แฟรนไชส์

กลุ่ม แฟรนไชส์ ค่าที่ปรึกษา บัญชีแฟรนไชส์

Click to rate this post!
[Total: 975 Average: 5]

แฟรนไชส์

กิจการแฟรนไชส์ คือ ตามรูปศัพท์ แฟรนไชส์ ( Franchise ) หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไป หรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

Franchise
Franchise

ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์เป็นที่นิยมมาก มีกิจการหลายกิจการที่กำเนิดจากธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการดำเนินงานในธุรกิจประเภทนี้ จะมีบริษัทแม่คอยแนะนำให้ความช่วยเหลือเป็นผู้เตรียมใบอนุญาตเทคนิคการผลิต การบริหารงาน ขายให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือผู้ซื้อสัมปทาน เพื่อซื้อสทธิในการเป็นเจ้าของ และดำเนินงานในลักษณะเดียวกับที่บริษัทแม่ได้วางรูปแบบไว้

ร้านกาแฟ
ร้านกาแฟ เป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ ที่นิยมเป็นอันดับต้น

ซึ่งธุรกิจที่เป็นบริษัทแม่ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จ มีแนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ

  1. แฟรนไชซอร์ ( Franchisors ) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน
  2. แฟรนไชซี ( Franchisees ) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี แมคโดนัลด์ พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น ไทเกอร์มาร์ต สตาร์ชอร์ป ฯลฯ และธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิดโดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่เจมส์ ฯลฯ

ตัวอย่าง แฟรนไชส์
ตัวอย่าง แฟรนไชส์

ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ

  1. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซีในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น
  2. ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง เช่น พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เซเว่น-อีเลฟเว่น โดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น
ธุรกิจแฟรนไชส์ subway
ธุรกิจแฟรนไชส์ subway

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจ (Businessman) คือ บุคคลผู้จัดตั้งธุรกิจและบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะต้องติดต่อกับบุคคลอื่นตลอดเวลาเพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจตน จึงต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

นักธุรกิจ
นักธุรกิจ ผู้ประกอบกิจการแฟรนไชส์
  1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง คือ มีความรู้สึกว่าสามารถทำทุกอย่างที่ต้องการหรือที่อยากทำได้ หากยิ่งประสบความสำเร็จก็จะรู้สึกมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ซึ่งการมีความเชื่อมั่นในตนเองนี้ทำให้นักธุรกิจสามารถทำงานทุกอย่างด้วยความมั่นใจ มีความอยากทำและมีความตั้งใจในการทำ อันทำให้เกิดผลงานออกมาดีตามที่ต้องการได้
  2.  มีความซื่อสัตย์ ต่อลูกค้าทั้งด้านคำพูดและการกระทำ สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพให้ลูกค้าได้บริโภคแต่สิ่งที่ดีและมีความปลอดภัยต่อชีวิต
  3. มีความกตัญญูต่อลูกค้า และผู้มีบุญคุณอื่น ๆ โดยการมอบแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่ลูกค้าและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีอย่างต่อเนื่อง
  4. มีความยุติธรรมในการบริหารงาน และตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยความยุติธรรมในการให้โอกาสแก่ทุก ๆ ฝ่ายเท่าเทียมกัน
  5. มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ การมีประสบการณ์จะทำให้มีข้อมูลในการนำมาวางแผนและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี เพราะรู้ว่าสิ่งใดควรปฏิบัติและสิ่งใดควรละเว้นจึงจะทำให้การดำเนินธุรกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  6. มีความมั่นใจในตนเอง สามารถตัดสินใจได้ทันเวลาทันกับเหตุการณ์ และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดี ย่อมทำให้ไม่เสียโอกาสทองในการดำเนินธุรกิจ
  7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งด้านการบริหารและการจัดการทำให้ธุรกิจมีวิธีการหรือผลงานใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้นหรือมีประสิทธิผลมากขึ้น
  8. มีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของตลาด เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการนำมาตัดสินใจในกระบวนการผลิตและการจัดจำหน่าย เพื่อธุรกิจจะได้ปฏิบัติหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและสังคม
  9. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อองค์การและสังคม รวมถึงปฏิบัติต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการมีจรรยาบรรณที่ดี

ค่าเฟรนไชน์ และค่าที่ปรึกษา ต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

ค่าที่ปรึกษา บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้เลย แต่อย่าลืมหัก ณ ที่จ่ายด้วย ส่วนค่าเฟรนไชส์ต้องบันทึกตามอัตราส่วน

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี บริษัท ปังปอน จำกัด ได้อย่างไร

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
การปันส่วนต้นทุน

การปันส่วนต้นทุน (Allocation)

การปันส่วนต้นทุน cost allocation ตัวอย่างการปันส่วนต้นทุน วิธีการปันส่วนต้นทุน การปันส่วนต้นทุนการผลิต แบบฝึกหัด การ ปันส่วน ต้นทุน แผนกบริการ การปันส่วนต้นทุนขั้นตอนเดียว การปันส่วนต้นทุนแผนกบริการ การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม
การชำระค่าภาษี

ภาษี สนามบินที่นำของเข้า ส่งออก

ส่งของใช้ส่วนตัว กลับไทย โดนภาษี สําแดงของ ก่อนออกนอกประเทศ pantip ยกเว้นอากรขาเข้า คือ ข้อยกเว้นอากรขาเข้า มี กี่ ประเภท ของต้องสำแดง ใน การนำ เข้า ราช อาณาจักร ของต้องกำกัด pantip ของใช้ส่วนตัว หากนำเข้ามาพร้อมกับตน นำเข้ามา ได้ เท่าใด ภาษีนำเข้า สนามบิน
ธุรกิจโรงแรม

ธุรกิจโรงแรม 7 ประเภท ขั้นตอน กฎหมาย

Click to rate this post! [Total: 975 Average: 5] ในหน้านี้ แฟรนไชส์ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจค่าเฟรนไชน์ และค่าที่ปรึกษา ต้องบันทึกบัญชีอย่างไรสำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี บริษัท ปังปอน จำกัด ได้อย่างไรโรงแรม บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริกา …

กลุ่ม แฟรนไชส์ ค่าที่ปรึกษา บัญชีแฟรนไชส์ Read More »

การตัดจำหน่ายหนี้สูญ

การตัดจำหน่ายหนี้สูญ

จำหน่ายหนี้สูญ 2564 ตัวอย่างการตัดหนี้สูญ การจําหน่ายหนี้สูญ อปท การตัดหนี้สูญ บัญชี หลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญ กรมบัญชีกลาง การตัดจําหน่ายหนี้สูญ 2565 บันทึกข้อความ จำหน่าย หนี้สูญ หนี้สูญ สรรพากร
การทำบัญชีมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น องค์ประกอบของการทำบัญชี

เหตุผลหลักสำคัญที่ทำให้บริษัทต้องใช้ระบบบัญชี

Click to rate this post! [Total: 975 Average: 5] การทำบัญชีมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น องค์ประกอบของการทำบัญชี                 ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจ ไม่เพียงแค่เป็นการจดใส่สมุด ใส่กล่องหรือใส่แค่แฟ้มธรรมดา แต่ยังเป็นระบบที่จะเก็บและจัดการข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ ซึ่งตัว …

กลุ่ม แฟรนไชส์ ค่าที่ปรึกษา บัญชีแฟรนไชส์ Read More »

โปรแกรมบัญชี

7 โปรแกรมบัญชี มี ที่นิยม สรรพากรรับรอง

Click to rate this post! [Total: 975 Average: 5] ในหน้านี้ แฟรนไชส์ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจค่าเฟรนไชน์ และค่าที่ปรึกษา ต้องบันทึกบัญชีอย่างไรสำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี บริษัท ปังปอน จำกัด ได้อย่างไรโปรแกรมบัญชี คุณสมบัติ โปรแกรมบัญชี …

กลุ่ม แฟรนไชส์ ค่าที่ปรึกษา บัญชีแฟรนไชส์ Read More »

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร

เฉลี่ยภาษีซื้อก่อสร้าง AO ก่อสร้างอาคาร

Click to rate this post! [Total: 975 Average: 5] ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร ข้อหารือที่ กค 0811/17427เลขที่หนังสือ: กค 0811/17427วันที่: 25 ธันวาคม 2541เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารข้อกฎหมาย: มาตรา 82/6, มาตรา 83/4, มาตรา 89, มาตรา 89/1, ประ …

กลุ่ม แฟรนไชส์ ค่าที่ปรึกษา บัญชีแฟรนไชส์ Read More »

หมวดบัญชี

5 หมวดบัญชี มีกี่หมวด เดบิต เครดิต

หมวดบัญชี 5 หมวด หมวดบัญชี 5 หมวด เดบิต เครดิต หมวดบัญชี ค่า ใช้ จ่าย มีอะไรบ้าง หมวดบัญชี เดบิต เครดิต ไฟล์ ผังบัญชี หมวดบัญชีสินทรัพย์ หมวดบัญชี 5 หมวด ภาษาอังกฤษ การ แบ่ง หมวดบัญชี 

Leave a Comment

Scroll to Top