ต้นทุนคุณภาพ

รับทำบัญชี.COM | 2 ประเภทของต้นทุนคุณภาพ ที่นำไปสู่คุณภาพ?

ประเภทของ ต้นทุนคุณภาพ ที่จะนำไปสู่ คุณภาพ ระดับนั้น ต้นทุน ต้องต่ำ เพราะมันจะไปเกี่ยวโยงถึงกำไรขององค์การ

การผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นการเพียงพอ ต้องคำนึงถึง ต้นทุน ที่จะนำไปสู่คุณภาพระดับนั้นด้วย ต้นทุนต้องต่ำเพราะมันจะไปเกี่ยวโยงถึงกำไรขององค์การ
ซึ่งต้นทุนคุณภาพแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ต้นทุนทางตรง และ ทางอ้อม
1. ต้นทุนคุณภาพทางตรง (Direct Quality Costs) ต้นทุนคุณภาพทางตรง แบ่งออกเป็น
1.1 ด้านการป้องกัน (Prevention)
1.2 ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Appraisal)
1.3 ด้านความเสียหายภายใน (Internal Failure)
1.4 ด้านความเสียหายภายนอก (External Failure)
1.1 ต้นทุนด้านการป้องกัน (Prevention) ต้นทุนทางด้านนี้รวมอยู่ในหน่วยงานทางด้านการออกแบบ เครื่องมือ และระบบคงไว้ ซึ่งคุณภาพ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้วัดได้จากการลงทุนก่อนที่จะผลิตสินค้า เป็นค่าใช้จ่ายในระดับที่ประหยัดที่ทำให้ สินค้ามีคุณภาพตามที่ต้องการ แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1 ด้านวิศวกรรมคุณภาพ (Quality Engineering) เป็นต้นทุนเกี่ยวกับการสร้างแผน คุณภาพทั้งระบบ แผนการตรวจสอบ แผนความเชื่อมั่นได้ ระบบข้อมูล และแผนพิเศษอื่น ๆ รวมทั้งเครื่องมือ และการซ่อมบำรุงของแผนการเหล่านั้นด้วย
1.1.2 ด้านออกแบบและพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ (Design and Development of Equipment) เป็นต้นทุนของบุคคลในหน่วยงานการตรวจสอบและหน่วยเครื่องมือควบคุมคุณภาพ
1.1.3 ด้านการวางแผนคุณภาพโดยบุคคลอื่น เป็นต้นทุนของบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ โดยตรงเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ แต่ต้องเสียเวลามาวางแผนคุณภาพให้
1.1.4 ด้านการฝึกอบรมด้านคุณภาพ (Quality Training) เป็นต้นทุนในการฝึกอบรม บุคคลตามโปรแกรมปกติ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคคลในระดับต่าง ๆ
1.1.5 ด้านอื่น ๆ เป็นต้นทุนสำนักงาน ได้แก่ เงินเดือนเสมียน ค่าโทรศัพท์ ค่ารถ เป็นต้น ต้นทุนทางด้านการป้องกันนี้จะจ่ายไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการ ป้องกันผลิตภัณฑ์ชำรุดเสียหาย
1.2 ต้นทุนด้านการตรวจสอบประเมินผล (Appraisal) ต้นทุนทางด้านนี้เกี่ยวกับทางด้านวัดค่า การประเมินผลของชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อ เป็นต้นทุนเพื่อการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้คุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 ด้านการตรวจสอบและทดสอบวัสดุที่สั่งเข้ามา เป็นต้นทุนในการตรวจสอบและ ทดสอบวัสดุที่ผู้ผลิตข้างนอกส่งมา ทั้งนี้อาจรวมไปถึงต้นทุนที่ต้องไปตรวจสอบวัสดุ ณ โรงงานของผู้ผลิต ด้วย
1.2.2 ด้านการตรวจสอบและทดสอบ เป็นต้นทุนในการตรวจสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การปรับตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ตรวจผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิต จนกระทั่งถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปรวมทั้ง การทดสอบความเชื่อมั่นได้ของผลิตภัณฑ์
1.2.3 ด้านการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นต้นทุนในการประเมินคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและสำเร็จรูป
1.2.4 ด้านการใช้วัสดุและบริการ เป็นต้นทุนในด้านเกี่ยวกับวัสดุและบริการที่ใช้ใน การทดสอบรวมทั้งค่าวัสดุที่ถูกทดสอบโดยการทำลาย
1.2.5 การปรับตั้งเครื่องมือและการบำรุงรักษา เป็นต้นทุนในการปรับแต่งและบำรุง รักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ สิ่งสำคัญของกิจกรรมด้านการตรวจสอบและประเมินผลคือการประเมินและวิเคราะห์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์
1.3 ด้านความเสียหายภายใน (Internal Failure) ต้นทุนในด้านนี้เกิดขึ้นเมื่อ ผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน และวัสดุมีคุณภาพไม่ตรงตามที่ต้องการ ก่อนส่งไปถึงมือลูกค้า แบ่งย่อยออกเป็นดังนี้
1.3.1 ของชำรุด (Scrap) ของเมื่อชำรุดเสียหายจนซ่อมแซมใหม่ไม่ได้ ทำให้สูญเสีย ค่าแรงงาน ค่าวัสดุ ค่าโสหุ้ยไปทั้งหมด
1.3.2 ซ่อมแซม (Rework) เป็นต้นทุนที่เสียไปในการซ่อมผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้คุณภาพ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
1.3.3 การวิเคราะห์ความเสียหาย เป็นต้นทุนในการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ ผลิตภัณฑ์เสียหายและไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
1.3.4 การตรวจสอบซ้ำ เป็นต้นทุนในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่นำไปซ่อม
1.3.5 ตรวจของเสียที่ปนเข้ามาจากผู้ส่งไม่พบ เมื่อผู้ส่งวัสดุมาให้เรามีของเสียปนมาแต่ เราตรวจไม่พบ ทำให้ต้องยอมรับของเสียปนเข้ามาด้วย
1.3.6 ลดราคา ต้องลดราคาขายต่อหน่วยลงมาจากราคาปกติ เนื่องจากว่าผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ได้มาตรฐานแต่ยังใช้งานได้ ต้นทุนทางด้านความเสียหายภายใน ใช้ไปกับกิจกรรมที่แก้ไข สิ่งบกพร่องของผลิตภัณฑ์ก่อน จะเป็นที่ยอมรับของลูกค้า
1.4 ด้านความเสียหายภายนอก (External Failure) ต้นทุนทางด้านนี้เกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์ได้ไปอยู่กับผู้บริโภคแล้ว แต่ใช้งานได้ไม่เป็นที่น่า พอใจ ต้นทุนด้านนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าผลิตภัณฑ์ไม่มีข้อบกพร่อง แบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.4.1 การต่อว่า (Complaints) เป็นต้นทุนในการปรับปรุงด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการต่อว่า จากผู้บริโภค
1.4.2 การไม่ยอมรับและการเปลี่ยนใหม่ เป็นต้นทุนในการขนส่งและนำไปเปลี่ยนให้ใหม่ ในกรณีส่งคืน
1.4.3 การซ่อมแซม เป็นต้นทุนการซ่อมแซมของที่ส่งคืนมา
1.4.4 การรับประกัน เป็นต้นทุนสำหรับชิ้นส่วนที่ต้องนำไปเปลี่ยนให้ใหม่ในช่วง การรับประกัน
1.4.5 ความผิดพลาด เป็นต้นทุนสำหรับการที่ต้องนำผลิตภัณฑ์ไปเปลี่ยนให้ใหม่ เนื่องจากความผิดพลาดใด ๆ
1.4.6 ความรับผิดชอบ เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการถูกฟ้องร้อง ต้นทุนด้านความเสียหายภายนอกเป็นการเสียไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่แก้ไขความเสียหาย หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ไปอยู่กับผู้บริโภคแล้ว

 
ประเภทของต้นทุนคุณภาพ
ประเภทของต้นทุนคุณภาพ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )