งบกระแสเงินสดกิจการ
งบกระแสเงินสดของกิจการ Statement of Cash Flow-SCF
โดยทั่วไปเมื่อมีผู้กล่าวถึงเงินทุน คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าเงินทุนของกิจการ หมายถึงเงินสด ในปัจจุบันเงินสดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วที่สุดและสามารถเปลี่ยนมือได้ง่ายที่สุด ถ้ากิจการประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินสดหมุนเวียน ผู้บริหารจะต้องรับภาระหนักมากดังนั้นการพิจารณาถึงความสามารถของผู้บริหารจึงต้องพิจารณาถึงความสามารถในการจัดการเงินสดด้วย การเปลี่ยนแปลงของรายการเงินสดย่อมเป็นที่สนใจของผู้อ่านและใช้งบการเงินโดยเฉพาะผู้บริหาร และผู้บริหารอาจต้องการทราบต่อไปว่า การเปลี่ยนแปลงของรายการเงินสดนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุใด ในการดำเนินงานตามปกติ เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือการขายสินค้า รายได้หรือค่าใช้จ่าย หรือสาเหตุอื่นๆ
สาเหตุที่ทำให้เงินสดเปลี่ยนแปลงอาจเป็นไปได้หลายประการ การวิเคราะห์สาเหตุดังกล่าวแล้วจัดทำเป็นรายงานขึ้น ซึ่งเรียกรายการเงินนั้นว่า งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เนื่องจากการวิเคราะห์ที่มาและที่ใช้ไปของเงินสดจะช่วยผู้บริหารในการวางแผนระยะสั้นเกี่ยวกับเงินสด งบดุลแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการ ส่วนงบกำไรขาดทุนแสดงถึงตัวเลขกำไรหรือขาดทุนของกิจการ ส่วนงบกำไรสะสมแสดงถึงตัวเลขการประกาศจ่ายเงินปันผลของกิจการเท่านั้น
ความหมายของงบกระแสเงินสด
งบกระแสเงินสด คือ รายงานการเงินที่แสดงแหล่งที่ได้มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินสดในระหว่างงวดบัญชีที่กำลังพิจารณา ซึ่งแสดงว่ากิจการได้เงินสดมาจากแหล่งใด และใช้เงินสดนั้นไปอย่างไร ผลต่างของเงินสดที่ได้มาทั้งหมดกับเงินดที่ใช้ไปทั้งหมดตลอดงวดบัญชี จะต้องเท่ากับเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในงวดบัญชีนั้นๆ
วัตถุประสงค์ในการจัดทำงบกระแสเงินสด
เพื่อจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับเงินสดรับและเงินสดจ่ายสำหรับกิจการในงวดบัญชีหนึ่งๆ นอกจากนี้งบกระแสเงินสดยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน และการจัดสรรเงินสดของกิจการด้วย งบกระแสเงินสดให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่หลายๆฝ่ายเพื่อใช้ในการประเมินและเพื่อทราบถึงสถานการณ์ต่างๆเช่น
- เพื่อใช้ในการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนคต กำไรหรือขาดทุนในงบกำไรขาดทุนของกิจการไม่แสดงถึงกระแสเงินสดที่แท้จริงของกิจการ กระแสเงินสดของการในรอบการดำเนินงานที่ผ่านมาจะแสดงในวบกระแสเงินสดเท่านั้น
- เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ถ้าฝ่ายบริหารมีความสามารถในการจัดการเงินสดและตัดสินใจลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจจะเจริญก้าวหน้า แต่ถ้าฝ่ายบริหารตัดสินใจผิดพลาด อาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นล้มละลายแก่ธุรกิจได้เช่นกัน นักวิเคราะห์สามารถพิจารณาได้จากงบกระแสเงินสดว่าธุรกิจขยายการลงทุนด้านในและชะลอการลงทุนด้านใด
- เพื่อประเมินความสามารถของธุรกิจในการจ่ายเงินปันผล และดอกเบี้ยจ่ายพร้อมเงินกู้ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ต้องการได้รับผลตอบแทนคือเงินปันผล เจ้าหนี้ต้องการได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ตัวเลขกำไรในงบกำไรขาดทุนไม่ได้แสดงถึงจำนวนเงินสดที่กิจการจะสามารถจ่ายเงินปันผลเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยได้ แต่ตัวเลขในงบกระแสเงินสดต่างหากที่จะแสดงความสามารถเหล่านี้ของกิจการ
- แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำไรสุทธิที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด โดยปกติธุรกิจที่มีกำไรสุทธิสูงบุคคลทั่วไปจะเข้าใจว่ามีเงินสดมาก ซึ่งความจริงแล้วอาจจะไม่เป็นดังที่คาดการณ์ไว้
ความหมายของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
คำนิยามของเงินสดคือ เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภทแต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังได้ให้คำนิยามคำว่า รายการเปรียบเทียบเท่าเงินสดไว้ดังนี้ รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้ และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อยหรือไม่มีนัยสำคัญ
การจำแนกกระแสเงินสดของกิจการ
กระแสเงินสดของกิจการ หมายถึง การได้มาและการใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งสามารถกำหนดเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงได้ดังนี้
- กิจกรรมการดำเนินงาน (Operating Activities) หมายถึงกิจกรรมหลักซึ่งก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ และกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมการจัดหาเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการ เช่น เงินสดรับจากการขายสินค้าและให้บริการเงินสดจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
- กิจกรรมการลงทุน (Investing Activities) หมายถึง การซื้อหรือขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นๆซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด การแยกแสดงรายการนี้ออกจากกิจกรรมการดำเนินงานเพราะกระแสเงินสดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อซื้อสินทรัพย์อื่นที่จะก่อให้เกิดรายได้หรือกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น การซื้อที่ดิน อาคาร เครื่องจักร และ อุปกรณ์ เป็นต้น
- กิจกรรมการจัดหาเงิน (Financing Activities) หมายถึง กิจกรรมที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ และหนี้สินของกิจการ เช่น เงินสดรับที่ได้จากการออกหุ้นทุน หุ้นกู้ เป็นต้น
ตัวอย่างรายการของกระแสเงินสด
- เงินสดรับจากการขายสินค้าและการให้บริการ
- เงินสดรับจากรายได้ค่าสิทธิ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า
- เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการ
- เงินสดจ่ายสำหรับค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าเบี้ยประกันภัย
- เงินสดจ่ายเพื่อพนักงาน เช่น เงินเดือน ค่าแรง
- เงินสดรับและจ่ายของกิจการประกันภัยสำหรับค่าเบี้ยประกันภัย ค่ารายปี
งบกระแสเงินสดของกิจการ Statement of Cash Flow-SCF
สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ขายของออนไลน์ จ้างทำบัญชี ค่าบริการ ทำบัญชี
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษีอย่างไร ดียังไง