ฐานภาษี
ฐานภาษี คือ (TAX BASE) สิ่งที่เป็นเงื่อนไขหรือมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้เกิดบุคคลที่จะต้องเสียภาษี หรือ สิ่งที่จะใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร ฐานภาษีกำหนดขึ้นเพื่อใช้คำนวณภาษีเงินได้
ทั้งนี้กิจการต้องเปรียบเทียบฐานภาษีกับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์หรือหนี้สิน เมื่อเกิดผลแตกต่างขึ้นจะส่งผลให้ภาษีเงินได้ที่คำนวณตามหลักการบัญชีมีความแตกต่างจากที่คำนวณตามเกณฑ์ภาษีอากร ซึ่งกิจการจะต้องบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ฐานภาษีที่สำคัญ
- เงินได้ คือ (Income) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่รายได้ ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเสียภาษี
- ทรัพย์สิน คือ (Property) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีทรัพย์สินอันอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี ซึ่งได้แก่ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ภาษีกองมรดก
- สินค้าและบริการ คือ (Goods and Servies) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุหรี่ สุรา การสั่งสินค้าเข้า การแสดงมหรสพ หรือที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร อากรมหรสพ
- สิทธิพิเศษในการประกอบการ คือ (Licences) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ ไม่ว่าจะมีลักษณะผูกขาดหรือไม่
ฐานภาษีแบ่งได้ 3 ประเภท
- ฐานภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ของบุลคลธรรมดา
- ฐานภาษีจัดเก็บจากฐานบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร
- ฐานภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน
ฐานภาษีที่จัดเก็บจากรายได้
ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้ที่ผู้เสียภาษีต้องนำมาคำนวณภาษีเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นำมาใช้คำนวณด้วยอัตราภาษีก้าวหน้าจะใช้เงินได้สุทธิเป็นฐานภาษี ซึ่งมาจากเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนภาษีโดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจ่ายจะคำนวณมาจากการคูณฐานภาษี (เงินได้สุทธิ) กับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนด ซึ่งวิธีนี้จะเรียกว่าการคำนวณภาษีวิธีเงินได้สุทธิ
ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้
- กำไรสุทธิ
- ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
- เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
- การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
ฐานภาษีจัดเก็บจากฐานบริโภค
- ฐานภาษีกรณีทั่วไป
- ฐานภาษีส่งออก / ฐานภาษีนำเข้า
- ฐานภาษีกรณีพิเศษ
ฐานภาษีกรณีทั่วไป (จากมาตรา 79)
ฐานภาษีกรณีทั่วไป คือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง
- ส่วนลด หรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
- ค่าชดเชย หรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
- ภาษีขาย
- ค่าตอบแทน ที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ฐานภาษีการส่งออก และ นำเข้า (จากมาตรา 79/1)
การส่งออกสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ ภาษีอื่น ๆ และรวม ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B
(จากมาตรา 79/2) การนำเข้าสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F. รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ อากรขาเข้า
- ราคา O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย
- ราคา I.F. คือ ราคารวมประกันภัย กับค่าระวางหรือค่าขนส่ง ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด
ฐานภาษีกรณีพิเศษ
- (จากมาตรา 79/3) การขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาดทั่วไป
- การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือตามราคาตลาด
- สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบสินค้า ถือว่าเป็นวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น
- การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด
- สินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี
ฐานภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน
ฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินรวมกับสิ่งปลูกสร้าง วิธีการคำนวณภาระภาษีในแต่ละกรณี
กรณีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี ทั้งนี้กำหนดให้ มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
ฐานภาษี และอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะกำหนดไว้อย่างไร ?
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว กิจการ
ฐานภาษี คือ
ฐานภาษี คือ (TAX BASE) สิ่งที่เป็นเงื่อนไขหรือมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้เกิดบุคคลที่จะต้องเสียภาษี หรือ สิ่งที่จะใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร
ฐานภาษี ที่สำคัญ คือ
- เงินได้
- ทรัพย์สิน
- สินค้าและบริการ
- สิทธิพิเศษในการประกอบการ
เพิ่มเติม : ทั้งนี้ฐาน ภาษี ที่รับกำหนดให้ ยังต้องนำไปคำนวณกับ อัตราภาษีที่กำหนด เพิ่มเติมอีกด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องฐาน ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มาตรา 79 มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับ
- มาตรา 79/1 ส่งออก ขนส่งระหว่างประเทศ ที่จะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
- มาตรา 79/2 นำเข้า
- มาตรา 79/3 การคำนวณมูลค่า
- มาตรา 79/4 การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย
- มาตรา 79/5 นำเข้าและขายยาสูบ
- มาตรา 79/6 นำเข้าและขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
- มาตรา 79/7 การกำหนดฐาน ภาษีโดยพระราชกฤษฎีกา
แก้ไขครั้งสุดท้าย มกราคม 28, 2023
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ขายของออนไลน์ จ้างทำบัญชี ค่าบริการ ทำบัญชี
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษีอย่างไร ดียังไง