รับทำบัญชี.COM | ปิดกิจการจดทะเบียนเลิกบริษัทปิดบริษัท?

Click to rate this post!
[Total: 37 Average: 5]

ขั้นตอนการเลิกบริษัท

1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกําหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกําหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทํากิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทํากิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย

1.2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
(1) ผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท
การเลิกและชําระบัญชีบริษัทจํากัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดย
ดําเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวน
หุ้นที่เข้าประชุม

1.3 เลิกโดยคําสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ
(1) ทําผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทําผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปีนับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทําการถึง 1 ปี
(3) การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
(4) จํานวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน (5) เมื่อมีเหตุที่ทําให้บริษัทเหลือวิสัยที่จะดํารงอยู่ได้

คําขอจดทะเบียนเลิกและอํานาจของผู้ชําระบัญชีของบริษัท จะต้องลงลายมือชื่อโดยผู้ชําระบัญชี ซึ่ง
ได้แก่กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก
การแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีของบริษัท หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุก
คนของบริษัทต้องเป็นผู้ชําระบัญชี โดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชําระบัญชีมีหลายคน ผู้ชําระบัญชีทุกคนต้อง
กระทําการร่วมกัน เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กําหนดอํานาจไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่บริษัทไม่ได้กําหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชําระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการ
บางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชําระบัญชีจะต้องให้ที่
ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชําระบัญชีหรือกําหนดอํานาจของผู้ชําระบัญชี
เมื่อบริษัทจํากัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชําระบัญชี การเลิกบริษัทกรณี
อื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชี เพื่อดําเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชําระบัญชีของ
บริษัทให้เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชําระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการได้
ออกไปในการดําเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกําไรในระหว่างผู้ถือหุ้น
และจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่
บริษัท กรรมการหรือผู้ชําระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้น จะต้องทําการฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันเสร็จสิ้นการชําระ
บัญชี

2. ผู้ชําระบัญชีจัดทําคําขอและยื่นคําขอจดทะเบียนเลิกบริษัท

3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง (บอกกล่าวการเลิก)

4. ส่งคําบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)

ขั้นตอนตาม 2-4 ผู้ชําระบัญชีต้องดําเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท

ข้อมูลที่ต้องใช้

1.วันที่เลิกบริษัท
2.ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และอายุของผู้ชําระบัญชี
3.อํานาจผู้ชําระบัญชี
4.ที่ตั้งสํานักงานของผู้ชําระบัญชี

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก

1. แบบคําขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชําระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
3. สําเนาคําสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้เลิก)
4. สําเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชําระบัญชีหรือกําหนดอํานาจผู้ชําระ
บัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอํานาจทําการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือ
ชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชําระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือ
กําหนดอํานาจของผู้ชําระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อํานาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
5. แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานของผู้ชําระบัญชี และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
(ใช้เฉพาะกรณีที่สํานักงานของผู้ชําระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
6. สําเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
7. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้ชําระบัญชีทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจําตัว*
8. สําเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอํานาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอํานาจ
ให้บุคคลอื่นดําเนินการแทนโดยทําหนังสือมอบอํานาจและผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท)
สําเนาเอกสารประกอบคําขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรอง
ความถูกต้อง ยกเว้นสําเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็น
เจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download จาก www.dbd.go.th

การลงลายมือชื่อในคําขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
1. กรณีที่กรรมการทุกคนเข้าเป็นผู้ชําระบัญชี อํานาจผู้ชําระบัญชีจะต้องเป็นไปตามอํานาจกรรมการ
ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ดังนั้น ในการลงลายมือชื่อในคําขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1) จะต้อง
ลงลายมือชื่อตามอํานาจ
2. กรณีที่ผู้ชําระบัญชีเป็นกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการเพียงคนเดียว
ให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อเพียงผู้เดียว
3. กรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ชําระบัญชีหลายคน และไม่ได้กําหนดอํานาจผู้ชําระบัญชีไว้ ก็ให้ผู้ชําระบัญชี
ทุกคนลงลายมือชื่อร่วมกัน

การลงลายมือชื่อและการกรอกข้อมูลในรายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช. 2)
ให้ระบุรายละเอียดของผู้ชําระบัญชีทุกคนพร้อมทั้งให้ลงลายมือชื่อ
ค่าธรรมเนียม
1. การจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชําระบัญชีบริษัทจํากัด 500 บาท
2. หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
3. รับรองสําเนาเอกสาร หนาละ 50 บาท

สถานที่จดทะเบียนเลิกกิจการ

1. สํานักงานแห่งใหญ่ที่จดทะเบียนเดิมตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียน
ธุรกิจกลางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนน นนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง
6 เขต *ดูรายละเอียด*
2. สํานักงานแห่งใหญ่ที่จดทะเบียนตั้งอยู่จังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานครยื่นจดทะเบียนได้ที่
สํานักงานพาณิชย์จังหวัดที่บริษัทมีสํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ รวมถึงสาขาของสํานักงานพาณิชย์จังหวัด ในพื้นที่
เศรษฐกิจสําคัญอีก 4 แห่ง คือ แม่สอด เมืองพัทยา หัวหิน และเกาะสมุย
3. ยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ที่เว็บไซต
https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
ดูตัวอย่างการกรอกแบบพิมพ์

สรุปโดยย่อ

ต้องการปิด บริษัทจำกัด แต่ตามผู้ถือหุ้นอีก 1 คนไม่เจอ

ถ้าผู้ถือหุ้นลงมติให้เลิกบริษัทมีหุ้นรวมไม่น้อยกว่า 3 ใน 4

ขั้นตอนการเลิกบริษัท

1.บริษัทจะเลิกกัน
2.ผู้ชําระบัญชีจัดทําคําขอและยื่นคําขอจดทะเบียนเลิกบริษัท
3.ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง (บอกกล่าวการเลิก)
4.ส่งคําบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)

บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
3 เลิกโดยคําสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ

ขั้นตอนการเลิกบริษัท
ขั้นตอนการเลิกบริษัท