คลินิกทันตกรรม
บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี คลินิกทันตกรรม ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี
- ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
- Email : 9622104@gmail.com
- Line Official Account : @e200
- ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน
คลินิกทันตกรรม คือ
คลินิกทันตกรรมเป็นสถานที่ที่ทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ทันตกรรมให้การดูแล แต่คุณมักจะได้ยินคำที่ใช้หมายถึงสถานที่ที่ให้บริการทันตกรรมโดยอาจมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าสถานพยาบาลเอกชนก็ได้
คลินิกทันตกรรมมักมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา พวกเขามักจะเกี่ยวข้องกับ สถานพยาบาลส่วนตัวหรือ “คลินิกทันตกรรม” เป็นของทันตแพทย์หรือสถาบันทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
เหตุใดคุณจึงควรสนใจเกี่ยวกับคำจำกัดความของคลินิกทันตกรรมและสำนักงานทันตกรรม เนื่องจากการรู้ว่าคลินิกทันตกรรมรักษาผู้ป่วยน้อยลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพการดูแลสามารถช่วยให้คุณบรรลุและรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีได้ในราคาย่อมเยา
เงื่อนไขเปิดคลินิกทำฟัน
เงื่อนไขการขอใบอนุญาตเปิดคลินิกทันตกรรม
การขอใบอนุญาตเปิดคลินิกทันตกรรม หากเจ้าของคลินิกเป็นบุคคลทั่วไป จำเป็นจะต้องมีหุ้นส่วนที่เป็นทันตแพทย์ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงทำให้ส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคล เพื่อขอใบอนุญาตเปิดคลินิกทันตกรรมให้ผ่านง่ายขึ้น และสามารถดำเนินกิจการได้ โดยมีเงื่อนไขหลักๆ ในการขอใบอนุญาตเปิดคลินิกทันตกรรม เช่น
– คลินิกทันตกรรม จะต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
– คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง ต้องดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากทันตแพทยสภาในสาขานั้น
ข้อกำหนดในการตั้งชื่อคลินิกทันตกรรม ดังนี้
- คำนำหน้าชื่อ หรือต่อท้ายชื่อคลินิก ต้องประกอบด้วยประเภทและลักษณะของคลินิกที่ขออนุญาต เช่น อมรเทพคลินิกเวชกรรม หรือคลินิกเวชกรรมอมรเทพ
- ต้องไม่ใช้คำ หรือข้อความที่มีลักษณะชักชวนหรือโอ้อวดเกินจริง หรืออาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการ
- ไม่สื่อความหมายหรืออ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาต
- คลินิกที่ตั้งภายในอำเภอหรือเขต หรือจังหวัดเดียวกัน จะต้องไม่ใช้ชื่อซ้ำกัน ยกเว้น
- ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลเดียวกัน
- มีหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับอนุญาตเดิมให้ใช้ชื่อซ้ำกันได้ แต่ต้องมีอักษรหรือหมายเลขเรียงลำดับ หรือที่ตั้งสถานที่ ต่อท้ายชื่อคลินิก เช่น คลินิกเวชกรรมอมรเทพ สาขาบางซื่อ หรือคลินิกเวชกรรมอมรเทพ สาขา 2
ขั้นตอนเปิดคลินิก
ขั้นตอนการขอเปิดคลินิกทันตกรรม
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการยื่นขอเปิดคลินิกแบ่งเป็น 2 แห่ง คือ คลินิกตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะกระทรวงสาธารณสุข ส่วนคลินิกที่มีที่ตั้งในส่วนภูมิภาค สามารถยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ ได้
และมีขั้นตอนการขอใบอนุญาตเปิดคลินิกทันตกรรม หรือสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน (คลินิก) แบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้
1.) ผู้ขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
ให้ใช้แบบฟอร์มในการกรอก คือ ส.พ.1 ส.พ.2 ส.พ.5 สำหรับกรอกข้อมูลในส่วนของการขอรับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบดังนี้
1.1 เอกสารส่วนบุคคล ที่ใช้ในการขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล แบ่งเป็นสำหรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลดังนี้
– บุคคลธรรมดา ให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และใบรับรองแพทย์
– นิติบุคคล ให้เตรียมเอกสารจดทะเบียนนิติบุคคล และวัตถุประสงค์ สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจลงนาม และใบรับรองแพทย์ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราบริษัทที่ลายเซ็นผู้ขอรับอนุญาตในแบบฟอร์มยื่นคำขอ
1.2 เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ที่ใช้ในการขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ทั้งสำหรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีดังนี้
– กรณีเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง : สำเนาสัญญาซื้อขาย สำเนาโฉนด
– กรณีเช่า : สำเนาสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
– กรณียินยอมให้เช่าพื้นที่ : หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร สำเนาบัตรประชาชนและเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ
– สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก ควรเป็นสถานที่ตั้งที่ขอเอกสารได้ เช่น มีตัวของโฉนด ทะเบียนบ้าน
1.3 แผนผังภายในคลินิก
1.4 แผนที่ในการเดินทางไปคลินิก
2.) ผู้ขอรับใบอนุญาตในการดำเนินการสถานพยาบาล
แบบฟอร์ม ส.พ.18, ส.พ.6 ใช้สำหรับกรอกข้อมูลในส่วนของการขอรับใบอนุญาตในการดำเนินการสถานพยาบาล พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองแพทย์
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
- สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
- รูปถ่ายขนาด 2.5 x 3 ซม. จำนวน 3 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
- รูปถ่ายขนาด 8 x 13 ซม. จำนวน 1 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
3.) ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม
ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งที่ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น ตามลักษณะการให้บริการของคลินิก โดยใช้แบบฟอร์มที่ต้องกรอก ส.พ.6 (ไม่ต้องมาแสดงตัว) และเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ / ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
- สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
- รูปถ่ายขนาด 8 x 13 ซม. จำนวน 1 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี
ทั้งนี้ หากผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการและดำเนินการเป็นบุคคลเดียวกัน เอกสารข้อ 2.1 – 2.3 ใช้เพียงชุดเดียว และการยื่นขอเปิดคลินิก ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ สามารถเขียนใบมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบ / ผู้รับมอบอำนาจ แต่ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการต้องมาแสดงตัวด้วย
รวมถึงกรณีคลินิกทันตกรรมที่มีที่ตั้งในเขตกรุงเทพฯ ถ้ามีเครื่องเอกซเรย์ ต้องติดต่อกองรังสีและเครื่องมือแพทย์ โทร.0-2951-0000 ต่อ 99647
เครดิต : kkpho.go.th
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี