การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

Click to rate this post!
[Total: 713 Average: 5]

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรอง แล้วแต่กรณี

1. อย่างไรถือว่าเป็นคนต่างด้าวบุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นคนต่างด้าว
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)
(4) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของ (1) (2) หรือ (3)

2. ประเภทธุรกิจที่กําหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวแยกเป็น 3 บัญชี คือ

(1) บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ
     (1) การทํากิจการหนังสือพิมพ์การทํากิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
     (2) การทํานาทําไร่หรือทําสวน
     (3) การเลี้ยงสัตว์
     (4) การทําป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
     (5) การทําการประมงเฉพาะการจับสัตว์นํ้าในน่านนํ้าไทยและในเขตเศรษฐกิจจําเพาะของประเทศไทย
     (6) การสกัดสมุนไพรไทย
     (7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
     (8) การทําหรือหล่อพระพุทธรูปและการทําบาตร
     (9) การค้าที่ดิน

(2) บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีหัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
    (1) การผลิตการจําหน่ายและการซ่อมบํารุง
         (ก) อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนดินปืนวัตถุระเบิด
         (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด
         (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์เรืออากาศยานหรือยานพาหนะทางการทหาร
         (ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
     (2) การขนส่งทางบกทางนํ้าหรือทางอากาศในประเทศรวมถึงกิจการการบินในประเท

หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและหัตถกรรมพื้นบ้าน
     (1) การค้าของเก่าหรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรมหัตถกรรมของไทย
     (2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
     (3) การเลี้ยงไหมการผลิตเส้นไหมไทยการทอผ้าไหมไทยหรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
     (4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
     (5) การผลิตเครื่องทองเครื่องเงินเครื่องถมเครื่องทองลงหินหรือเครื่องเขิน
     (6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
     (1) การผลิตนํ้าตาลจากอ้อย
     (2) การทํานาเกลือรวมทั้งการทําเกลือสินเธาว์
     (3) การทําเกลือหิน
     (4) การทําเหมืองรวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
    (5) การแปรรูปไม้เพื่อทําเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

(3) บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าวคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

(1) การสีข้าวและการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
(2) การทําการประมงเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า
(3) การทําป่าไม้จากป่าปลูก
(4) การผลิตไม้อัดแผ่นไม้วีเนียร์ชิปบอร์ดหรือฮาร์ดบอร์ด
(5) การผลิตปูนขาว
(6) การทํากิจการบริการทางบัญชี
(7) การทํากิจการบริการทางกฎหมาย
(8) การทํากิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
(9) การทํากิจการบริการทางวิศวกรรม
(10) การก่อสร้างยกเว้น
          (ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรเทคโนโลยีหรือความชํานาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษโดยมีทุนขั้นตํ่าของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
          (ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(11) การทํากิจการนายหน้าหรือตัวแทนยกเว้น
          (ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์
         (ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จําเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
          (ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายจัดซื้อหรือจัดจําหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจําหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนําเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศโดยมีทุนขั้นตํ่าของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
         (ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(12) การขายทอดตลาดยกเว้น
         (ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่าวัตถุโบราณหรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรมหัตถกรรมหรือโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
         (ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ยกเว้นการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยโดยไม่มีการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าเกษตรภายในประเทศ
(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นตํ่ารวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทหรือที่มีทุนขั้นตํ่าของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นตํ่าของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(16) การทํากิจการโฆษณา
(17) การทํากิจการโรงแรมเว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
(18) การนําเที่ยว
(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
(20) การทํากิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
(21) การทําธุรกิจบริการอื่นยกเว้นธุรกิจบริการที่กําหนดในกฎกระทรวง

3. การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม บัญชี 2 และบัญชี 3
(1) แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบ ต.2 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(2) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาท

4. สถานที่ยื่นคําขอให้ยื่นณสํานักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวชั้น 8 กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์จังหวัดนนทบุรีโทรศัพท์ 0 2547 4425-26 โทรสาร 0 2547 4427 หรือที่ E-mail Address: foreign@dbd.go.th
5. ขั้นตอนในการพิจารณาคําขอรับใบอนุญาต
          (1) หากเป็นธุรกิจในบัญชีสองกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทําความเห็นเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาและรัฐมนตรีฯจะนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดําเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
          (2) หากเป็นธุรกิจในบัญชีสามกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทําสรุปเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อขอความเห็นชอบเมื่อกรรมการเห็นชอบแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดําเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
          (3) การพิจารณาคําขออนุญาตใช้เวลา 60 วันเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้
          (4) กรณีไม่อนุญาตจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วันและมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน (ไม่มีแบบฟอร์ม) สามารถทําเป็นหนังสือยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าการพิจารณาคําขออุทธรณ์ใช้เวลา 30 วันเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้
6. อัตราค่าธรรมเนียมสําหรับใบอนุญาต
(1) บัญชีสอง: พันละสิบบาทของเงินทุนจดทะเบียนทั้งนี้ไม่ตํ่ากว่า 40,000 และไม่เกิน500,000 บาท
(2) บัญชีสาม : พันละห้าบาทของเงินทุนจดทะเบียนทั้งนี้ไม่ตํ่ากว่า 20,000 และไม่เกิน250,000 บาท
7. คนต่างด้าวบางประเภทมีสิทธิขอหนังสือรับรองเพื่อประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตคือ
(1) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับ คู่ภาคี (มาตรา 11) สามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีหนึ่งบัญชีสองและบัญชีสามได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี
(2) คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสามารถขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจบัญชีสองและบัญชีสามได้ตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน

8. การยื่นขอหนังสือรับรอง
(1) กรณียื่นขอตามมาตรา 11 ให้ใช้แบบฟอร์มที่ใช้คือแบบต.6 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(2) กรณียื่นขอตามมาตรา 12 ให้ใช้หนังสือชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ
(3) ให้ยื่นขอหนังสือรับรองได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและอธิบดีจะออกหนังสือรับรองให้ภายใน 30 วันนับแต่วันแจ้ง
(4) ค่าธรรมเนียมคําขอ 2,000 บาทค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 20,000 บาท
9. ทุนขั้นตํ่าที่ต้องมีสําหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองและเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
(1) ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองตามสนธิสัญญาต้องมีทุนขั้นตํ่าไม่น้อยกว่า 25% ของค่าเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่ายสามปีตัวอย่างเช่นประมาณการรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อปีของประมาณการรายจ่าย 3 ปีเท่ากับ 100 ล้านบาททุนขั้นตํ่าจะเท่ากับ 25 ล้านบาทดังนั้นถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทุนจดทะเบียนไม่ถึง 25 ล้านบาทต้องเพิ่มทุนถ้าไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยต้องนําเงินเข้ามา 25 ล้านบาท
(2) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมไม่ต้องมีทุนขั้นตํ่า
(3) ผู้ได้รับใบอนุญาตมีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ
3.1) จะกู้เงินเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจได้ไม่เกินอัตราส่วนของทุนหนึ่งส่วนต่อเงินกู้เจ็ดส่วน
3.2) กรรมการผู้รับผิดชอบต้องมีภูมิลําเนาในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน
3.3) ทุนที่นําเข้ามาจะต้องดํารงไว้ตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ
(4) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กําหนดในสนธิสัญญาหรือความตกลงการค้าระหว่างประเทศไทยกับคู่ภาคี
(5) ผู้ได้รับหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในบัตรส่งเสริมการลงทุน

สถานที่ติดต่อติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ ที่สํานักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวชั้น 8 ห้อง 30803 โทรศัพท์ 0 2547-4425-26 โทรสาร 0 2547 4427 หรือที่ E-mail Address : foreign@dbd.go.th
คําแนะนํา ควรกรอกข้อมูลในคําขอให้ชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริง

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรอง แล้วแต่กรณี

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542
ความสำคัญ ของ บัญชีการเงิน เกี่ยวข้องกับ กฎหมายภาษีอากร

ความสำคัญ ของ บัญชีการเงิน เกี่ยวข้องกับ กฎหมายภาษีอากร

Click to rate this post! [Total: 713 Average: 5] ความสำคัญ ของ บัญชีการเงิน เกี่ยวข้องกับ กฎหมายภาษีอากร             การบัญชีทางการเงิน คือ การจัดทำบัญชีเพื่อนำเสนอข้อมูลทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต  อย่างผู้ถือหุ้น  เจ้าหนี้  และหน่วยงานของรัฐบาล รวมถ …

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว Read More »

ปป

องค์ประกอบ การตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง ?

ตัวอย่างตลาดออนไลน์ ตลาดออนไลน์ หมายถึง การตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ หมายถึง ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล ประโยชน์ของการตลาดออนไลน์ การตลาดออนไลน์
ภาษีระหว่างประเทศ

ภาษีระหว่างประเทศ การเรียกเก็บจากบุคคลสองคน

Click to rate this post! [Total: 713 Average: 5] ในหน้านี้ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไรภาษีระหว่างประเทศ ภาษีระหว่างประเทศ ประเภทของภาษีซ้อน โดยทางทฤษฎีแล้วการเก็บภาษีซ้อนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษีซ้อนทางเศรษ …

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว Read More »

ตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชี

ตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้จากไหน

Click to rate this post! [Total: 713 Average: 5] ในหน้านี้ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไรตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้จากไหน ตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้จากไหน ตอบ: ได้จากสภาวิชาชีพบัญชีค่ะ สำนักงานบัญช …

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว Read More »

180 กิจการค้าขาย ร้านค้า ทั้งหมดที่หาได้!

ค้นหารหัสธุรกิจ กรมสรรพากร สรุป การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว pdf ค้นหารหัสธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า บัญชีท้าย พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว มาตรา 17 จดทะเบียนการค้าที่อบต พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2562

10 ขั้นตอนการปิดบริษัท ต้องทําอย่างไร !

ขั้นตอนการปิดบริษัท กรมสรรพากร จดเลิกบริษัท ออนไลน์ ปิดบริษัท ค่าใช้จ่าย เลิกกิจการ ไม่ เสร็จการชำระบัญชี การปิดบริษัทต้อง ทํา อย่างไร pantip บริษัทขาดทุน ปิดบริษัท  แบบฟอร์มจดเลิกบริษัท ขั้นตอนการจดเลิกบริษัท
หน้าที่บัญชีการเงิน

หน้าที่ของนักบัญชี การเงิน ต้องรู้อะไร

Click to rate this post! [Total: 713 Average: 5] ในหน้านี้ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไรหน้าที่หลักของบัญชี หน้าที่บัญชีการเงิน หน้าที่หลักของฝ่าย แผนกการเงิน และ แผนกบัญชี            &nbs …

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว Read More »

ค่าแรงของการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์

ค่าแรงของการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ บันทึกเป็นต้นทุน

Click to rate this post! [Total: 713 Average: 5] ค่าแรงของการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ บันทึกเป็นต้นทุนได้หรือไม่ ถ้ากิจการนั้น ทำอพาร์ทเม้นท์ในเชิงพาณิชย์ สามรถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายได้ สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร 47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนท …

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว Read More »

Leave a Comment

Scroll to Top