รักษาสินนค้าของผู้ฝากขายด้วยความระมัดระวังเสมือนตนเป็นเจ้าของสินค้า
การจัดเก็บสินค้า ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ในการจัดเก็บสินค้าที่ฝากขายแยกต่างหากจากสินค้าของตนเอง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกเก็บสินค้าได้ผู้รับฝากขายอาจจะทำเครื่องหมายที่ตัวสินค้าซึ่งแสดงให้ทราบว่าเป็นสินค้าฝากขาย เช่น การติดบาร์โค๊ดที่สินค้าฝากขายโดยใช้สีที่แตกต่างจากสินค้าของผู้รับฝากขาย
การบันทึกบัญชีลูกหนี้ ใรกรณีที่ขายเป็นเงินเชื่อ ผู้รับฝากขายมีหน้าาที่บันทึกบัญชีลูกหนี้แยกต่างหากจากลูกหนี้ของตนเอง รวมถึงการบันทึกบัญชีลูกหนี้รายตัวแยกจากกันด้วย
การขายสินค้าตามราคาที่ตกลงกัน ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ในการขายสินค้าที่รับฝากขายในราคาที่ตกลงกันไว้ หากไม่มีการกำหนดราคาที่แน่นอน ผู้รับฝากขายจะต้องขายสินค้าในราคาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ผู้รับฝากขายมากที่สุด ในกรณีที่เป็นการเชื่อ ผู้รับฝากขายจะต้องระมัดระวังการให้เครดิตแก่ลูกค้าเสมือนหนึ่งเป็นสินค้าของตนเอง
การจัดรายงานเกี่ยวกับการขายสินค้า ผู้รับฝากขายมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการขายสินค้าที่รับฝากขายตามงวดเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัยยา เช่น ทุกสิ้นเดือน และจัดส่งให้ผู้ฝากขายพร้อมทั้งหลักฐานการนำส่งเงินโดยสม่ำเสมอ
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
เบื้องหลัง จัดบูธแสดงสินค้า เกี่ยวกับภาษี?
ค่านายหน้าจ่าย บุคคลธรรมดาหัก ผิดมั้ย?
ราคาทุนถัวเฉลี่ยเมื่อรับเข้า ประกอบด้วย?
บิลเงินสด #5eXCEL ฟอร์มบิลเงินสด ออนไลน์ โหลดตัวอย่างวิธีทำ?
เดือน บันทึกบัญชี ของ กิจการ ทำด้วยตนเองได้ไหม?
ธุรกิจเกี่ยวกับเด็ก รายรับ รายจ่าย โอกาส?
เลือก สำนักงานบัญชี 20 วิธี ง่ายๆ ที่มีดี คุณภาพ?
เครื่องมือแพทย์ รายรับ รายจ่าย โอกาส?