งบเปล่า
งบเปล่า หมายถึง งบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท) แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ อาจมีรายได้ หรือค่าใช้จ่าย โดยที่เราไม่รู้ หรือรู้ แต่ไม่ได้นำมาลงบัญชี หรือจัดทำบัญชี จึงเข้าใจว่าไม่มีรายได้ และ ค่าใช้จ่าย เช่น ซื้อของ ค่าเช่า หรือค่าแรงพนักงาน เป็นต้น ซึ่งในระหว่างปีไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่มีรายการเคลื่อนไหวใดๆ เลย งบการเงินของกิจการจะถูกเรียกว่า งบเปล่า โดยปริยาย
เพิ่มเติม : ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบ เปล่าส่งนั่นเอง
โดยช่วงที่ต้องปิดงบจะต้องมีผู้ทำบัญชีจัดทำงบขึ้นมา และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีพร้อมเซ็นรับรอง จากนั้นส่งให้กรรมการ (เจ้าของกิจการ) อนุมัติงบการเงิน และหลังจากอนุมัติแล้วให้นำส่งงบ เปล่านี้ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือน
ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี ต้องให้เสร็จไม่เกิน 5 เดือน โดยยื่นงบการเงิน ลายเซ็นผู้สอบ และ บอจ.5 ผ่านทางออนไลน์ได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ส่วนกรมสรรพากร ให้ยื่นส่งงบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี
เงื่อนไขการปิดงบเปล่า
สำหรับการปิดงบที่ไม่ได้ดำเนินกิจการเพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ที่บ่งบอกว่ากิจการของคุณต้องปิดงบการเงิน หรือปิดงบ เปล่าหรือไม่ ดังนี้
- ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ
- ทุนจดทะเบียนของบริษัท จะต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท หากนอกจากนี้จะไม่ถือว่าเป็นงบ เปล่า
- ต้องไม่มีรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารนิติบุคคล หากงบที่มีรายการเคลื่อนไหวในธนาคาร ไม่ถือเป็นงบเปล่ าเพราะทุกรายการเคลื่อนไหว ดังนั้น ต้องนำมาบันทึกบัญชีทั้งหมด
- สำหรับ หจก. ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้าน และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้าน และมีทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30 ล้าน แบ่งเงื่อนไขเป็น 2 แบบ คือ
- ส่งงบให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเซ็นรับรองและแสดงความเห็น
- ส่งงบให้กรมสรรพากร ต้องมีผู้สอบบัญชีภาษีอากรเซ็นรับรองงบการเงิน
- งบมียอดสินค้าคงเหลือ แม้ว่าจะไม่มีรายการซื้อ-ขายระหว่างปี แต่งบที่มีสินค้าคงเหลือนักบัญชีและผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบและบันทึกรายการปรับปรุงเกี่ยวกับรายการ จึงไม่ถือว่าเป็นงบเ ปล่า
- งบที่มียอดยกมาจำนวนมาก อย่างเช่นเงินจ่ายล่วงหน้ายกมา ลูกหนี้เจ้าหนี้ยกมา นักบัญชีและผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบและบันทึกรายการปรับปรุงเกี่ยวกับรายการเหมือนยอดสินค้าคงเหลือ ลักษณะนี้จึงไม่ถือเป็นงบ เปล่าเช่นกัน
ทำไมต้องปิดงบเปล่า
ในทางกฎหมาย หากเราเป็นนิติบุคคลแล้ว เราก็ยังจะต้องมีผู้ทำบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี และนำส่งกับกัมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรให้ถูกต้องอยู่เป็นประจำทุกๆ ปี
โดยปกติการที่อยู่ดีๆ นิติบุคคลจะลุกขึ้มาปิดงบ โดยที่อยากจะปิดเพื่อเสียค่าใช้จ่ายคงไม่ใช้เรื่องส่วนมากจะเกิดจาก โดย “ หมายเรียกไม่ส่งงบการเงิน ” จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็มีบ้างที่ อยากจะปิดเอง เพื่อนำบริษัทมาใช้ประโยชน์ แต่ก็ต้องเข้าใจขั้นตอนก่อนว่า งบการเงินที่ไม่ได้จัดทำบัญชีเลย อยู่ดีๆ จะมาทำยื่นงบปีปัจุบันเลยไม่ได้แล้ว
ปัจุบัน งบการเงิน ต้องทำการยื่นทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ระบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกแบบมา จำเป็นต้องอิงจากข้อมูลนิติบุคคลจากปีก่อนหน้าที่เปิดมาทั้งหมด ถ้าไม่ทำการยื่นงบการเงินปีที่ผ่านมา ปีปัจุบันก็ไม่สามารถยื่นได้
หมายเหตุ : ทำให้นิติบุคคลที่ไม่ดำเนินกิจการที่เรียกกันว่า งบ เปล่า ต้องทำการปิดแล้ว ยื่นต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อนจึงจะดำเนินงานงบปีปัจจุบันได้
ถ้ามีปีใดปีหนึ่งเราไม่ส่งงบการเงิน เราจะโดนค่าปรับสองเรื่องทั้งเรื่องส่งงบช้า และส่งภาษีช้า (อัตราแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ล่าช้า)
ขั้นตอนปิดงบเปล่า
- ตรวจสอบว่าบริษัทมีรายได้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงบ้างหรือไม่
- หาผู้ทำบัญชี ที่สามารถขึ้นชื่อผู้ทำเรียบร้อย อาจหาจาก
- สำนักงานบัญชี (นิติบุคล)
- นักบัญชี ฟรีแลนซ์ (บุคคล)
- เมื่อผู้ทำบัญชีทำการปิดงบเสร็จ จะส่งต่อให้ผู้สอบ (CPA) ตรวจสอบเพื่อเซ็นรับรองงบการเงิน
- เมื่อผู้สอบเซ็นรับรองงบการเงิน ผู้ทำจะทำการยื่นงบการเงินให้ทั้ง 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
- กรมสรรพากร (ถ้าอยู่ในระบบภาษีมุลค่าเพิ่ม)
เอกสารที่เกี่ยวที่เกี่ยวข้อง
- สำเนาหลักฐานสำคัญของบริษัท เช่น ใบสำคัญการจดทะเบียนบริษัท ข้อบังคับบริษัท(ถ้ามี), รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท(ถ้ามี) / บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น(ล่าสุด) / หนังสือรับรองบริษัท(ล่าสุด) / วัตถุประสงค์ / แบบ ภ.พ.01(จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) / ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.20) / บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
- แบบ ภงด.1 / ภงด.3 / ภงด.53 / ภงด51 และ ภงด. อื่นๆ ของปีปัจจุบัน(ถ้ามี)
- สำเนาสมุดคู่ฝากธนาคาร(ถ้ามี) / สำเนา Bank Statement (ถ้ามี)
- ใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ถ้ามี)กรณีกิจการที่เคยยื่นงบการเงินแล้วในปีก่อน ขอเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- งบการเงิน / งบทดลอง / รายละเอียดประกอบงบการเงิน ปีก่อน
- ภงด.50 ปีก่อน
งบไม่ดำเนินกิจการต้องยื่นงบไหม
หากกิจการเป็นงบที่ไม่ได้มีการดำเนินกิจการก็ยังจำเป็นต้องยื่นงบเป็นประจำทุกปีหากไม่ยื่นงบการเงินประจำปีภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี อาจโดนหมายเรียก
กรณีไม่ยื่นงบการเงินประจำปีภายในห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี ตามที่กำหนด ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ผู้ต้องรับโทษประกอบด้วย
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ในฐานะผู้จัดทำบัญชี ตามมาตรา 30 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- และหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 40 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- อายุความ 1 ปี โดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดห้าเดือนนับแต่วันปิดบัญชี
คำถาม : ยื่นงบไม่ดำเนินกิจการ 3 ปี ติดๆ ยังไม่มีรายการค้าใดเกิดขึ้น ทำอย่างไร
+++ สำหรับการที่จะให้ผู้สอบตรวจสอบรับรองงบทั้ง 3 ปี ถ้าตกลงกับผู้สอบแล้วผู้สอบยอม ก็ทำได้ค่ะไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่ผู้สอบจะเซ็นงบปี 55 และจะของบปี 55 ที่ยื่นแล้วมาดูด้วยนะคะว่ายอดยกมาตรงกันหรือไม่
ข้อมูล : การปิดงบ , ตัวอย่างการปิดงบบัญชี ,
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี