รับทำบัญชี.COM | ตั๋วเงินจ่ายปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวด?

Click to rate this post!
[Total: 236 Average: 5]

การบัญชีตั๋วเงินจ่าย

การบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่าย

ในการซื้อขายสินค้าโดยทั่วไปของระบบการขายแบบเงินเชื่อนั้น เจ้าหนี้อาจให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้โดยไม่มีหลักประกัน แต่ในบางกรณีเจ้าหนี้อาจต้องการคำมั่นสัญญาในลักษณะของเอกสารจากลูกหนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งคำมั่นสัญญาจากลูกหนี้นี้เรียกว่า ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงิน

การบัญชีตั๋วเงินจ่าย

สำหรับการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่ายนั้นอาจทำได้ 2 วิธี โดยใช้เกณฑ์ของการมีดอกเบี้ยของตั๋วเงินจ่ายดังนี้

  1. การบันทึกบัญชีตั๋วเงินจ่ายชนิดระบุดอกเบี้ย (Interest-Bearing Noted Issued) โดยทั่วไปลูกหนี้อาจจ่ายตั๋วเงินให้แก่เจ้าหนี้เพื่อยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป ซึ่งหมายความว่าระยะเวลาของการให้สินเชื่อได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่มีเงินสดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้จึงออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระหนี้แทนเงินสดให้แก่เจ้าหนี้ ในกรณีนี้เจ้าหนี้มักจะคิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ด้วย ดังนั้นตั๋วเงินจ่ายจึงต้องระบุทั้งจำนวน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาในการชำระหนี้ด้วย ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่ายชนิดนี้จะบันทึกมูลค่าตามหน้าตั๋วเมื่อจ่ายตั๋วเงิน และเมื่อตั๋วเงินจ่ายครบกำหนดจะบันทึกบัญชีการจ่ายชำระเงินสดพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้

ตั๋วเงินจ่ายนอกจากจะใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือให้ยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปแล้วยังสามารถใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคารได้ด้วย โดยกิจการอาจออกตั๋วเงินจ่ายชนิดระบุดอกเบี้ยหรือไม่ระบุดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร หรือกิจการจ่ายตั๋วเงินจ่ายชนิดมีระบุดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารหรือเป็นการกู้เงินโดยระบุมูลค่าของตั๋วเงินจ่าย พร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่จะชำระเมื่อถึงกำหนดแล้ว กิจการก็จะได้รับเงินสดเต็มจำนวนตามที่ต้องการตามมูลค่าหน้าตั๋ว และเมื่อครบกำหนดที่จะต้องชำระเงินคืนแก่ธนาคาร กิจการก็จะต้องชำระเงินคืนแก่ธนาคารตามมูลค่าหน้าตั๋ว และเมื่อครบกำหนดที่จะต้องชำระเงินคืนแก่ธนาคาร กิจการก็จะต้องชำระเงินคืนแก่ธนาคารตามมูลค่าหน้าตั๋วพร้อมทั้งดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งตามที่ระบุไว้ แต่หากกิจการออกตั๋วเงินจ่ายชนิดไม่ระบุดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร กิจการจะได้รับเงินที่น้อยกว่ามูลค่าหน้าตั๋ว เพราะธนาคารจะหักส่วนลดซึ่งในความหมายที่แท้จริงก็คือ ดอกเบี้ยออกก่อนแล้วจึงจ่ายเงินที่เหลือให้แก่กิจการ และเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ระบุในตั๋วเงินจ่าย กิจการจะต้องชำระเงินสดคืนธนาคารเต็มตามมูลค่าที่ระบุในตั๋วเงินจ่าย

  1. การบันทึกบัญชีตั๋วเงินจ่ายชนิดไม่ระบุดอกเบี้ย (Zero-Interest-Bearing Noted Issued) โดยปกติตั๋วเงินจ่ายที่ลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการนั้นมักจะไม่ระบุดอกเบี้ย ดังนั้นการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินจ่ายชนิดนี้มักจะบันทึกตามมูลค่าของตั๋ว กรณีที่กิจการนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปเป็นหลักประกันการกู้เงินธนาคาร โดยกิจการออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดไม่ระบุดอกเบี้ย ธนาคารจะหักส่วนลดซึ่งส่วนลดนี้คือดอกเบี้ยที่ธนาคารจะคิดจากผู้กู้

โดยทั่วไป ถ้าตั๋วเงินจ่ายที่มีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 10 ของยอดรวมหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมดของกิจการ กิจการควรแยกแสดงรายการตั๋วเงินจ่ายนั้นออกจากเจ้าหนี้การค้า และตั๋วเงินจ่ายที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี มักจะเป็นตั๋วเงินจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการซึ่งจัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ในทางกลับกันถ้าตั๋วเงินจ่ายมีอายุเกินกว่า 1 ปีมักจะเป็นตั๋วเงินจ่ายที่เกิดจากการนำไปซื้อซึ่งสินทรัพย์ ซึ่งจัดเป็นหนี้สินระยะยาว ตั๋วเงินจ่ายชนิดระบุดอกเบี้ยให้กิจการแสดงในงบดุลด้วยราคาตามหน้าตั๋ว ซึ่งมีราคาเท่ากับค่าปัจจุบันและแสดงดอกเบี้ยคงค้างในตั๋วเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

สรุปโดยรวมก็คือ การแสดงรายการเจ้าหนี้ และตั๋วเงินจ่ายในงบดุล ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการค้ำประกันให้ชัดเจนโดยแสดงได้ 2 วิธีคือ การแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบในงบการเงิน และ แสดงไว้ในวงเล็บ และบันทึกกำกับไว้ท้ายรายการทั้งด้านสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน และหนี้สินที่ได้รับการประกัน

การบัญชีตั๋วเงินจ่าย คืออะไร ความหมาย มีอะไรบ้าง

ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable) เป็นคำมั่นสัญญาที่ทำลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไขซึ่งกิจการรับจะชำระเงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่อีกบุคคลหนึ่งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ซึ่งโดยปกติมักจะมีการรับรองการชำระเงินตามตั๋ว ในการรับรองตั๋วเงินจ่ายนี้อาจรับรองในกรณีการรับเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือสินทรัพย์ก็ได้ ซึ่งการรับรองในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะเป็นพันธะผูกพันของกิจการที่จะต้องชำระเงินตามตั๋วต่อผู้มีสิทธิได้รับเงิน

ตั๋วเงินจ่ายที่เกิดจากหนี้ค่าสินค้าหรือบริการถ้ามีจำนวนเงินไม่มาก กิจการอาจแสดงรวมอยู่ในรายการเจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่ายเป็นยอดเดียวกันก็ได้ ตั๋วเงินจ่ายอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.) ตั๋วเงินจ่ายการค้า หมายถึง ตั๋วเงินที่ออกให้เป็นการชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ
2.) ตั๋วเงินจ่ายธนาคาร หรืออาจเรียกว่า ตั๋วเงินจ่ายการเงิน หมายถึง ตั๋วเงินที่ออกให้แก่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นๆ
3.) ตั๋วเงินจ่ายอื่น หมายถึง ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้นที่ออกให้แก่เจ้าหนี้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินหรือเป็นการชำระหนี้ เช่น การออกตั๋วให้ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการที่กิจการกู้ยืมเงิน เป็นต้น

การบัญชีตั๋วเงินจ่าย คือ
การบัญชีตั๋วเงินจ่าย คือ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )