รวมภาระภาษีต่างๆ ที่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้ไว้
ในโลกของปัจจุบันนั้นการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน นักลงทุนต้องแสวงหาทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจโลก ซึ่งตามมาด้วยผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนนั้นก็คือ “การลงทุนในกองทุนรวม” กองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนของนักลงทุน
โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่มีความประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ก็ติดข้อจำกัดบางประเภทที่ไม่สามารถลงทุนได้ เช่น มีทุนทรัพย์จำกัดที่จะกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง หรือก็ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการลงทุน ดังนั้น นักลงทุนจึงเลือกที่จะลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้กองทุนรวมซึ่งจะบริการโดยผู้มีความรู้และความรู้ความเชี่ยวชาญไปดำเนินการลงทุนแทนตนเอง
แต่การลงทุนก็มีความเสี่ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนทุกคนพึงคิด ดังนนั้นการศึกษาความเสี่ยงในการลงทุนและอีกอย่างหนึ่งที่ไม่คววรพลาด ก็คือ “ภาระภาษีจากการลงทุน” จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและคุ่มค่ากับการลงทุนในกองทุนรวมหรือไม่ เช่นนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงภาระภาษีในการลงทุนกองทุนรวม ก็มาทำความรู้จักกับกองทุนรวมว่าคืออะไร และมีลักษณะเป็นเช่นใดกันค่ะ กองทุนรวม คืออะไร กองทุนรวม (Mutual fund) การรวบรวมเงินลงทุนรายย่อยเป็นก้อนใหญ่ แล้วนำเงินที่รวบรวมได้นั้นไปลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน
โดยมีบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกองทุนเป็นผู้ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและการลงทุนแทนนักลงทุน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ผู้ถือหน่วยลงทุน” โดยบริษัทจัดหาเงินทุนจะออกหนังสือชี้ชวน เพื่อให้ลงทุนพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน หลังจากนั้นจึงออกและเสนอขายหน่วยให้แก่นักลงทุน
ซึ่งหน่วยลงทุนจะมีฐานะความเสมือนเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของเงินที่ลงทุนบริหารจัดการจนกองทุนมีผลประโยชนืงอกเงยแล้ว ก้จะนำผลประโยชน์ดังกล่าวมาจ่ายคืนให้กับนักลงทุนตามสัดส่วนที่ได้ลงทุน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทบริหารจัดการกองทุนาทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของนักลงทุน ถ้าแบ่งตามประเภทจะสามารถแบ่งกองทุนรวมออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.กองทุนเปิด เป็นกองทุนรวมทั่วไปที่ไม่ได้จำกัดขนาดและระยะเวลาในการไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืน
2.กองทุนปิด เป็นกองทุนที่จำกัดขนาดและกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหรือกำหนดอายุของโครงการที่ชัดเจนโดยจะระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนก่อนจำหน่ายลงทุน ภาาระภาษีของกองทุนรวม เมื่อนักลงทุน (หรือผู้ถือหน่วยลงทุน) ได้นำเงินมาลงทุนในกองทุนรวมแล้วนั้น ผลตอบแทนที่นักลงทุนพึงได้รับ มีดังนี้
1. กำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน หรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน ตัวอย่างเช่น ซื้อหน่วยลงทุนไว้ในราคา 10 บาทต่อหน่วย เป็นจำนวน 2,000 หน่วย เป็นเงิน 20,000 บาท ต่อมานักลงทุนประสงค์ทีจะขายเพราะมูลค่าของหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 15 บาทต่อหน่อย เมื่อได้ขายไปแล้วนักลงทุนย่อมมีกำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน จำนวน 5 บาท รวมเป็นเงินต่อหน่วย 10,000 บาท จากการลงทุน
2. เงินปันผล คือกำไรที่บริษัแบ่งจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท กรณีที่มีการระบุในหนังสือชี้ชวนให้ลงทุนของกองทุนรวมว่าเป็นกองทุนรวมที่มีการจ่ายเงินปันผลและได้ประกาศจ่ายเงินปันผลนั้น เงินปันผลที่นักลงทุนนี้ได้รับถือว่าเป็นรายได้พึงได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวม ซึ้งผลตอบแทนที่นักลงทุนผู้ถือหน่วยลงทุนพึงได้รับทั้ง 2 ประการที่ได้กล่าวมาข้างต้น นั้นมีภาระภาษีของการลงทุนในกองทุนรวมจะเป็นอย่างไรนั้นอาจพิจารณาได้ใน 2 อย่างคือ
1. ในแง่กองทุนรวม
2. ในแง่ผู้ถือหน่วยลงทุน 1.ในแง่กองทุนรวม กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากบริษัทจัดการกองทุน กองทุนรวมจึงไม่ใช่หน่วยภาษี เพราะกองทุนรวมมิใช่นิติบุคคลตามความหมายของมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร เนื่องจากกองทุนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายดังกล่าว ดังนั้นรายได้ที่กองทุนรวมได้รับนั้นย่อมได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีของกองทุนรวมแต่อย่างใด
2. ในแง่ผู้ถือหน่วย ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจจะมีสัญชาติหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้มีบทบัญญัติตามกฎหมายจำกัดหรือบัญญัติห้ามไม่ให้ลงทุนไว้แต่อย่างใด การที่ถือหุ้นหน่วยลงทุนเป็นใครนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลทางภาษีอากรที่แตกต่างกัน โดยจะพิจาณาเป็นหัวข้อใหญ่ 2 กรณีดังนี้ 1. กรณีผู้ถือหหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา สามาแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ
(1) ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล เงินปันผลที่่จ่ายจากเงินกองทุนรวมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักททรัพย์ พ.ศ.2535 นั้นเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) ซึ่งกองทุนรวมมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที่ แต่ผู้ลงทุนมีสิทธิเลือกว่าจะนำเงินปันผลจากกองทุนรวมดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดารวมกับเงินพึงประเมอนประเภทอื่นหรือไม่ โดยผู้ลงทุนจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันด้วย
(2) ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่อยู่ในประเทศไทย (ผู้ลงทุนต่างชาติ) กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล ผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่มีสิทธิที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล 2. กรณีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นนิติบุคคล สามาแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ค่ะ
กรณี ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือหรือเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน จะไม่ได้รับยกเว้นเงินได้นิติบุคคล ผู้ถือหน่วยลงทุนจึงต้องนำกำไรหรือมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนหรือเงินได้นิติบุคคล
กรณี ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินปันผล ผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะไม่มีสิทธิที่จะต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
แม่ค้าออนไลน์ คู่แข่ง ความเสี่ยง โอกาส?
ส่งสินค้าคาร์โก้ ขนส่ง บริการ มีคุณภาพ?
ค่าคอม การเข้าใจและจัดการค่าคอมมิชชัน?
แนะนำ 3 ขั้นตอน เริ่มต้น ขายของออนไลน์
ข้อดีและข้อเสีย #5 ของการดำเนินธุรกิจในแต่ละรูปแบบ?
ผลิตสื่อออนไลน์ กิจการค้า รายรับ รายจ่าย?
นักบัญชี ผู้เป็น บุคคล สำคัญแห่ง องค์กร?
ภาระภาษีต่างๆ ที่ผู้ลงทุน ในกองทุนรวมต้องรู้ไว้? Read More »