กรรมการกู้เงินแทนบริษัท ทำได้หรือไม่ แล้วการเสียภาษีจะเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมใครเป็นคนรับปิดชอบ
กรรมการกู้ธนาคารมาลงทุนให้บริษัท รับรู้รายได้ดอกเบี้ย และต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ แล้วถือเป็นเงินกู้ยืมกรรมไหม
บางครั้งบริษัทอาจประสบปัญหาจากเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจไปต่อได้ จึงจำเป็นต้องมีการกู้ยืมจากธนาคาร แต่ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ได้ จึงแนะนำให้ใช้ชื่อเจ้าของกิจการกู้เพื่อนำเงินไปให้บริษัทกู้จากเจ้าของอีกที แบบนี้มีด้วยหรอ ?
เมื่อบริษัท เครดิตไม่ดี หนี้สินล้น ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ให้ได้ หากตัวเจ้าของกิจการต้องการจะลงทุน ก็ใช้ชื่อตัวเองในการกู้ก็สามารถทำได้ และเมื่อธนาคารปล่อยกู้ให้เจ้าของกิจการแล้ว เงินกู้ที่ได้มา เจ้าของกิจการนำมาลงทุนในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น การขยายกิจการ ลงทุนซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงาน
ทำอย่างไรไม่ให้ดอกเบี้ยรับ เป็นรายได้ของกรรมการ
- จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นให้ชัดเจนว่าบริษัทมีความประสงค์จะให้กรรมการกู้ยืมเงินธนาคาร
- จัดทำสัญญาเงินกู้ ระหว่าง กรรมการ กับ บริษัท โดยติดอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.
- แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ให้เรียบ
- ดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการ ต้องทำให้สัมพัมธ์กับดอกเบี้ยที่ทำสัญญาไว้กับธนาคาร
- ในการจ่ายดอกเบี้ยควรให้บริษัท โอนเงินให้กับธนาคารโดยตรง
ข้อควรระวังเมื่อกรรมการ ได้รับเงินกู้ยืมแล้วมีการจ่ายชำระดอกเบี้ยในแต่งวด
- ควรจัดทำรายงานการประชุมโดยระบุ ความประสงค์ และรายละเอียด ก่อนกู้ยืม
- ในรายงานการประชุมควรบันทึกรายงานการประชุมของผู้ถือหุ้น และมีรายเซ็นรบถ้วน
- จัดทำสัญญากู้เงินจากรายงานการการประชุม ว่าใครเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย
- เก็บหลักฐานการรับเงินกู้ ในแต่ละงวด ที่ธนาคารอนุมัติให้กรรม (ควรนำเข้าบัญชีบริษัทในวันนั้นทันที )
- เก็บรวมรวมหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยในแต่ละงวด เพื่อนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้
หมายเหตุ : หลักฐานเอกสารที่ใช้ คือ
- ใบสำคัญจ่าย ที่ระบุการจ่ายเงิน ไปยังธนาคารโดยตรงจากกิจการ (ก) สำเนาเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน ซึ่งขีดฆ่าผู้ถือและ ขีดคร่อม A/C Payee only ที่มีหลักฐานว่าได้ตัดบัญชี Bank statement ของผู้จ่ายเงินแล้ว หรือ (ข) สำเนาใบโอนเงินผ่านธนาคารหรือช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์อื่น
- ใบเสร็จรับเงินจากธนาคาร ตรงกับวันที่จ่ายเงิน ในกรณีใบเสร็จรับเงินจากธนาคารจะเป็นชื่อกรรมการ ระบุถึงดอกเบี้ย และเงินต้นที่ชำระ เป็นต้น
เพียงเท่านี้เงินที่บริษัทจ่ายดอกเบี้ยแทนกรรมการก็สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้ และกรรมเองก็ยังไม่ต้องนำดอกเบี้ยมารวมเป็นรายได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย
ส่วนเงินกู้ที่ได้มาส่วนนี้ต้องทำความเข้าใจก่อน ว่า ถ้าเงินมันอยู่ในมือเราก็คือของเรา (บุคคลธรรมดา) แต่ในทางบัญชี เงินกู้ที่อยู่ในมือเรา เมื่อนำมาให้บริษัทลงทุนแล้ว จะถือเป็นเงินของบริษัท (นิติบุคคล) ที่ไม่ใช่!! ของเรา
การกู้เงินมีหลากหลายรูปแบบ การจะทำให้เงินกู้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องวางแผนกับผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพราะการกู้ยืมเงิน ต้องมองหลัก ข้อกฎหมายทางภาษี และ ทางบัญชีประกอบด้วย มิฉนั้นการกู้เงินในแต่ละครั้งท่านอาจไม่ได้ประโยชน์ หรือ เสียมากกว่าได้
หมายเหตุ : ในทางบัญชี “เงินกู้ยืมธนาคาร” บางครั้งจะเกิดขึ้นได้ก่อนการทำสัญญา ก็ตอนที่ เจ้าของกิจการโอนเงินให้บริษัท หรือ จ่ายค่าใช้จ่ายแทนบริษัท นั้นเอง
อ้างอิง :
บริษัทให้กรรมการกู้เงิน ?
จำเป็นต้องมีการกู้ยืมจากธนาคาร แต่ธนาคารไม่สามารถปล่อยกู้ได้ จึงแนะนำให้ใช้ชื่อเจ้าของกิจการกู้เพื่อนำเงินไปให้บริษัท
นำดอกเบี้ยมาเป็นรายจ่าย ?
สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายโดยมีเอกสารประกอบให้ครบถ้วน
แก้ไขครั้งสุดท้าย มิถุนายน 30, 2022
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
รับทำบัญชี ยื่นภาษี ตรวจ สอบบัญชี บริการ ทำบัญชี บริษัท