ลักษณะหนี้สิน

รับทำบัญชี.COM | ประเภทของหนี้สินบัญชี หนี้สิน มีอะไรบ้าง?

Click to rate this post!
[Total: 64 Average: 5]

ลักษณะของหนี้สิน

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียน

จากความหมายของลักษณะหนี้สินที่กล่าวมาข้างต้น หนี้สิน กล่าวสรุปได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้คือ

  1. เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการซึ่งเกิดขึ้นแล้ว และสามารถกำหนดมูลค่าที่ต้องชดใช้ได้ และหรือหนี้สินบางประเภทอาจต้องวัดค่าได้จากการประมาณ ที่เรียกว่า ประมาณการหนี้สิน นั่นเอง
  2. เป็นภาระผูกพันที่กิจการไม่สามารถหลีกเลี่ยงการชดใช้ได้
  3. เหตุการณ์หรือรายการค้าที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันนั้นเกิดขึ้นแล้วในอดีต

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียน

และจากลักษณะของหนี้สินนั้น สามารถจำแนกประเภทของหนี้สินได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. หนี้สินหมุนเวียน
  2. หนี้สินระยะยาว

ความหมายของหนี้สินหมุนเวียน สำหรับหนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) นั้นโดยทั่วไปหมายความถึง สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกที่มีต่อกิจการ หรือพันธะทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติและครบกำหนดที่จะต้องชำระภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ หรือกำหนดชำระภายในระยะเวลาหนึ่งปี คำจำกัดความของหนี้สินหมุนเวียนไว้ว่า หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนภายใน 1 ปีหรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนหรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน

ลักษณะของหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียนจะต้องบันทึกบัญชีไว้ด้วยจำนวนเงินสดที่จะได้รับชำระหรือตามมูลค่าหรือต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่ได้รับ หนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการมาใช้ในการดำเนินงานตามปกติหรือกล่าวได้ว่าเกิดตามวัฏจักรการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจนั่นเอง ซึ่งหนี้สินเหล่านี้จะต้องชำระให้หมดไปภายในระยะเวลาอันสั้น โดยปกติระยะเวลาการชำระหนี้มักจะภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการซึ่งมักไม่เกิน 1 ปี อาจมีกิจการบางประเภท เช่น กิจการทำเหมืองแร่หรือทำป่าไม้ซึ่งมีรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกตินานกว่า 1 ปี หนี้สินหมุนเวียนของกิจการประเภทนี้ก็คงมีกำหนดระยะเวลาชำระเกินกว่า 1 ปีได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมักมีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี

หนี้สินหมุนเวียนนี้กิจการจะต้องชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ชำระหนี้ด้วยเงินสด สินค้าหรือบริการของกิจการ หรือด้วยการก่อหนี้สินหมุนเวียนชนิดอื่นขึ้นมา เช่น การชำระเจ้าหนี้การค้าด้วยการจ่ายตั๋วเงินจ่าย ซึ่งจะทำให้ปัญหาเจ้าหนี้การค้าหมดไปหรือลดลง แต่กิจการจะมีบัญชีตั๋วเงินจ่ายซึ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียนอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาแทนเจ้าหนี้การค้า

หนี้สินต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อ

  1. หนี้สินนั้นถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล
  2. กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ

หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้นให้จัดประเภทเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน ดังนั้นลักษณะสำคัญของหนี้สินคือ ต้องเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพัน หมายถึง หน้าที่หรือความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ ภาระผูกพันอาจมีผลบังคับตามกฎหมายเนื่องจากเป็นสัญญาผูกมัดหรือเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย ทางสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความของหนี้สินไว้ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการขำระคืนภายใน 1 ปี หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนหรือด้วยการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นแทน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงินได้กล่าวถึงลักษณะของหนี้สินหมุนเวียนไว้ดังนี้ หนี้สินต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินหมุนเวียนเมื่อ

  • หนี้สินนั้นถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือน นับจากวันที่ในงบดุล
  • กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินนั้นคืนภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ (หนี้สินที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆนี้ให้จัดอยู่ในประเภทเป็นหนี้ไม่หมุนเวียน

หนี้สินหมุนเวียนทั้งหมดสามารถจัดแบ่งประเภทได้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะจัดแบ่งออกตามประเภทของหนี้สินหมุนเวียนที่สำคัญและที่เกิดขึ้นเป็นประจำได้เป็น 13 ประเภทดังนี้

  1. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมธนาคาร (Bank Overdrafts And Loans From Banks)
  2. เจ้าหนี้การค้า (Trade Accounts Payable)
  3. ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable)
  4. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses)
    • เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย (Payroll Payable)
    • ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างจ่าย (Interest Of Loans Payable)
  5. เงินปันผลค้างจ่าย (Dividend Payable)
  6. โบนัสพนักงานค้างจ่าย (Bonus Payable)
  7. รายได้รับล่วงหน้า (unearned Revenues)
  8. ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย (Valued Added Taxes Payable)
  9. ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย (Income Taxes Payable)
  10. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Property Taxes Payable)
  11. เงินมัดจำหรือเงินประกัน (Returnable Deposit Or Agency Obligation)
  12. หนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Maturities Of Long-Term Liabilities)
  13. เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (Loans From Related Companies)

หนี้สิน Liabilityลักษณะสำคัญของหนี้สิน

หนี้สิน คือ (Liability) สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่มีต่อกิจการหรือพันธะข้อผูกพันที่กิจการมีต่อบุคคลภายนอก อันเกิดจากรายการที่กระทำในอดีตหรือปัจจุบัน ซึ่งกิจการจะต้องจ่ายเงินหรือสินทรัพย์อย่างอื่นนอกจากเงินหรือการให้บริการในอนาคตตามพันธะข้อผูกพันนั้นๆ เพื่อปลดภาระนั้นให้หมดไป

ลักษณะสำคัญของหนี้สิน คือ ต้องเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพัน หมายถึง หน้าที่หรือความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ ภาระผูกพันอาจมีผลบังคับตามกฎหมายเนื่องจากเป็นสัญญาผูกมัดหรือเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย หนี้สินเป็นผลของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีในอดีต ดังนั้น การได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการจึงก่อให้เกิดเจ้าหนี้การค้าหากกิจการไม่ได้จ่ายล่วงหน้าหรือชำระทันทีเมื่อส่งมอบและการรับเงินกู้จากธนาคารก่อให้เกิดภาระผูกพันในการจ่ายคืนเงินกู้ ในกรณีที่กิจการมีการรับประกันสินค้าหลังการขายกิจการอาจต้องรับรู้ค่าซ่อมแซมสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากยอดขายจริงเป็นหนี้สิน ซึ่งในกรณีนี้การขายสินค้าในอดีตถือเป็นรายการที่ก่อให้เกิดหนี้สิน

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )