ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

รับทำบัญชี.COM | ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกรณีการคำนวณมูลค่าของ?

Click to rate this post!
[Total: 93 Average: 5]

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือที่ กค 0811/12650
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/12650
วันที่
: 16 ธันวาคม 2542
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย
: มาตรา78(1)(ก), มาตรา79, มาตรา86/4
ข้อหารือ
: บริษัท A จำกัด และบริษัท B จำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ดำเนิน
กิจการจัดตั้งและประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม บริษัททั้งสองได้ทำสัญญาร่วมกันปฏิบัติการแบบ
พันธมิตร (Operating Alliance) เพื่อบรรเทาภาระการขาดทุนอันเนื่องจากการตกต่ำลงเป็น
อย่างมากของค่าการกลั่นน้ำมันทั่วโลก และสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของประเทศไทย ในการร่วม
ปฏิบัติการแบบพันธมิตร บริษัททั้งสองจะแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นแล้วบริษัทละครึ่งหนึ่งเสมอ และ
บริษัททั้งสองจะขายผลิตภัณฑ์ที่ได้รับนั้นแยกจากกัน ทั้งนี้แม้ว่าในบางขณะโรงกลั่นใดโรงกลั่นหนึ่งมี
ความจำเป็นต้องปิดชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมแซม ทำให้จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังจากการกลั่นลดลง บริษัท
ทั้งสองก็ยังคงแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้บริษัทละครึ่งหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากบริษัท A มีความต้องการ
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อขายมากกว่าส่วนแบ่งที่ได้รับจากการผลิตตามสัญญาการปฏิบัติการแบบพันธมิตร
ดังนั้น บริษัท B จึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปให้แก่บริษัท A ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ใน
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนั้นไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์น้ำมันระหว่างบริษัททั้งสอง บริษัท B จึงไม่มี
หน้าที่จะต้องนำส่งภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 10(1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
บริษัททั้งสองหารือว่าภาษีสรรพสามิตที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ จะต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตาม
มาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ หากต้องนำภาษีสรรพสามิตที่ยังไม่เกิดขึ้นมารวมคำนวณเป็น
มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท B สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษี/
ใบแจ้งหนี้ในฉบับเดียวกันเพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ไปประกอบการพิจารณาได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีบริษัท B ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้แก่บริษัท A โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บริษัท
A แต่ไม่มีการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน บริษัท B ไม่ได้นำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจากโรง
อุตสาหกรรม หรือไม่ได้นำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ความรับผิดในอันจะต้องเสีย
ภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 10 (1)
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 เมื่อบริษัท B ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้แก่บริษัท
A โดยไม่มีการส่งมอบสินค้าแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ตามมาตรา 78(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นความรับผิดในอันจะ
ต้องเสียภาษีสรรพสามิตของบริษัท B จึงเกิดขึ้นพร้อมกับการโอนกรรมสิทธิ์ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปด้วย
2. ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้ง
ภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดในมาตรา 77/1(19) แห่งประมวลรัษฎากร ถ้ามี ด้วย ดังนั้น บริษัท B
ต้องนำภาษีสรรพสามิตมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
3. บริษัท B สามารถจัดทำเอกสารใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้ ในเอกสารฉบับเดียวกันได้
แต่ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากบริษัท B จะระบุ
รายการอื่น ๆ นอกเหนือจากรายการตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมในใบกำกับภาษี
ก็สามารถกระทำได้
เลขตู้
: 62/28708

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )