประการที่สาม การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) นั่นคือ ข้อมูลคนละงวดเวลากันต้องเปรียบเทียบกันได้ และต้องสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลในงบการเงินของกิจการอื่นได้ด้วย
สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร
47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
ในปัจจุบันการบัญชียิ่งมีบทบาทมากยิ่งขึ้น นักการเมืองที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เกษตรกรจะกู้เงินจากธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จะต้องประมาณการรายรับและรายจ่ายยื่นต่อธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องของการบัญชีทั้งสิ้นแต่เป็นการบัญชีของส่วนบุคคล สำหรับการบัญชีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Proprietorship) โดยทั่วไปจะเป็นกิจการขนาดเล็ก เช่นร้านขายอาหาร ร้านถ่ายเอกสาร ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเสริมสวย และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องรับผิดในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัด
- ห้างหุ้นส่วน (Partnership) หมายถึงกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปซึ่งเรียกว่าหุ้นส่วนร่วมกันลงทุนในกิจการ โดยแบ่งผลกำไรขาดทุนตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ขนาดของกิจการจะใหญ่กว่ากิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือประเภทไม่จำกัดความรับผิดผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหุ้นส่วน 2 ประเภทคือ หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด และ หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จะรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน ไม่เกินจำนวนเงินที่รับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วน
- บริษัทจำกัด (Corporation) การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบนี้จะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กันแล้วนำหุ้นออกจำหน่ายให้กับบุคคลที่สนใจจะลงทุนในบริษัท เราเรียกบุคคลที่ซื้อหุ้นของบริษัทว่าผู้ถือหุ้น (Stockholders) หรือเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี
โดยปกติเมื่อครบ 1 ปี กิจการต่างๆจะสรุปข้อมูลที่ได้บันทึกบัญชีไว้ แล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อรายงานความเป็นไปของธุรกิจให้แก่บุคคลกลุ่มต่างๆที่สนใจได้รับทราบ รายงานที่จัดทำขึ้นนี้เรียกว่างบการเงิน (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย กำไรขาดทุน (Income Statement) งบแสดงฐานะการเงิน (Financial Position Statement) และงบกระแสเงินสด (Cash Flows Statement)
งบแสดงฐานะการเงิน เป็นงบที่ให้ข้อมูลว่า กิจการนั้นมีสินทรัพย์ หนี้สินอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด งบกำไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าใด มีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด และงบกระแสเงินสดเป็นงบที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงินสดของกิจการว่า ได้รับเงินสดมาจากแหล่งใดบ้าง และใช้จ่ายออกไปในเรื่องใดบ้าง ข้อมูลเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่ายในการนำไปใช้ในการตัดสินใจในกรณีต่างๆ
บุคคลภายนอกกิจการ ที่มีส่วนได้เสียกับกิจการ ต้องการใช้ข้อมูลในงบการเงินในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น นักลงทุนใช้งบการเงินเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อหุ้นของกิจการนั้นหรือไม่ ผู้ถือหุ้นต้องการทราบว่า การดำเนินงานของกิจการประสบความสำเร็จหรือไม่ ฐานการเงินของกิจการมีความมั่นคงเพียงใด ทั้งนี้ก็เพื่อ ประเมินความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารกิจการและนโยบายในเรื่องเงินปันผล เจ้าหนี้ต้องการทราบความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ กรมสรรพากรต้องการประเมินภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ นอกจากงบการเงินแล้ว ข้อมูลทางบัญชีอื่นอาจเป็นที่ต้องการใช้ของบุคคลภายนอก เช่นกระทรวงพาณิชย์ต้องการข้อมูลต้นทุนการผลิตของสินค้าบางชนิด เพื่ออนุมัติการขึ้นราคา
บุคคลภายในกิจการ ได้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ เช่นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการฝ่ายผลิต และผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น ต้องการข้อมูลทางการบัญชีเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของกิจการ
หลักการและแนวความคิดในทางบัญชี (Accounting Principles and Concepts)
งบการเงินมีประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ และนักลงทุน เป็นต้น ดังนั้น ข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงินที่นำเสนอต่อบุคคลฝ่ายต่างๆนั้น จะต้องเป็นข้อมูลที่มีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการดังนี้ ประการแรก มีความเกี่ยวข้อง (Relevance) กับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน นั่นคือ ข้อมูลในงบการเงินสามารถใช้ประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ ประการที่สอง มีความเชื่อถือได้ (Reliability) นั่นคือ ต้องเป็นข้อมูลที่มีความเที่ยงธรรม ไม่ใช่ข้อมูลที่เสริมแต่งขึ้นเพื่อหวังประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ประการที่สาม การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) นั่นคือ ข้อมูลคนละงวดเวลากันต้องเปรียบเทียบกันได้ และต้องสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลในงบการเงินของกิจการอื่นได้ด้วย
ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้งบการเงินทุกกลุ่ม จึงมีข้อกำหนดให้งบการเงินของทุกกิจการต้องได้รับการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกกิจการที่เรียกว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตออกความเห็นว่า งบการเงินของกิจการนั้นๆ
ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปหรือไม่ สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีหลายฉบับ ทั้งนี้เพื่อให้นักบัญชีซึ่งเป็นผู้จัดทำงบการเงินได้ถือเป็นหลักปฏิบัติ มาตรฐานฉบับต่างๆนั้น ล้วนแต่มีรากฐานมาจากหลักและแนวความคิดในทางการบัญชีทั้งสิ้น
แก้ไขครั้งสุดท้าย เมษายน 25, 2022
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
รับทำบัญชี ยื่นภาษี ตรวจ สอบบัญชี บริการ ทำบัญชี บริษัท