รับทำบัญชี.COM | คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ข้อหารือที่ กค 0811/16531
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/16531
วันที่
: 1 ธันวาคม 2541
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65 ทวิ (5), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540ฯ
ข้อหารือ
: บริษัทฯ เป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีรายได้จากการประกอบกิจการทั้งที่
ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม
ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม ของปีถัดไปในรอบระยะเวลาบัญชี 21
พฤษภาคม 2540 – 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่า
หรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นเงินตราไทยตาม
มาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540 ฯ
บริษัทฯ สามารถจะเลือกนำผลขาดทุนดังกล่าวมาคำนวณเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้ตามวิธีใดวิธีหนึ่งที่
ระบุไว้ในคำสั่งดังกล่าว เป็นเหตุให้บริษัทฯสามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายของ
บริษัทฯ ได้มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สิน
ดังกล่าวเป็นส่วนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือเป็นส่วนของกิจการที่ไม่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯจึงเฉลี่ยผลขาดทุนดังกล่าวตามอัตราส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หากข้อเท็จจริงของบริษัทฯ เป็นดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้คือ
1. ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจาก
การตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง จำนวน 500 ล้านบาท
2. อัตราส่วนระหว่างรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับ
การส่งเสริมการลงทุน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 คือ 10 : 90
3. บริษัทฯ เลือกที่จะเฉลี่ยผลขาดทุนดังกล่าวเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ เป็นระยะเวลา 5
รอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ผลขาดทุนที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม
2541 คือ 100 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผลขาดทุนจากกิจการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 10 ล้านบาท และ
ผลขาดทุนจากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 90 ล้านบาท
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า สำหรับผลขาดทุนที่เหลือจำนวน 400 ล้านบาทที่จะนำมาเป็น
ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ สำหรับ 4 รอบระยะเวลาบัญชีถัดไป คือ รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม
2542 – 20 พฤษภาคม 2545 บริษัทฯ จะต้องนำผลขาดทุนดังกล่าวไปเฉลี่ยตามอัตราส่วนของรายได้
จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และรายได้จากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของ
รอบระยะเวลาบัญชีแรก (วิธีที่ 1 ตามตารางข้างล่าง) หรือให้นำมาเฉลี่ยตามอัตราส่วนของรายได้จาก
กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน และกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปี (วิธีที่ 2
ตามตารางข้างล่าง) ถ้าหากว่าวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ไม่ถูกต้อง บริษัทฯ จะต้องใช้วิธีการใด
การบันทึกผลขาดทุน
รอบระยะเวลาบัญชี อัตราส่วนรายได้จาก วิธีที่ 1 วิธีที่ 2
สิ้นสุด BOI : Non BOI BOI : Non BOI รวม BOI : Non BOI รวม
20 พ.ค.2541 10 : 90 10 : 90 100 10 : 90 100
20 พ.ค.2542 20 : 80 10 : 90 100 20 : 80 100
20 พ.ค.2543 30 : 70 10 : 90 100 30 : 70 100
20 พ.ค.2544 40 : 60 10 : 90 100 40 : 60 100
20 พ.ค.2545 50 : 50 10 : 90 100 50 : 50 100
รวม 50 : 450 500 150 : 350500
แนววินิจฉัย
: 1. บริษัทฯ มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นวันที่ 21 พฤษภาคม และสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม
ดังนั้น ในรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มีผล
ขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้าย
ของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
จำนวน 500 ล้านบาท บริษัทฯ จึงมีสิทธิที่จะเลือกคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือ
หนี้สินตามส่วนเฉลี่ยของมูลค่าทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้นตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกดังกล่าวเป็นต้นไป แต่
ไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก็ได้
ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีสิทธิเฉลี่ยผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินเป็นรายจ่ายได้
รอบระยะเวลาบัญชีละ 100 ล้านบาท ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2541 ถึง
รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด 20 พฤษภาคม 2545 ตามข้อ 3 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.72/2540
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจาก
การปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
2. กรณีบริษัทฯ ไม่สามารถแยกได้โดยชัดแจ้งว่าผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินหรือ
หนี้สิน จำนวน 500 ล้านบาท ดังกล่าวเป็นส่วนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือเป็นส่วนของ
กิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และไม่มีเกณฑ์อื่นที่จะเฉลี่ยรายจ่ายนั้นได้เป็นการเหมาะสมแล้ว
ก็ให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวออกตามส่วนของรายได้จากกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ
กิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 20
พฤษภาคม 2541
ดังนั้น ในการใช้สิทธิเฉลี่ยผลขาดทุนจากการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทฯ
รอบระยะเวลาบัญชีละ 100 ล้านบาท ตาม 1. จึงเป็นผลขาดทุนจากกิจการส่งเสริมการลงทุน 10 ล้าน
บาท และผลขาดทุนจากกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริม 90 ล้านบาท เท่ากันทั้งห้ารอบระยะเวลาบัญชี
ตามตัวอย่างวิธีที่ 1 ข้างต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2542
ถึงรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 จะมีอัตราส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีเป็น
อย่างไร
เลขตู้
: 61/27302
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

สนใจบริการคลิ๊ก >>> บริษัท รับ ทํา บัญชี ใกล้ ฉัน

ปก กระดาษ

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )