ปันส่วนต้นทุนร่วม

วิธี หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม

Click to rate this post!
[Total: 140 Average: 5]

หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม

หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม

++++ หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วมที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 4 วิธี คือ ++++
1. การปันส่วนโดยใช้จำนวนหน่วยผลิต (Physical Measures)
เป็นการปันส่วนโดยใช้จำนวนหน่วยที่ผลิตได้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ เป็นฐานหรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่งต้นทุน การปันส่วนวิธีนี้มักใช้ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ร่วมชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากกระบวนการผลิตเดียวกันนั้น สามารถนับ วัด ชั่ง หรือตวง เป็นจำนวนหน่วยได้ เช่น ลิตร แกลลอน ตัน กิโลกรัม เป็นต้น
2. การปันส่วนโดยใช้มูลค่าขาย หรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ (Sales Value)
เป็นการปันส่วนต้นทุนร่วมโดยใช้อัตราส่วนของมูลค่าขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ร่วม แต่ละชนิด ณ จุดแยก ซึ่งการแบ่งต้นทุนร่วมตามวิธีนี้ มีเหตุผล 2 ประการคือ
1) มูลค่าขาย หรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ร่วมแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งต้นทุนร่วมนี้ สามารถทราบได้ค่อนข้างแน่นอนจึงทำให้การจัดสรรต้นทุนร่วมมีความ เที่ยงธรรมมากขึ้น
2) ผลิตภัณฑ์ร่วมที่มีมูลค่าขายสูง ควรจะได้รับการแบ่งสรรต้นทุนร่วมในจำนวนที่สูงด้วย ซึ่งทำให้การปันส่วนต้นทุนร่วมมีความเที่ยงธรรมมากกว่าที่จะใช้เกณฑ์จำนวนหน่วยของผลผลิตเป็นเกณฑ์ ทั้งนี้ เพราะผลิตภัณฑ์ร่วมบางชนิดอาจมีจำนวนน้อย แต่สามารถขายได้มูลค่าสูง
อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิตสินค้าบางชนิดเมื่อผลิตถึงจุดแยกตัวแล้ว ผลิตภัณฑ์ร่วมบางชนิดก็สามารถจำหน่าย หรือทราบมูลค่าขายได้ทันที แต่ในบางกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ร่วมบางชนิดเมื่อผ่านจุดแยกตัวไปแล้ว ก็ยังไม่สามารถจำหน่าย หรือทราบราคาขายได้ทันที เนื่องจากจะต้องมีการนำไปผลิตเพิ่มอีก จึงจะสามารถจำหน่ายได้ ในกรณีนี้ จะต้องมีการประมาณการมูลค่าขาย ณ จุดแยกตัว
3. การปันส่วนโดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยถัวเฉลี่ย (Average Unit cost)
ในการปันส่วนต้นทุนร่วมให้กับผลิตภัณฑ์ โดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยถัวเฉลี่ยนั้น มักนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์ร่วมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจากต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม จะเท่ากันทุกหน่วย เช่น กระบวนการผลิตหนึ่งจะได้รับผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ ก ข และ ค หากใช้การปันส่วนโดยวิธีนี้ ต้นทุนต่อหน่วยของ ก ข และ ค ก็จะเท่ากันหมด เป็นต้น หากกิจการเลือกใช้วิธีการปันส่วนในลักษณะนี้ กิจการควรตั้งราคาขายของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดให้ใกล้เคียงกัน เพราะต้นทุนต่อหน่วยเท่ากัน อีกทั้งผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิด ต้องมีหน่วยวัด (ลิตร กิโลกรม เมตร) เดียวกัน จึงจะเหมาะสมและได้ข้อมูลต้นทุนที่ใกล้เคียงความเป็นจริง เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน
4. การปันส่วนโดยใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average cost)
การปันส่วนต้นทุนร่วมโดยใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักนี้ จะช่วยกำจัดข้อบกพร่องของ การปันส่วนต้นทุนร่วมโดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยถัวเฉลี่ย(วิธีที่ 3) ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ร่วมแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน เช่น มีขนาดของผลิตภัณฑ์เล็กใหญ่ต่างกัน เวลา และความยากง่ายในการผลิตต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึง การใช้ปริมาณวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง หรือค่าใช้จ่ายการผลิตที่แตกต่างกันไปด้วย กรณีนี้ การปันส่วนต้นทุนร่วมโดยใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จะให้ความเป็นธรรมได้มากกว่า

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม
หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม
การจ่ายเงินปันผลจะจ่ายก่อนหรือหลัง

จ่ายเงินปันผล ก่อน หรือ หลัง หักภาษี

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินปันผล บริษัทจำกัด ยื่นภาษี เงินปันผล หุ้น 2564 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินปันผล บุคคลธรรมดา เครดิตภาษีเงินปันผล ตัวอย่าง ภาษีเงินปันผล บุคคลธรรมดา ภาษีเงินปันผล นิติบุคคล ตัวอย่างหัก ณ ที่จ่าย เงินปันผล บริษัทได้รับเงินปันผล เสียภาษีไหม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร

เฉลี่ยภาษีซื้อก่อสร้าง AO ก่อสร้างอาคาร

Click to rate this post! [Total: 140 Average: 5] ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร ข้อหารือที่ กค 0811/17427เลขที่หนังสือ: กค 0811/17427วันที่: 25 ธันวาคม 2541เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารข้อกฎหมาย: มาตรา 82/6, มาตรา 83/4, มาตรา 89, มาตรา 89/1, ประ …

วิธี หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม Read More »

การจ่ายเงินปันผล

ประชุม จ่ายเงินปันผล

ตัวอย่างรายงานการประชุม จ่าย เงินปันผล จากกำไรสะสม หนังสือเชิญประชุมจ่ายเงินปันผล รายงานการประชุมจ่ายเงินปันผล ตัวอย่าง ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ประกาศจ่ายเงินปันผล กี่วัน ตัวอย่างประกาศจ่ายเงินปันผล จ่ายเงินปันผล ประชุมวิสามัญ การเรียกประชุมกรรมการบริษัท

บริษัททำการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิ

Click to rate this post! [Total: 140 Average: 5] การที่บริษัททำการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ไถ่ถอนได้ตกลงตามเงื่อนไขที่กำหนด            การไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิ หมายถึง การที่บริษัททำการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ไถ่ถอนได้ตกลงตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเป็นการลดทุนของบริษ …

วิธี หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม Read More »

ค่าใช้จ่าย

รายการค่าใช้จ่าย บัญชี ค่าใช้จ่ายบริษัท !

ค่าใช้จ่าย หมายถึง รายการค่าใช้จ่าย บัญชีค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายบริษัท มีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ลงบัญชี ค่าใช้จ่าย ภาษี ค่าใช้จ่ายข้ามปี สรรพากร ตัวอย่างค่าใช้จ่าย

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ความเสี่ยง โอกาส !

แฟ รน ไช ส์ จุดชาร์จ รถไฟฟ้า ลงทุนสถานีชาร์จรถไฟฟ้า pantip แผนธุรกิจ EV Charger ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ รถไฟฟ้า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ทั่วประเทศ แผนที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั่วประเทศ 2565 เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Pantip ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ราคา
พัฒนาการวิชาชีพบัญชี

พัฒนาการ ของ วิชาชีพบัญชี

Click to rate this post! [Total: 140 Average: 5] พัฒนาการ ของ วิชาชีพบัญชี 1. วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชีเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นจับการทุจริตแข้อผิดพลาด ไปเป็นการพิจารณาความถูกต้องตามที่ควรของงบการเงิน2. ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น (จากที่รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของกิจการ …

วิธี หลักเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม Read More »

เลิกกิจการ ภาษี ปิดกิจการ ต้องทําอย่างไร !

เลิกกิจการต้อง ทํา อย่างไร ยกเลิกกิจการร้านค้า แจ้งเลิกกิจการ บุคคลธรรมดา แจ้งเลิกกิจการ สรรพากร จดเลิกบริษัท ออนไลน์ ปิดบริษัท ค่าใช้จ่าย เลิกกิจการ ขายทรัพย์สิน เลิกกิจการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Leave a Comment

Scroll to Top