รับทำบัญชี.COM | ฟาร์มตัวอย่างบันทึกบัญชีเกษตรกรรมยุคใหม่?

การบันทึกบัญชีฟาร์ม

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี ธุรกิจ ฟาร์ม ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) 

  • ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • Email : 9622104@gmail.com
  • Line Official Account : @e200
  • ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน 

การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มอย่างเป็นระบบระเบียบในรูปแบบที่เรียกว่าเป็น \”การบันทึกบัญชีฟาร์ม\” นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับเกษตรกรหลังจากที่ธุกิจฟาร์มได้เริ่มดำเนินกิจการก็ควรต้องมีการลงบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายทางการเงินตลอดเวลาที่มีตัวเลขเคลื่อนไหว แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักละเลยกับการบันทึกข้อมูลต่างๆเหล่านี้ลงในบัญชีของกิจการฟาร์มของตน ทำให้ขาดข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางแผนและการจัดทำงบประมาณขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบการวางแผนการผลิต รวมถึงข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจเลือกกิจการที่ตนควรจะผลิต เป็นดัน

การบันทึกบัญชีฟาร์มเสมือนเป็นการรวบรวมข้อมูลทางตัวเลขทั้งหมดของฟาร์มและสามารถนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มต่อไปได้ ว่ามีจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้การทำธุรกิจฟารมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความหมายและประโยชน์ของการบันทึกบัญชีฟาร์ม

คำว่า “การบัญชี” ที่สมาคมผู้สอบบัญชีอนุญาตของสหรัฐอเมริกา (AICPA) ได้ให้คำจำกัดความไว้คือ \”การบัญชี เป็นศิลปะของการจดบันทึก การจัดหมวดหมู่ และสรุปผลของรายการ และเหตุการณ์เกี่ยวกับการเงิน รวมทั้งการวิเคราะห์และแปรความหมายจาก ผลนั้นด้วย”ซึ่งเราอาจสรุปประโยชน์ของการบันทึกกิจการฟาร์มได้ดังนี้

  1. เกษตรกรจะทราบฐานะทางการเงินของตนเองว่าเป็นอย่างไร และเงินลงทุนที่ตนมีอยู่โดยพิจารณาจากเงินสด และบันทึกบัญชีทรัพย์สินคงเหลือ
  2. เกษตรกรจะทราบถึงรายรับรายจ่าย ที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มของ ตน ทำให้ทราบผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายรับรายจ่าย อีกทั้งชวยพิจารณาตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้
  3. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มในแต่ละรอบปีการผลิต ว่าดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
  4. ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปงานฟาร์ม ตัดสินใจการผลิต ตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดของฟาร์ม ตลอดจนตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตต่าง ๆ ในฟาร์ม
  5. สามารถสรุปรายงานต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ เพื่อแสดงสถานะทางการเงิน (Financial Statement) ต่อสถาบันการเงินต่าง ๆ เมื่อต้องการสินเชื่อ
  6. เป็นการแยกข้อมูลที่เกิดจากการทำฟาร์มออกจากข้อมูลในควัวเรือนของผู้ดำเนินงานฟาร์ม เพื่อสามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มได้อย่างแท้จริง
  7. ทำให้จัดสรรผลตอบแทนที่ได้จากการทำฟาร์มให้แก่ผู้ร่วมดำเนินการได้อย่าง ยุดิธรรม ในกรณีที่อาจมีผู้ร่วมรับผลประโยชน์จากการทำธุรกิจฟาร์มด้วยกัน
  8. ทำให้การเสียภาษีต่อรัฐบาล เป็นไปโดยรวดเร็ว ถูกต้อง เนื่องจากมีหลักฐานทางตัวเลขเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้

การบันทึกบัญชีฟาร์มหรือจะเรียกว่าการบันทึกกิจการฟาร์มก็ได้ในที่นี้นั้นจะเป็นการแสดงวิธีการบันทึกบัญชีอย่างง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ และไม่ใช้วิธีการทางบัญชีที่มีความชับช้อน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำฟาร์มโดยทั่วไปของเกษตรกรในประเทศไทยกล่าวคือเกษตรกรจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในฟาร์มต้องใช้แรงกายมากทำให้เหนื่อยล้า ไม่สามารถทุ่มเทให้กับการบันทึกบัญชีใด้มากนัก ประกอบกับความรู้ทางด้านการบัญชีมีน้อย ถ้าเพียงสามารถบันทึกได้และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ถือว่าเป็นการบันทึกบัญชีฟาร์มที่มีประสิทธิภาพแล้ว

ประเภทของบันทึกบัญชีฟาร์ม

ประเภทของการบันทึกบัญชีฟาร์มตามในทัศนะของนักวิชาการหลายท่านอาจจะแบ่งประเภทของการบันทึกบัญชีไว้แตกต่างกันเช่น 3 ประเภทบ้าง 4 ประเกทบ้าง หรือ 5 ประเภทบ้าง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ใช้บันทึกและวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเดียวกันและวัตถุประสงค์อันเดียวกัน สำหรับในตำราเล่มนี้ จะแบ่งประเภทของบันทึกบัญชีฟาร์มไว้เป็น 5ประเภทตามลักษณะการบันทึกกิจการฟาร์ม ดังนี้

  1. บันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์ม
  2. บันทึกปัญชีรายได้ฟาร์ม
  3. บันทึกปัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม
  4. บันทึกบัญชีรายการลูกหนี้ฟารม
  5. ปันทึกบัญชีทรัพย์สินฟาร์ม

การบันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์ม

เป็นการบันทึกรายจ่ายทุกชนิดที่เกิดขึ้นกับฟาร์ม โดยแยกประเภทของรายจ่ายไว้ดังตารางที่ 43 โดยปกติรายจ่ายทุกประเภทจะบันทึกไว้ในตารางเดียวกัน แต่อาจจะแยกรายละเอียดต่อไปอีก เช่น เป็นรายจ่ายจากพืชชนิดไหน จากสัตว์ชนิดไหน ซึ่งค่อนช้างชับช้อนขึ้น เพราะรายจ่ายบางชนิดใช้ร่วมกันไประหว่างพืชหลายชนิด หรือระหว่างพืชกับสัตว์ ซึ่งอาจพยายามแยกได้เหมือนกันโดยใช้อัตราส่วนของการใช้งาน มาแยกรายจ่ายรวมนั้นออกเป็นส่วน ๆการจะบันทึกรายจ่ายของฟาร์มให้ละเอียดเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานฟาร์มของแต่ละฟาร์ม

ถ้าฟาร์มต้องการวิเคราะห์รายจ่ายในแต่ละกิจการ ก็ต้องแยกประเภทของรายจ่ายเป็นแต่ละกิจการ เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับหมู รายจ่ายเกี่ยวกับเป็ดรายจ่ายของข้าวโพด เป็นตัน หรือถ้าฟาร์มต้องการวิเคราะห์รายจ่ายรวมของฟาร์มเลย ก็ไม่ต้องแยกประนาทของรายจ่ายให้ละเอียดนักรายจ่ายของ

ฟาร์มอาจประกอบด้วยรายการดังนี้

  1. ค่าซื้อปศุสัตว์
  2. ค่าอาหารสัตว์
  3. ค่าพันธุ์พืช
  4. ค่าปุย
  5. ค่ายาปราบศัตรูพืช
  6. ค่าดอกเบี้ยและเงินต้น
  7. ค่าจ้างแรงงาน
  8. ค่าสวัสดิการคนงาน
  9. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
  10. ค่าซื้อเครื่องจักรเครื่องมือ
  11. ค่าสร้างและซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์
  12. ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการขาย
  13. ค่าซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือ
  14. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

เมื่อเกษตรกรแบ่งหมวดหมู่หรือแบ่งกลุ่มของรายจ่ายทั้งหมดในฟาร์มของตนเองได้แล้วก็นำมาบันทึกลงในบันทึกบัญชีรายจ่ายฟาร์มซึ่งได้แบ่งหมวดหมู่ตามรายจ่ายโดยแบ่งเป็นช่องๆตามแนวนอนไปเรื่อย ๆ จนครบ เมื่อมีรายการรายจ่ายเกิดขึ้นเมื่อใดก็ให้ลงไว้ในหมวดใดหมวดหนึ่ง ดังแสดงในตาราง

ตารางที่ 43 แสดงการบันทึกบัญชีรายจ่ายของฟาร์ม

รายการที่ วัน เดือน ปี ค่าซื้อ

ปศุสัตว์

ค่าอาหาร

สัตว์

ค่าพันธุ์

พืช

ค่าปุ๋ย ค่าใช้จ่าย

เบ็ดเตล็ด

1 3 พ.ค. 53 2,000          
2 6 พ.ค. 53     1,000      
3              
4              
             
รวม 2,000 xxx 1,000 xxx xxx xxx

หรือหากเกษตรกรต้องการที่จะแยกรายการของรายจ่ายแต่ละหมวดหมู่ก็สามารถหากเห็นว่าต้องการเพิ่มรายการอื่นเพิ่มเติม เช่น มีผู้จ่าย(ผู้ไปซื้อสินค้า)หลายคน ก็สามารถทำได้โดยแยกเป็นแผ่นๆ ตามรายการรายจ่ายไปเรื่อย ๆ แต่ให้รวมไว้ในเล่มเดียวกัน

ตารางที่ 44 แสดงบันทึกบัญชีรายจ่ายของฟาร์ม

แผ่นที่ 1

รายการที่ วัน เดือน ปี ค่าซื้อปศุสัตว์ ชื่อผู้จ่าย หมายเหตุ
1        
2        
3        
4        
       
รวม xxx   xxx

แผ่นที่ 2

รายการที่ วัน เดือน ปี ค่าอาหารสัตว์ ชื่อผู้จ่าย หมายเหตุ
1        
2        
3        
4        
       
รวม xxx   xxx

แผ่นที่ 3

รายการที่ วัน เดือน ปี ค่าพันธ์พืช ชื่อผู้จ่าย หมายเหตุ
1        
2        
3        
4        
       
รวม xxx   xxx

การบันทึกบัญชีรายได้ฟาร์ม

การบันทึกรายได้ไม่ซับซ้อนเหมือนการบันทึกรายจ่าย สามารถแยกประเภทของรายได้ออกได้ซัดเจน ดังนี้

  1. การบันทึกรายได้จากสัตว์
  2. การบันทึกรายได้จากพืช
  3. การบันทึกรายได้อย่างอื่นเกี่ยวกับฟาร์ม

ลักษณะการบันทึกรายได้ของฟาร์มพิจารณาได้จากตารางที่ 45, 46 และ 47

ตารางที่ 45 แสดงการบันทึกบัญชีรายได้จากสัตว์

รายการที่ วัน เดือน ปี ชนิดของสัตว์ จำนวนขาย ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน หมายเหตุ
1            
2            
3            
4            
           
รวม xxx  

ตารางที่ 46 แสดงการบันทึกบัญชีรายได้จากพืช

รายการที่ วัน เดือน ปี ชนิดของพืช จำนวนขาย ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน หมายเหตุ
1            
2            
3            
4            
           
รวม xxx  

ตารางที่ 47 แสดงการบันทึกรายได้อย่างอื่นเกี่ยวกับฟาร์ม

รายการที่ วัน เดือน ปี ชนิดของรายได้ จำนวนเงิน หมายเหตุ
1        
2        
3        
4        
       
รวม xxx  

การบันทึกบัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม

หมายถึง การบันทึกว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้อยู่เท่าไร รายละเอียดของเจ้าหนี้แต่ละรายเป็นอย่างไร เช่น การที่ฟาร์มกู้ยืมเงินผู้อื่นมา แสดงว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้หรือการที่ฟาร์มซื้อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ โดยไม่จ่ายเงินสด ก็แสดงว่าฟาร์มมีเจ้าหนี้ ซึ่งจะต้องนำมาบันทึกในรายการเจ้าหนี้ฟาร์มทั้งสิ้น

ตารางที่ 48 แสดงการบันทึกบัญชีรายการเจ้าหนี้ฟาร์ม

รายการที่ วัน เดือน ปี ชื่อเจ้าหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระ หมายเหตุ
1            
2            
3            
4

5

6

           
           
รวม xxx  

การบันทึกบัญชีรายการลูกหนี้ฟาร์ม

เป็นการบันทึกว่าฟาร์มมีลูกหนี้อยู่เท่าไร รายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายเป็นอย่างไรเช่น การที่ฟาร์มให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน หรือการที่ฟาร์มขายผลผลิตและทรัพย์สินของฟาร์มออกไปโดยยังไม่ได้รับชำระเงิน ซึ่งแสดงว่าฟาร์มมีลูกหนี้เกิดขึ้น จึงต้องบันทึกลงในรายการลูกหนี้ฟาร์ม

ตารางที่ 49 แสดงการบันทึกรายการลูกหนี้ฟาร์ม

รายการที่ วัน เดือน ปี ชื่อลูกหนี้ จำนวนหนี้ อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระ หมายเหตุ
1            
2            
3            
4

5

6

           
           
รวม xxx  

การบันทึกบัญชีทรัพย์สิน(คงเหลือ)ฟาร์ม

เป็นการบันทึกรายการทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดที่คงเหลืออยู่ในฟาร์ม การบันทึกทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มจะทำให้ทราบว่า ในรอบปีการผลิตของฟาร์มทรัพย์สินต่าง ๆ ในฟาร์มได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และมีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ผลการทำฟาร์มซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป สิ่งสำคัญในการบันทึก ทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มอยู่ที่การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิดให้มีความเหมาะสม เพื่อจะได้แสดงสถานะของฟาร์มอย่างแท้จริง ในการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิด มีวิธีการต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป และหลังจากที่ได้สำรวจทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งหมดในฟาร์ม และทราบวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินแต่ละชนิดแล้ว ควรสรุปแสดงรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ ดังตารางที่ 50 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป

ตารางที่ 50 แสดงการบันทึกบัญชีทรัพย์สินคงเหลือฟาร์ม

รายการ มูลค่าเมื่อต้นปีการผลิต (บาท) มูลค่าเมื่อปลายปีการผลิต (บาท)
1.           หมวดมี่ดิน    
                1.1 ที่ปลูกไม้ผล    
                1.2 ที่นา    
                1.3 ที่ปลูกพืชไร่    
   
2.           หมวดเครื่องจักรเครื่องมือ    
                2.1 แทรกเตอร์    
                2.2 รถบรรทุก    
2.3       เครื่องสีข้าวโพด

3.           หมวดสิ่งปลูกสร้าง

3.1 โรงรีดนมวัว

3.2 ยุ้งฉาง

3.3 รั้วฟาร์ม

   
รวม    

การเปรียบเทียบมูลค่าของทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มเมื่อต้นปีกับปลายปี จะทำให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินคงเหลือฟาร์มระหว่างปีมีการผลิตเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งจะใช้ประกอบการวิเคราะห์ รายการแสดงรายได้ฟาร์ม

(Farm Income Statement) ต่อไป

วิธีการประเมินมูลค่าของทรัพย์สิน(ที่คงเหลือ)

1.ประเมินโดยใช้ราคาขายสุทธิ

ประเมินโดยใช้ราคาขายสุทธิ (Net Selling Price) หมายถึง ราคาตลาดของทรัพย์สินนั้น หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการขายอกแล้ว ทรัพย์สินที่จะประเมินราคาด้วยราคาขายสุทธิ นี้ ควรเป็นทรัพย์สินที่ฟาร์มผลิตขึ้นมาเพื่อขาย เช่น พืชหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฟาร์มแต่ยังไม่ได้ขาย เช่น ฟาร์มมีลูกไก่อยู่ 100 ตัว ราคาตลาดตัวละ 5 บาท ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง ค่าบรรจุหีบห่อ ฯลฯ ตกตัวละ 1 บาท ดังนั้นมูลค่าของลูกไก่จึงเท่ากับ 400 บาท

2.ประเมินโดยใช้ราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อม

ประเมินโดยใช้ราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อม (Cost Minus Depreciation) คือ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยหักค่าเสื่อมที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินนั้นมาตลอดปี ออกจากราคาทุนเมื่อต้นปีการผลิต วิธีนี้เหมาะสมสำหรับทรัพย์สินที่ใช้ดำเนินงาน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือโรงเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในฟาร์ม ที่มีอายุการใช้งานน้อย ตลอดจนสัตว์ที่ใช้ทำพันธุ์ 

3.ประเมินโดยใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด

ประเมินโดยใช้ราคาทุนหรือราคาตลาด (Cost or Market Price) แล้วแต่ว่าราคาไหนจะต่ำกว่ากัน ราคาทุน หมายถึง ราคาที่ซื้อทรัพย์สินนั้นมา วิธีนี้เหมาะสมสำหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อมา ซึ่งเหลือหรือเก็บไว้ใช้ในฤดูการผลิตต่อไป เช่น ปุ้ย ยาปราบศตรูพืช อาหารสัตว์ เป็นต้น การที่ต้องเลือกราคาใดราคาหนึ่งต่ำกว่ากันนั้น เพื่อประเมินราคาทรัพย์สินประเภทนี้สูงเกินไป ถ้าราคาตลาดในขณะประเมินของทรัพย์สินเหล่านี้ตกต่ำลง

4.ประเมินโดยใช้ราคาทดแทนกันด้วยค่าเสื่อม

ประเมินโดยใช้ราคาทดแทนกันด้วยค่าเสื่อม (Replacement Cost Minus Depreciation) ราคาทดแทน หมายถึง ราคาที่จะต้องซื้อหรือสร้างสิ่งของนั้นขึ้นมาใหม่ วิธีนี้เหมาะสมสำหรับสิ่งปลูกสร้างต่าง 1 ในฟาร์มที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น ในระยะเวลา 20 ปีราคาวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในสิ่งปลูกสร้างอาจมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก การจะประเมินมูลค่าทรัพย์สินประเภทนี้ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น จึงต้องเปรียบเทียบว่าในภาวะปัจจัยสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ฟาร์มมีอยู่ควรจะมีมูลค่าเท่าไร แล้วจึงหักค่าเสื่อมในรอบปีการผลิต แต่ถ้าระดับราคาวัสดุต่าง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ก็อาจประเมินมูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ด้วยวิธีที่ 2 ก็ได้

5.ประเมินโดยใช้ราคาตลาด

ประเมินโดยใช้ราคาตลาด (Market Price) มักใช้กับการประเมินราคาที่ดินของฟาร์ม และเพื่อป้องกันการประเมินราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านราคาอย่างผิดปกติในบางปี จึงอาจใช้ราคาเฉลี่ยในระยะยาวหลาย ๆ ปี เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นหลักในการประเมินราคาที่ดิน

การหาค่าเสื่อมของทรัพย์สิน

ค่าเสื่อม (Depreciation) ในภาษาทางวิชาการหรือในภาษาที่ชาวบ้านหรือเกษตรกรอาจเรียกว่า “ค่าสึกหรอ”นั้น หมายความถึง มูลค่าของทรัพย์สินที่สูญเสียไปอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพย์สินแต่ละชนิดนั้น เมื่อทรัพย์สินถูกใช้เป็นเวลานานขึ้น ค่าเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเรื่อย และมูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้จะน้อยลงเรื่อย จนไม่มีมูลค่าเลย หรือจนกระทั่งทรัพย์สินนั้นใช้งานต่อไปไม่ได้เหลือแต่มูลค่าซาก (Salvage Value)

การสูญเสียมูลค่าของทรัพย์สินแต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ อายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น กับ ลักษณะของการใช้ทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่คงทนถาวร เช่น สิ่งปลูกสร้าง โรงเรือนต่าง ๆ มักจะสูญเสียมูลค่าไปตามอายุการใช้งาน แต่ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรต่าง ๆ เช่น รถบรรทุก การสูญเสียมูลค่าของทรัพย์สินมักจะเป็นไปตามลักษณะการใช้งาน รถบรรทุกชนิดและขนาดเดียวกัน 2 คัน ในระยะเวลาเท่ากัน คันหนึ่งใช้งานมาแล้ว 20,000 กิโลเมตร อีกคันหนึ่งใช้งาน 2,000 กิโลเมตรมูลค่าของรถบรรทุกที่เหลือหลังจากการใช้งานในระยะเวลาเดียวกันนั้น ย่อมไม่เท่ากัน ซึ่งมูลค่าของรถบรรทุกที่สูญเสียไปนั้น ก็คือ ค่าเสื่อม นั่นเอง ค่าเสื่อม ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินแต่ละชนิดในฟาร์มนั้น ถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการผลิตอย่างหนึ่งของฟาร์มด้วย การแสดงต้นทุนการผลิตของพืชหรือสัตว์ชนิดต่าง 1 ในฟาร์มตลอดจนการแสดงสถานะทางการเงินของฟาร์ม จึงต้องมีรายการของค่าเสื่อมรวมอยู่ด้วย

วิธีการคำนวณค่าเสื่อม ที่นิยมใช้กันมี 3 วิธีดังต่อไปนี้

1.การคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี

การคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี วิธีนี้เรียกกันว่า \”The Straight-Line Method\” คำนวณค่าเสื่อม โดยเอาราคาทุน (Original Cos!) ของทรัพย์สินนั้นหักด้วยค่าซาก (Salvage Value) แล้วหารด้วยอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้น

2.การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง

การคำนวนค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง วิธีนี้เรียกกันว่า \”The Declining – balance Method\” หรือ บางตำราเรียกว่า \”Double-declining Balance Method\” วิธีนี้จะได้ค่าเสื่อมในปีแรกประมาณไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนร้อยละของการหักค่าเสื่อม ที่คำนวณโดยวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี วิธีคำนวณมีวิธีคิดได้ 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 วิธีนี้ไม่ต้องหักค่าซากออกจากราคาทุนก่อน เพราะค่าซากจะถูกกำหนดขึ้นเองในภายหลังเมื่อหักค่าเสื่อมแต่ละปีจนครบอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นแล้ว สำหรับจำนวนร้อยละที่ใช้หักค่าเสื่อมของทรัพย์สินวิธีนี้ โดยปกติจะใกล้เคียงและไม่เกิน 2 เท่าของวิธีแรก จึงใช้ตัวเลขร้อยละ 2 เท่าของวิธีแรก เป็นร้อยละที่แน่นอนทุกปีคูณเข้ากับมูลค่าที่เหลืออยู่

แบบที่ 2  วิธีนี้เมื่อคำนวณออกมาแล้วจะได้ตัวเลขที่เท่ากันกับวิธีคิดในแบบที่ 1 ใช้หลักการเดียวกันว่าคำเสื่อมในปีแรกๆนั้น ควรจะหักค่าเสื่อมไว้มากหน่อย แล้วค่อยลดลงในปีหลังๆ เป็นวิธีการที่กำหนดอัตราค่าเสื่อมคิดเป็นตัวเลขที่เท่ากันทุกๆปีคูณด้วยมูลค่าคงเหลือของทรัพย์สินเช่นกัน แต่ที่มาของตัวเลขต่างกัน ดังนี้

1.การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนอายุการใช้งานคงเหลือ

การคำนวณค่าเสื่อมโดยการลดค่าเสื่อมตามอัตราสวนอายุการใช้งานคงเหลือ วิธีนี้เรียกว่า \”The Sum Of The Years Digits Method\” มีวิธีการคำนวณค่าเสื่อม ดังนี้

  • หักมูลค่าต้นของทรัพย์สินด้วยมูลค่าซาก
  • คูณผลที่ได้จากข้อ 3.1 นั้นด้วยอายุการใช้งานคงเหลือแล้วหารด้วยผลรวม ของอายุการใช้งานคงเหลือทั้งหมด

หลักการพิจารณาข้อแตกต่างวิธีการหาค่าเสื่อม

การพิจารณาตารางที่ 55 พอจะสรุปข้อแตกต่างในการคำนวณค่าเสื่อม ทั้ง 3 วิธีได้ดังนี้

2.วิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี ค่าเสื่อมจะถูกหักเท่ากันทุกปี ส่วนวิธีการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง (Declining Balance) ค่าเสื่อมจะลดลงเรื่อย ๆ ในจำนวนที่น้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน คือ

  • ค่าเสื่อม ในปีที่ 2 จะลดลงจากปีที่ 1 = 880 – 528 = 352 บาท
  • ค่าเสื่อม ในปีที่ 3 จะลดลงจากปีที่ 2 = 528 – 317 = 211 บาท
  • ค่าเสื่อม ในปีที่ 4 จะลดลงจากปีที่ 3 = 317 – 190 = 127 บาท
  • ค่าเสื่อม ในปีที่ 5 จะลดลงจากปีที่ 4 = 190 – 114 = 76 บาท

จะเห็นว่า ค่าเสื่อม จะลดลงในจำนวนที่น้อยลงเรื่อย ๆ คือ จาก 352 เป็น 211 เป็น127 จนกระทั่งปีสุดท้ายคำเสื่อม ในปีที่ 5 เป็น 76 บาท สำหรับ วิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือ ( Sum of The Years Digits) ค่าเสื่อมจะลดลงเรื่อย ในจำนวนที่เท่ากันทุกปี คือ

  • ค่าเสื่อมในปีที่ 2 จะลดลงจากปีที่ 1 = 666.66 – 533.33 = 133.33 บาท
  • ค่าเสื่อมในปีที่ 3 จะลดลงจากปีที่ 2 = 533.33 – 400.00 = 133.33 บาท
  • ค่าเสื่อมในปีที่ 4 จะลดลงจากปีที่ 3 = 400.00 – 266.67 = 133.33 บาท
  • ค่าเสื่อมในปีที่ 5 จะลดลงจากปีที่ 4 = 266.67 – 133.33 = 133.33 บาท

3.วิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี และวิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือหลังจากหักค่าเสื่อมครบทุกปีแล้ว มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือจะเท่ากับค่าซากที่ได้ประเมินไว้ตั้งแต่แรก แต่แบบการลดค่าเสื่อมร้ายปีในปีหลังจะได้มูลค่าทรัพย์สินที่เหลือหรือค่าซากจากการถูกกำหนดขึ้นเองในภายหลัง โดยเขาคำาเสื่อมรวมทั้งหมดหักออกจากราคาทุน จึงเท่ากับ 2,200 -2,029 = 171 บาท

ค่าเสื่อม ของทรัพย์สินแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ทรัพย์สินประเภทคงทนถาวร เช่น ริ้วหรือโรงเรือนต่าง 1 ในฟาร์ม ค่าเสื่อม มักจะไม่แตกต่างกันมากในแต่ละปี การคำนวณค่าเสื่อโดยวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี จึงเหมาะสมสำหรับทรัพย์สินประเภทนี้ แต่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น เครื่องจักร รถยนต์ มูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้จะลดลงมากในระยะแรกหลังจากซื้อมาใช้ การคำนวณค่าเสื่อม ของทรัพย์สินประเภทนี้จึงมักใช้วิธีการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลัง (Declining Balance) หรือ วิธีการลดค่าเสื่อมตามอัตราส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือ (Sum of the Years  Digits) การคำนวณค่าเสื่อมตามที่กล่าวมาทั้ง 3 วิธีนี้ ค่าเสื่อมจะกระจายไปตามระยะเวลาของอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นการใช้หน่วยของเวลา (Time Unit) มาพิจารณาค่าเสื่อม

แต่ทรัพย์สินบางชนิดค่าเสื่อมะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของทรัพย์สินนั้น ถ้าปีใดใช้งานมากค่าเสื่อมก็มาก ปีใดใช้งานน้อยค่าเสื่อมก็น้อย จึงมีข้อพิจารณาว่า ควรมีการคำนวณค่าเสื่อมตามหน่วยของการใช้ (Service Unit)  เช่น เครื่องมือหยอดเมล็ดข้าวโพดสมมติว่ามีอายุการใช้งานได้ 4,000 ไร่ ควรคำนวณค่าเสื่อมออกมาว่าค่าเสื่อมควรจะเป็นไร่ละเท่าไร ถ้าปีนี้ใช้หยอดเมล็ดข้าวโพด 100 ไร่ ค่าเสื่อมในปีนี้เท่ากับ 100 x ค่าเสื่อมต่อไร่ ถ้าปีต่อมาใช้งาน 300 ไร่ ค่าเสื่อมปีต่อมาเท่ากับ 300 x ค่าเสื่อมต่อไร่ เป็นต้น

โดยปกติค่าเสื่อมของทรัพย์สินเกือบทุกชนิด จะขึ้นอยู่กับทั้งหน่วยของเวลาและหน่วยของการใช้ ถ้าสามารถคำนวณค่าสึกหรอโดยใช้ทั้งหน่วยของเวลาและหน่วยของการใช้มาประกอบกันแล้ว จะได้ค่าเสื่อมที่สมบูรณ์ที่สุด การคำนวณค่าเสื่อมของทรัพย์สินประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น อาจใช้หลาย ๆ วิธีรวมกันก็ได้ เช่น ใช้แบบการคำนวณโดยการลดค่าเสื่อมรายปีในปีหลังมาระยะหนึ่งแล้วในระยะต่อไปอาจเปลี่ยนมาใช้แบบวิธีการคำนวณหาค่าเสื่อมแบบเท่ากันทุกปี เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้การใช้อัตราที่จะนำมาคำนวณค่าเสื่อมอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะการที่เราคาดว่าอายุการใช้งนของทรัพย์สินนั้นจะเป็น 10 ปี แต่เมื่อใช้ไปอาจจะใช้ได้เพียง 7 ปี หรือ 15 ปี นั่นคือ เมื่อคำนวณค่าเสื่อม ของทรัพย์สินชนิดหนึ่งไประยะหนึ่งแล้วเห็นว่าอายุการใช้งานไม่เป็นไปตามที่คาด อาจหักค่าเสื่อมในอัตราที่มากขึ้นอีกเมื่ออายุของทรัพย์สินจะน้อยกว่าที่คาดหรือหักในอัตราที่น้อยลงกว่าเดิม เมื่ออายุของทรัพย์สินนานกว่าที่คาด เป็นต้น

การบันทึกข้อมูลการผลิตพืชและสัตว์

จากการบันทึกบัญชีทั้ง 5 ประเภทตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีการบันทึกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะไม่เรียกว่าเป็นการบันทึกบัญชี เนื่องจากไม่ได้เป็นตัวเลขที่มีความหมายทางด้านการเงินแต่อย่างใดตามความหมายของคำว่า \”การบัญชี\” บันทึกประเภทนี้เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้ข้อมูลทางสถิติ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรในด้านการวางแผน และปรับปรุงแผนการผลิตในปีต่อๆไป บันทึกนี้เรียกว่า\”บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตพืชและผลิตสัตว์* ข้อมูลที่จะบันทึกเป็นข้อมูลทางกายภาพเกี่ยวกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  1. การบันทึกการผลิตพืชจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เนื้อที่เพาะปลูกพืชแต่ละชนิด จำนวนปัจจัยการผลิตที่ใช้ ช่วงเวลาเตรียมดิน ปลูก หว่าน ตกกล้าและเก็บเกี่ยว เนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต เป็นต้น การบันทึกข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดระบบการปลูกพืชภายในฟาร์มและการปรับปรุงบำรุงดินต่างๆ ตลอดจนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชในรอบปี
  2. การบันทึกการผลิตสัตว์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสัตว์แต่ละชนิด ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ ตลอดจนปริมาณอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดและแต่ละรุ่น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาพิจารณารวมกับข้อมูลรายรับรายจ่ายของทางด้านสัตว์แล้ว สามารถนำมาคำนวณผลตอบแทนต่อค่าอาหารสัตว์และค่าอาหารสัตว์ต่อหน่วยน้ำหนักสัตว์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบระดับกำไรของการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดได้ นอกจากนี้ข้อมูลจากการบันทึกการผลิตจะทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการผลิตสัตว์แต่ละชนิดได้ เช่น จำนวนลูกสุกรอย่านม ต่อครอก หรือ จำนวนไข่ต่อแม่ไก่ 1 ตัว หรือ จำนวนน้ำนมต่อแม่วัว 1 ตัว เป็นต้น สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์อาจแบ่งได้ดังนี้

2.1 บันทึกการเกิดของสัตว์

2.2 บันทึกการตายของสัตว์

2.3 บันทึกผลผลิตสัตว์

อ่านเพิ่มเติม >> การบันทึกบัญชีสินค้าเกษตรกรรมตัวอย่าง

ธุรกิจโรงแรม

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )