สิทธิประกันสังคม ใช้ได้เมื่อไหร่

รับทำบัญชี.COM | สิทธิประกันสังคมมาตรา33ครั้งแรกใช้ได้ตอนไหน

Click to rate this post!
[Total: 217 Average: 5]

สิทธิประกันสังคม ใช้ได้เมื่อไหร่

สิทธิประกันสังคม ใช้ได้เมื่อ
ผู้มีสิทธิประกันสังคม จะต้องส่งเงิน หรือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์
ผู้ประกันตนที่ได้ทการส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว และได้ทำการเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเรียบร้อยแล้วจะได้รับใบรับรองสิทธิการรักษาที่มีข้อมูลของสถานพยาบาลและชื่อของผู้ประกันตน เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยในไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ ประสงค์ สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องพิเศษ แพทย์พิเศษหรือค่าโทรศัพท์เหล่านี้ต้องจ่ายเพิ่มเอง รวมถึงการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงานด้วยเหตุหรือกลุ่มโรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์
ผู้มีสิทธิ ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนวันเข้ารับบริการทางการแพทย์
1.กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
ให้ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามที่ได้ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิ หรือเครื่อข่ายของสถานพยาบาลนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นห้องผู้ป่วยพิเศษหรือเวชภัณฑ์พิเศษนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
2.กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 
ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ซึ่งผู้ประกันตนหรือผู้เกี่ยวข้องต้องแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้รับผิดชอบการรักษาพยาบาลต่อไป สำหรับผู้ประกันตนที่ไม่มีเงินสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ในกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ควรแสดงบัตรรับรองสิทธิต่อสถานพยาบาลก่อนการรักษาพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตน หรือผู้ประกันตนที่สำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนจากสำนักงานประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ของผู้ใช้สิทธิประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต เนื่องจากการทำงาน รวมถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตรชราภาพ และการว่างงาน ตามพระราชบัญญติประกันสังคม ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิในแต่ละกรณี ได้แก่
1.กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย 
เนื่องจากการทำงานผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากเป็นกรณีฉุกเฉินไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุดและควรให้ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ให้รับทราบสำหรับค่ารักษาพยาบาล ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงแรก 
2.กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– ได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายเงินไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ รายเดือนร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบตลอดชีวิต- ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 40,000 บาท 
3.กรณีเสียชีวิตอันมิใช่เนื่องจากการทำงานผู้ประกันตนจำได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– ผู้จัดการศพ จะได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท- ทายาทของผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินสงเคราะห์ ดังนี้3.1. กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้เสียชีวิตหนึ่งเดือนครึ่ง3.2. กรณีที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยของผู้เสียชีวิต 5 เดือน 4.กรณีคลอดบุตร 
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ ผู้ประกันตนหญิง
– ได้รับค่าคลอดบุตร 12,000 บาท- ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน 
ผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
– ใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง โดยจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 12,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา- ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง ซึ่งขอแนะนำให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร12,000 บาท แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ครั้งโดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร แล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก 5.กรณีสงเคราะห์บุตร 
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์เบิกได้คราวละไม่เกิน 2 คน 6.กรณีชราภาพ 
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– เงินบำนาญชราภาพ ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงโดยจะได้รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต- เงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับเมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายโดยจะได้รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว 7.กรณีว่างงาน 
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ
– ผู้ประกันตนที่ว่างงานต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานและยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ณ สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับจากวันแรกที่ว่างงาน- ได้รับการจัดหางานให้ใหม่ตามความเหมาะสม- จะได้รับการฝึกฝีมือแรงงานตามความจำเป็นต่องานใหม่ที่จะได้รับแต่อย่างไรก็ตามการเกิดสิทธิประโยชน์ในกรณี ต่าง ๆ ข้างต้นนั้นยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในแต่ละกรณีด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันไป 
———————————–
พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ 22 มิ.ย.58 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศ (20 ต.ค.58) นายโกวิท สัจจวิเศษ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม โฆษกเฉพาะกิจการประชาสัมพันธ์ร่างกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติ ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 เปิดเผยว่า ตามที่ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วาระที่ 3 และนายกรัฐมนตรีได้นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งมีผลบังคับใช้ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ 20 ตุลาคม 2558 ซึ่งสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนจะได้รับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มีสาระสำคัญในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น ดังนี้
กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เพิ่ม ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ แก่ผู้ประกันตน ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ (ปัจจุบัน : มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย)
กรณีคลอดบุตร
มีสิทธิได้รับไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ปัจจุบัน มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง เหมาจ่าย ครั้งละ 13,000 บาท + เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน
กรณีสงเคราะห์บุตร
มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน (ปัจจุบันได้รับสำหรับบุตรอายุ 0 – 6 ปี คราวละ ไม่เกิน 2 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาท ต่อคน
กรณีว่างงาน
เพิ่ม ให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ผู้ประกันตน กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น กรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม (ปัจจุบัน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออก) ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้ทุพพลภาพ
เพิ่ม สิทธิประโยชน์กรณีตายแก่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง/ ผู้ทุพพลภาพ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ (ปัจจุบัน ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีตาย ) ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย เพิ่ม : สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น (ปัจจุบัน ไม่ได้รับความคุ้มครอง)
กรณีทุพพลภาพ
เพิ่ม ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของร่างกายมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ (ปัจจุบัน : ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ) ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต (ปัจจุบัน : ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 15 ปี)
กรณีตาย
เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย แก้ไข ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่สามสิบหกเดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยยี่สิบเดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง รายเดือน ที่คำนวณได้ตามมาตรา 57 คูณด้วยสี่ ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้ว ตั้งแต่หนึ่งร้อยยี่สิบเดือนขึ้นไปให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับ ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายเดือนที่คำนวณได้ตามมาตรา 57 คูณด้วยสิบสอง ปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์
เพิ่ม ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วง หน้าได้ โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท หากไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุจะให้สิทธิแก่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา (ปัจจุบัน : ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท (บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส) ไม่สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยเงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน)
ขยายระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจาก 1 ปี เป็น 2 ปี (ปัจจุบัน : ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี) ขยายความคุ้มครอง
ขยายความคุ้มครองลูกจ้างส่วนราชการ ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ (ปัจจุบัน : คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน)
ขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ (ปัจจุบัน : ไม่คุ้มครอง)
ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
1. คณะกรรมการตรวจสอบ กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลความโปร่งใส ได้มาตรฐาน โดยหลักเกณฑ์ วิธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกันสังคม (ปัจจุบัน : ไม่มี)
2. คณะกรรมการประกันสังคม กำหนดวิธีการได้มา คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม และต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปัจจุบัน : ไม่มีการกำหนดวิธีการได้มา คุณสมบัติลักษณะต้องห้ามและการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)
3. ที่ปรึกษา มาจากการสรรหาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ (ปัจจุบัน : มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรี)
4. คณะกรรมการการแพทย์ กำหนดวิธีการได้มา โดยให้มาจากการสรรหาตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกันสังคม กำหนดคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการการแพทย์ (ปัจจุบัน : ไม่มีการกำหนดวิธีการได้มา คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม)
การบริหารการลงทุน กำหนดให้อสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานประกันสังคมได้มาจากการจัดหาผลประโยชน์ ของกองทุนไม่เป็นที่ราชพัสดุ จะมีผลทำให้สำนักงานประกันสังคมสามารถนำเงินกองทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทน สูงได้ (ปัจจุบัน : ไม่สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ เพราะจะทำให้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ตกเป็นที่ราชพัสดุ) เงินสมทบ
1. รัฐบาลสามารถออกประกาศลดหย่อนการออกเงินสมทบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน และนายจ้างให้ได้รับผ่อนปรนการเก็บเงินสมทบในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติ (ปัจจุบัน : ไม่สามารถลดอัตราเงินสมทบเฉพาะพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติได้หากจะลดอัตราเงิน สมทบ จะต้องประกาศลดอัตราเงินสมทบทั่วประเทศ)
2. กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (ปัจจุบัน : ไม่ได้กำหนดในกฎหมายให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบแต่ปัจจุบันรัฐบาลจัดสรรงบ ประมาณให้เป็นเงินอุดหนุนสำหรับจ่ายเป็นเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40)
ที่มา sso.go.th

 

สิทธิประกันสังคม ใช้ได้เมื่อไหร่
สิทธิประกันสังคม ใช้ได้เมื่อไหร่

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )