ฟรีแลนซ์สมัครมาตรา40
การประกอบอาชีพอิสระเองหรือว่าฟรีแลนซ์ โดยไม่อาศัยเงินเดือน ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จมีรายได้มากพอที่จะใช้รักษาตัวเมื่อเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งอาจจะจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างอื่นที่สำคัญกว่า จึงทำให้ต้องหาความมั่นคงด้านการักษาพยาบาล นั้นก็คือ สิทธิประกันสังคม
ประเด็นสำคัญ
- ฟรีแลนด์สมัครประกันสังคมได้หรือไม่แล้วถ้าสมัครได้ต้องจ่ายเงินมาตราไหน
- เคยทำงานบริษัทนำส่งประกันสังคมมาตรา 33 อยู่ เมื่อออกจากงาน เป็นฟรีแลน์ยังสามารถส่งประกันสังคมต่อเองได้หรือไม่
- ประกันสังคมมาตรา 40 มีเงื่อนไขอย่างไร ถ้าต้องการจะสมัครและส่งเงินสมทบเอง และมีสิทธิอะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องตอบก่อนว่า “ฟรีแลนซ์” ก็คือ อาชีพอิสระ สามารถสมัครประกันสังคมเพื่อส่งเงินสมทบเองได้โดยแบ่งเป็น 3 กรณี
- ไม่เคยมีการสมัคร หรือนำส่งเลยสามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาตรา 40 โดยการสมัครมาตรา 40 ได้เลย
- เคยทำงานประจำแล้วมีการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 มาตลอด เมื่อออกจากงานมาเป็นฟรีแลนซ์ สามารถ นำส่งเงินสมทบต่อเองได้ โดยสมัครมาตรา 39 (ไม่ต้องนับสิทธิประกันสังคมใหม่)
- กรณีนี้จะ คล้าย กรณีที่ 2 แต่ เมื่อออกจากงาน ขาดการนำส่งเกิน 6 เดือน จะต้อง สมัครมาตรา 40 เพียงอย่างเดียว (นับสิทธิประกันสังคมใหม่)
สมัครมาตรา40
ประกันสังคมมาตรา 40 เงื่อนไข ดังนี้
- เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
- ไม่เป็นข้าราชการหรืออาชีพที่ยกเว้นตามสิทธิประกันสังคม
- บุคคลพิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงได้รับจากการเป็นผู้ประกันตน
- มีสัญชาติไทย
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย00)
ประกันสังคมมาตรา 40
ประกันสังคมมี 3 ทางเลือก
- จ่าย 70 บาท/เดือน รัฐช่วยสมทบ 30 บาท/เดือน
- จ่าย 100 บาท/เดือน รัฐช่วยสมทบ 50 บาท/เดือน
- จ่าย 300 บาท/เดือน รัฐช่วยสมทบ 150 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
- เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ
- เงินค่าทำศพ กรณีตาย/ เงินสงเคราะห์กรณีตาย
- เงินบำเหน็จชราภาพ เงินสงเคราะห์บุตร
ทางเลือกที่ 1
ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณีคือ
- เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
- เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน
- เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)
ทางเลือกที่ 2
ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณีคือ
- เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย วันละ 300 บาท
- เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน
- เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และเงินสมทบอีก 8,000 (กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน)
- เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน
ทางเลือกที่ 3
รูปแบบที่ 3 คือรูปแบบที่เพิ่มเข้ามาใหม่เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ โดยเราต้องจ่ายค่าประกันตน 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท แต่จะได้รับความคุ้มครองมากถึง 5 กรณีเลยทีเดียว คือ
- เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย ถ้านอนโรงพยาบาลจะได้รับวันละ 300 บาท ถ้าแพทย์สั่งให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับวันละ 200 บาท
- เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาทต่อเดือน (ตลอดชีวิต)
- เงินค่าทำศพ 50,000 บาท
- เงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิน 2 2 คน)
- เงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และในช่วงการระบาดโควิด-19 กลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระ 9 กลุ่ม ที่อยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด สามารถยื่นสิทธิขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทได้ เพียงลงทะเบียนสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
ลำดับ | สิทธิประโยชน์ | ทางเลือกที่ 1 | ทางเลือกที่ 2 | ทางเลือกที่ 3 |
---|---|---|---|---|
1 | อุบัติเหตุเจ็บป่วย | 300 | 300 | 300+(200/วัน) หยุดเกิน3วัน |
2 | ทุพพลภาพ | 500-1,000 | 500-1,000 | 500-1,000 (ตลอดชีวิต) |
3 | เสียชีวิต | 25,000+8,000 | 25,000+8,000 | 50,000 |
4 | ชราภาพ | – | ได้รับสิทธิ์ | ได้รับสิทธิ์ |
5 | สงเคราะห์บุตร | – | – | 200/เดือน (0-6ปี) |
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี