รับทำบัญชี.COM | การหักค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆตามมีดังนี้ค่ะ?

Click to rate this post!
[Total: 51 Average: 5]

การหักค่าใช้จ่ายในหมวดต่างๆ ตาม มาตรา 40 มีดังนี้คะ

40 (1) รายได้มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง บำเน็จ บำนาญ โบนัส และ ผลประโยชน์อื่นๆ จากการจ้าง (เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ารถ เงินที่นายจ้างชำระหนี้ให้ เงินค่าภาษีที่นายจ้างออกให้ ฯลฯ)
 
40 (2) รายได้แบบไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน เช่น เงินที่ได้จากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า (ค่าคอม) ค่าธรรมเนียม ค่าตำแหน่ง เบี้ยประชุม หรือ ค่าที่ทำได้ตามความสำเร็จของงาน ไม่ใช่เหมาจ่ายเป็นวัน หรือ เป็นเดือน เหมือน ม. 40 (1) ซึ่ง มาตรา 40 (1) และ 40 (2) เอามารวมกันแล้ว หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท
 
40 (3) ค่าลิขสิทธิ์ และ เงินที่ได้เป็นรายปี เช่น ตามนิติกรรมต่างๆ, ตามพินัยกรรม, และตามคำสั่งของศาล ฯลฯ ค่าลิขสิทธิ์หักได้ไม่เกินร้อยละ 40 และ ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนอย่างอื่นหักไม่ได้
 
40 (4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินลดทุน-เพิ่มทุน และ ผลประโยชน์ต่างๆ จากการโอนหุ้น (นอกตลาด) มาตรานี้หักไม่ได้ แต่เสียแบบเหมาๆ ได้ เหมาะกับผู้ที่มีฐานภาษีสุดท้ายน้อยกว่า การหักแบบเหมา เช่น ดอกเบี้ยต่างๆ เหมาจ่าย 15%, เงินปันผลต่างๆ ในประเทศ เหมาจ่าย 10%, และ เงินปันผลจากต่างประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนการการโอนหุ้น (นอกตลาด) เหมือนที่นักการเมืองบางคนทำ ไม่สามารถลดหย่อนได้นะครับ ยกเว้น กรณีให้ทายาทโดยธรรม เช่น บุตร หรือ ภรรยา (ไม่จำกัด) และ การให้ตามประเพณี เช่น วันแต่งงาน หรือ วันเกิด แต่ไม่มากเกินสมควร (สมควร ตามดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน)
 
40 (5) เงิน และ ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่า ค่าปรับ ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 5 ซึ่งจะเป็นดังต่อไปนี้ – ค่าเช่าสิ่งปลูกสร้าง, แพ, หรือ ยานพาหนะ เหมาได้ร้อยละ 30 ยกเว้นเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าที่จ่ายจริง
– ค่าเช่าที่ดินในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 20 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
– ค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร เหมาได้ร้อยละ 15 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
– ทรัพย์สิน อื่นๆ เหมาได้ร้อยละ 10 ยกเว้นการเช่าช่วงหักได้ตามค่าเช่าจริง
– ค่าปรับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และ ผิดสัญญาขายเงินผ่อน หักได้ร้อยละ 20
 
40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปัตยกรรม การบัญชี ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 6 จะเป็นดังต่อไปนี้
– แพทย์รักษาตามใบประกอบโรคศิลป์ หักเหมาได้ร้อยละ 60
– อาชีพอื่นๆ หักเหมาได้ร้อยละ 30 (ต้องเป็นอาชีพตามประกาศของกรมสรรพากรด้วยนะ)
– ยกเว้นกรณีที่มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
 
40 (7) เงินได้จากการรับเหมา โดยเป็นผู้จัดหา สัมภาระสำคัญ เช่น รับเหมาก่อสร้าง จัดงาน Event ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 7 จะหักเหมาได้ร้อยละ 70 ยกเว้นกรณีที่ มีหลักฐานมาแสดงว่าได้มีค่าใช้จ่าย มากกว่าที่หักเหมา
 
40 (8) เงินได้อื่นๆ เช่น เงินได้จากการเสริมสวย การค้าขาย ขนส่ง การแสดง ฯลฯ มาตรานี้ ต้องหักตาม พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502 มาตรา 8 อาจจะหักได้สูงถึง 85% แต่ข้อมูลเยอะมากต้องไปดูว่าเข้าข่ายหรือไม่
 

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )