โกดัง คลังสินค้า
โกดัง คือ อาคารพาณิชย์ที่ใช้สำหรับเก็บสินค้า คลังสินค้าถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง ศุลกากร ฯลฯ คลังสินค้าเหล่านี้มักเป็นอาคารขนาดใหญ่ธรรมดาในพื้นที่อุตสาหกรรมของเมืองและเมืองต่างๆ และได้รับการออกแบบสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากรถบรรทุก รถไฟ และเรือ
คลังสินค้ามีกี่ประเภท
ประเภทของคลังสินค้า ในประเทศไทยมี 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1.) คลังสินค้าสาธารณะ (Public warehouse)
คือ คลังที่เจ้าของธุรกิจเปิดขึ้นเพื่อรับเก็บสินค้าเป็นหลัก เป็นโกดังสินค้าแล้วเก็บค่าเช่าในการจัดเก็บสินค้า เช่น องค์การคลังสินค้า คลังสินค้าทัณฑ์บน เปิดให้บริการเช่า โดยทำสัญญาเช่า มีหลายชนิด เช่น
- คลังสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไป (General merchandise warehouse)
- คลังสินค้าพิเศษ (Special commodity warehouse) เช่น คลังสินค้าผลไม้
- คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded warehouse) คลังสินค้านำเข้าจากต่างประเทศของศุลกากร จะไม่เสียภาษีนำเข้า จนกว่าจะนำออกจากคลัง
2.) คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse)
คือ คลังสินค้าที่เอกชนหรือธุรกิจต่าง ๆ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บรักษาสินค้าของตนโดยเฉพาะ เพื่อรอการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า ซึ่งคลังสินค้าประเภทนี้จะควบคุมการดำเนินงานและรับผิดชอบด้านการบริหารคลัง สินค้าที่มิได้แสวงหาประโยชน์จากการรับฝากสินค้าจากบุคคลภายนอก
3.) คลังสินค้าเพื่อกิจกรรมพิเศษ (Special warehouse)
คือ คลังสินค้าที่ใช้สำหรับเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรกรรม เช่น คลังสินค้าผลไม้ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น โดยประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครอง
- คลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการ
- คลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ
5 ข้อดีของโกดังสินค้าส่วนตัว
- ความยืดหยุ่น: คลังสินค้าส่วนตัวนำเสนอโซลูชั่นการจัดเก็บที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะทางธุรกิจได้ สามารถใช้สำหรับการจัดเก็บระยะสั้นหรือระยะยาว
- การประหยัดต้นทุน: คลังสินค้าส่วนตัวสามารถช่วยธุรกิจลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บโดยการจัดหาไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเช่าคลังสินค้าแบบรายเดือนเหมือนคลังสินค้าให้เช่าอีกต่อไป เป็นการลงทุนครั้งเดียวและใช้ได้นาน
- ความปลอดภัย: โดยทั่วไปแล้วคลังสินค้าส่วนตัวจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูงเพื่อป้องกันสินค้าที่เก็บไว้ เช่น กล้องวงจรปิด ระบบเตือนภัย และการควบคุมการเข้าถึงที่ปลอดภัย
- การจัดการสินค้าของคลัง: ด้วยการใช้คลังสินค้าส่วนตัว ธุรกิจต่างๆ สามารถควบคุมสินค้าคงคลังของตนได้ดีขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงสินค้าที่เก็บไว้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการและตรวจสอบสินค้าของคลังได้แบบเรียลไทม์
- ปรับปรุงระบบโลจิสติกส์: คลังสินค้าส่วนตัวยังสามารถช่วยปรับปรุงระบบลอจิสติกส์โดยให้การเข้าถึงที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้า และช่วยให้ดำเนินการตามคำสั่งซื้อและกระบวนการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกทำเลโกดังสินค้า
- ทำเลใกล้กับกลุ่มลูกค้า: สถานที่ตั้งของคลังสินค้าควรอยู่ใกล้กับตลาดเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและลดเวลาการส่งมอบสินค้า
- การเข้าถึง: คลังสินค้าควรเข้าถึงได้ง่ายทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางอากาศ หรือทางทะเล และมีการเชื่อมโยงการขนส่งที่ดีเพื่อให้แน่ใจว่าการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้าและออกจากคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ต้นทุนแรงงาน: ควรพิจารณาต้นทุนแรงงานในพื้นที่เมื่อเลือกที่ตั้งคลังสินค้า เนื่องจากอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการดำเนินงาน
- กฎระเบียบ: สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าที่ตั้งคลังสินค้าเป็นไปตามระเบียบในท้องถิ่น เช่น ข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน ข้อจำกัดด้านความสูง และข้อกำหนดที่จอดรถขั้นต่ำ
- ภัยพิบัติทางธรรมชาติ: สถานที่ควรได้รับการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อลดความเสียหาย
- สาธารณูปโภคที่ครบครัน: ควรประเมินความพร้อมของสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า น้ำ และก๊าซ เพื่อให้แน่ใจว่าคลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การแข่งขัน: ควรพิจารณาธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่น ซัพพลายเออร์ คู่แข่ง และลูกค้า เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันโดยรวมและความสำเร็จของการดำเนินงานคลังสินค้า
ปัจจัยเสี่ยงธุรกิจคลังสินค้า
- ภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ทำให้ผู้ประกอบการยังขาดความเชื่อมั่นในการ ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้ความต้องการใช้คลังสินค้าขยายตัวได้ไม่มาก
- อุปทานคลังสินค้าส่วนเกินในตลาดยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงโดยเฉพาะด้านราคา ทำให้การปรับขึ้นค่าเช่าคลังสินค้าทำได้ยากหรืออาจปรับตัวลงได้ในบางพื้นที่
- ราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การพัฒนาคลังสินค้าใหม่ๆ ของภาคเอกชนทำได้ยากขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนที่เน้นเป็นรายพื้นที่ อาจทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ในอุตสาหกรรมสำคัญขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์คลังสินค้าในพื้นที่เดิมลดลง
- ผู้ประกอบการคลังสินค้าขนาดกลางและเล็กของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่ต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่ยังเป็น คลังสินค้าดั้งเดิมในพื้นที่ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งรูปแบบคลังสินค้า เทคโนโลยี ระบบการบริหารจัดการและปัญหา ด้านเงินทุนสำหรับพัฒนาเพื่อการแข่งขัน จึงส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว
ภาษีที่เกี่ยวข้อง
สำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้านั้นถูกจัดอยู่ในประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่น ๆ โดยมีการกำหนดอัตราภาษี 2 ปีแรก คือปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นโรงงานและโกดังคลังสินค้าหรือประเภทอื่น ๆ ได้แก่
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3 %
- มูลค่า 50 – 200 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.4 %
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.5 %
- มูลค่า 1,000- 5,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.6 %
- มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7 %
1.) กรณีให้ผู้อื่นเช่า ให้ใช้อัตรา 12.5 % ต่อปี
ตัวอย่าง เช่น A ให้ B เช่าตึก หรือ อาคาร ในอัตราเดือน ละ 5,000 บาท จะต้องเสียภาษีโรงเรือน ( 5,000 x 12 ) = 60,000 นำค่าเช่าทั้งปี 60,000 x 12.5/100 = 7,500 บาท
2.) กรณีที่เจ้าของทรัพย์สิน หรือ โรงเรือน นำมาทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีค่าเช่า ให้ นำเอาพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด (ตารางเมตร) ในอาคาร หรือ โรงเรือน มาคำนวณหาภาษี โดย อัตราภาษีต่อตารางเมตร ให้ทำการสอบถามไปยัง อบต. , อบจ. หรือหน่วยงานที่เรียกเก็บภาษีว่าคิด อัตราภาษีโรงเรือนต่อตารางเมตรเท่าไร เนื่องจากแต่ละพื้นที่คิดไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง เช่น A เป็นเจ้าของอาคาร 3 ชั้น และ ใช้ดำเนินการกิจการของตนเอง 2 ชั้น คือชั้นที่ 1 และ 2 โดย ใช้ชั้นบนสุดเป็นที่อยู่อาศัย โดยแต่ละชั้น มีพื้นที่ ใช้สอย ( กว้าง x ยาว ) 4 x 8 = 32 ตรม. และมีพื้นที่ใช้ดำเนินกิจการ 2 ชั้น จะได้ 32 x 2 = 64 ตรม.
ตัวอย่าง ธุรกิจโกดัง
- โกดัง จงศิริ
- กันตารัติ กรุ๊ป
- กมลสุโกศล คลังสินค้า
- กรีนไลท์ เพอร์เฟคท์ โซลูชั่นส์
- กรุงเทพคลังสินค้า
- โกดัง แสงเจริญ สมุทรปราการ
- คลัง 9
- คลังบางอิน
- คลังสินค้าอาคเนย์-บุณยรักษ
- คอนเทนเนอร์ดีโป้ท์เซอร์วิส
- คัสตอม โกลบอล เซอร์วิส
- เคดับเบิ้ลยูที ซัพพลาย
- โคราชเจริญรุ่งเรือง (2018)
- จี.บี. แพ็คเกอร์
- เจนเนอรัล เอ็กเพรส โซลูชั่น
- เจริญ เจริญ ห้องเย็น
- เจริญธุรกิจ
- ใจดี สปิริท
- เค2 แหลมฉบัง พร็อพเพอร์ตี้
- คะกาทอง เทรดดิ้ง
โกดังให้เช่าเสียภาษีโรงเรือนอย่างไร ?
- กรณีให้ผู้อื่นเช่า ให้ใช้อัตรา 12.5 % ต่อปี
ตัวอย่าง เช่น A ให้ B เช่าตึก หรือ อาคาร ในอัตราเดือน ละ 5,000 บาท จะต้องเสียภาษีโรงเรือน ( 5,000 x 12 ) = 60,000 นำค่าเช่าทั้งปี 60,000 x 12.5/100 = 7,500 บาท - กรณีที่เจ้าของทรัพย์สิน หรือ โรงเรือน นำมาทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีค่าเช่า ให้ นำเอาพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด (ตารางเมตร) ในอาคาร หรือ โรงเรือน มาคำนวณหาภาษี โดย อัตราภาษีต่อตารางเมตร ให้ทำการสอบถามไปยัง อบต. , อบจ. หรือหน่วยงานที่เรียกเก็บภาษีว่าคิด อัตราภาษีโรงเรือนต่อตารางเมตรเท่าไร เนื่องจากแต่ละพื้นที่คิดไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง เช่น A เป็นเจ้าของอาคาร 3 ชั้น และ ใช้ดำเนินการกิจการของตนเอง 2 ชั้น คือชั้นที่ 1 และ 2 โดย ใช้ชั้นบนสุดเป็นที่อยู่อาศัย โดยแต่ละชั้น มีพื้นที่ ใช้สอย ( กว้าง x ยาว ) 4 x 8 = 32 ตรม. และมีพื้นที่ใช้ดำเนินกิจการ 2 ชั้น จะได้ 32 x 2 = 64 ตรม.
โดย สมมุติอัตราภาษีต่อตารางเมตรเท่ากับ 60 บาท ดังนั้น A ต้อง เสียภาษีโรงเรือน 64 x 60 = 3,840 บาท


อ่านบทความทั้งหมด >>> รับทำบัญชี.com

ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
ลาซาด้า lazada รายรับ รายจ่าย โอกาส !
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ปทุมวัน ปิดงบ จดบริษัท 081•452•0000
5 หมวดบัญชี มีกี่หมวด เดบิต เครดิต
การบันทึกรายละเอียดการเรียกเก็บเงินลูกค้าในบัญชีโรงแรมใช้อะไรเป็นหลัก?
8 องค์ประกอบ การตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง ?
ขั้นตอน การปฏิบัติ การ นำเข้าสินค้า
ธุรกิจ Application รายรับ รายจ่าย โอกาส !