รับทำบัญชี.COM | ลดหย่อนภาษีวิธีไหนดีน่ะที่จะดีสุด?

Click to rate this post!
[Total: 41 Average: 5]

ลดหย่อนภาษี วิธีไหนดีน่ะที่จะดีสุด

              เงินบริจาค ถ้าวัดด้วยผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่จะกลับมาหาคุณในอนาคตแล้ว วิธีนี้ถือว่าแย่สุด เพราะเงินบริจาคคือเงินที่คุณเสียไปเลย ไม่ได้ผลตอบแทนอะไรกลับมานอกจาก “บุญ” และค่าลดหย่อนภาษีอีกเล็กน้อย เช่น ถ้าฐานภาษีของคุณอยู่ที่ 10% การบริจาคเงิน 10,000 บาท จะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้ 1,000 บาท เสมือนว่าคุณทำบุญด้วยเงิน 9,000 บาท และรัฐช่วยโปะให้อีก 1,000 บาท ในกรณีที่คุณบริจาคเงินให้สถานศึกษา คุณจะมีสิทธิ์คิดลดหย่อนได้สองเท่า เช่น ฐานภาษี 10% บริจาคให้โรงเรียน 10,000 บาท จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้ 2,000 บาท การนำยอดเงินบริจาคมาคิดลดหย่อนสามารถทำได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ เช่น เงินได้สุทธิ 500,000 บาท จะนำยอดเงินบริจาคมาคิดได้ไม่เกิน 50,000 บาท (ถ้าเป็นสถานศึกษาก็คือ 25,000 บาท เพราะเมื่อคิดสองเท่าก็คือ 50,000 บาท) การบริจาคเงินเพื่อให้ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี จะต้องบริจาคตามรายชื่อที่สรรพากรกำหนด และต้องมีใบเสร็จหรือใบอนุโมทนาเป็นหลักฐานด้วย ดูรายชื่อสถานศึกษา มูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศล สถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้นบำบัดและฟื้นฟูเด็ก คนชรา คนพิการ ถึงแม้การบริจาคจะไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงินกลับมาในอนาคต แต่ผมอยากให้คุณคิดว่าบริจาคเพราะอยากช่วยให้สังคมดีขึ้นโดยมีการลหย่อนภาษีเป็นของแถมเล็กๆ น้อยๆ ดีกว่าคิดว่าคุณจะบริจาคเพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ การบริจาคคือการที่คุณ “เลือกเอง” ว่าจะให้เงินภาษีของคุณไปช่วยสังคมในด้านไหน นอกนั้นแล้วรัฐและนักการเมืองจะเป็นผู้เลือก ทั้งประกันแบบออมทรัพย์และประกันแบบบำนาญ เราสามารถนำเบี้ยที่จ่ายในแต่ละปีมาลดหย่อนภาษีได้ครับ โดยมีเพดานสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แปลว่าถ้าคุณมีฐานภาษี 10% จ่ายเบี้ยประกันปีละ 100,000 บาท คุณสามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 10,000 บาทเลย นอกจากนี้ ประกันชีวิตยังมีเงินจ่ายคืนทุก 2 ปี หรือ 3 ปี หรือ 5 ปี และจ่ายคืนให้ก้อนใหญ่เมื่อครบสัญญาด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณดูแล้ว ผลตอบแทนมักจะเป็นบวก (ได้คืนมามากกว่าที่จ่ายออกไป) ดูวิธีคำนวณได้จากบทความเรื่อง “ประกันออมทรัพย์ผลตอบแทนมากกว่า 100% มีจริงหรือ” การซื้อประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ จะต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี ควรเป็นกรมธรรม์ที่ไม่พ่วงประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุด้วย เพราะค่าเบี้ยของประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ชื่อเรียกประเภทกรมธรรม์มักเป็นตัวเลขสองชุด เช่น 15/7 ตัวเลขน้อยกว่าหมายถึงจำนวนปีที่ต้องจ่ายเบี้ย ตัวเลขมากกว่าหมายถึงจำนวนปีของอายุกรมธรรม์ 15/7 จึงหมายถึงจ่ายเบี้ยติดต่อกัน 7 ปี กรมธรรม์มีอายุคุ้มครอง 15 ปี (ถ้าตายใน 15 ปี ทายาทจะได้รับเงินชดเชย) ควรเลือกกรมธรรม์ที่ตัวเลขสองชุดใกล้เคียงกัน เช่น 15/15 คือจ่ายเบี้ยเท่าระยะเวลาประกัน เพราะถ้าเลือกแบบตัวเลขห่างกัน เช่น 20/5 คือจ่ายเบี้ยแค่ 5 ปี แต่ประกันนานถึง 20 ปี แบบนี้ค่าเบี้ยที่จ่ายไปจะเป็นค่าความคุ้มครองเยอะ ทำให้ผลตอบแทนที่เป็นเงินจ่ายคืนกลับมาน้อยลง และไม่ควรเลือกที่ตัวเลขเยอะมาก เช่น 99/20 เพราะเป็นประกันตลอดชีพ เรามักไม่ได้เงินคืนกลับมาใช้เอง แต่ทายาทเราได้แทน การจ่ายค่าเบี้ยควรเลือกจ่ายแบบรายปี เพราะการจ่ายรายปีจะได้รับส่วนลดประมาณ 5% เมื่อเทียบกับการจ่ายแบบรายเดือน แต่ก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินด้วย อาจจะใช้วิธีหักจากเงินเดือนทุกเดือนแล้วฝากเข้าบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง เช่น ค่าเบี้ยรายปี 90,000 บาท (ถ้าไม่ออมเงินให้ดี อาจทำให้กระอักได้เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าเบี้ย) หรือเฉลี่ย 7,500 บาทต่อเดือน พอได้เงินเดือนมาปุ๊บ ก็หัก 7,500 บาทเข้าบัญชีธนาคารเลย แบบนี้ทำให้ได้ดอกเบี้ยเป็นของแถมด้วย LTF กองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF เป็นเครื่องมือที่รัฐใช้สร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุน โดยการระดมเงินจากประชาชนเพื่อนำไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การออกมาตรการจูงใจโดยให้ผู้ซื้อ LTF สามารถลดหย่อนภาษีได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนอยู่ในตลาดทุน ไม่ย้ายไปที่อื่นได้ง่ายๆ การซื้อ LTF เพื่อใช้ลดหย่อนภาษี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ โดยสามารถซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าลดหย่อน เช่น ถ้าเงินเดือนทั้งปีและโบนัสของคุณคือ 500,000 บาท คุณจะซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 75,000 บาท ถ้าฐานภาษีของคุณคือ 10% คุณจะลดหย่อนภาษีได้ถึง 7,500 บาท การซื้อ LTF มีความเสี่ยงสูงกว่าการซื้อประกันออมทรัพย์ เพราะประกันออมทรัพย์จ่ายเงินคืนให้คุณครบทุกบาททุกสตางค์ และมีกำไรให้นิดหน่อย แต่ LTF นั้นไม่แน่เสมอไป ถ้าคุณซื้อ LTF ในจังหวะที่หุ้นขึ้นมากๆ พอถือไว้ 5 ปีตามเงื่อนไขของการลดหย่อนภาษี ระหว่างนั้นหุ้นเกิดตกอย่างหนักและตลาดอยู่ในสภาวะซึมยาว มูลค่าหน่วยลงทุนของคุณก็จะลดลง ถ้าขายก็ขาดทุน บางคนถ้าไม่ร้อนเงินก็อาจจำใจถือต่อเพื่อรอให้สภาพตลาดฟื้นตัวขึ้นมาแล้วค่อยขาย LTF มีให้เลือกซื้อค่อนข้างเยอะ คุณอาจพิจารณาจากผลงานในอดีตของแต่ละตัว แต่ต้องย้ำว่าผลงานในอดีตไม่ได้บ่งบอกถึงผลงานในอนาคต และที่สำคัญคือต้องดูรายละเอียดของแต่ละตัวว่ามีการลงทุนในหุ้นประเภทไหน และมีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ LTF บางตัวมีผลงานในอดีตสวยงามมาก แต่นั่นอาจเป็นเพราะ LTF ตัวนั้นไม่มีการจ่ายเงินปันผล แต่นำเงินปันผลกลับเข้าไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งพอดีว่าตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในขาขึ้น ผลงานที่ออกมาเลยดูดี แต่ถ้าตลาดอยู่ในขาลง ผู้ลงทุน LTF ที่ไม่มีการจ่ายปันผลก็อาจจะเสียหายหนัก ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะซื้อ LTF ให้ลองถามตัวเองดูว่า คุณคิดว่าอีก 5 ปีข้างหน้า หุ้นจะขึ้นไปมากกว่านี้หรือเปล่า ถ้าคิดว่าขึ้น ก็อาจลองเสี่ยงด้วยการซื้อ LTF ที่ไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่กล้าเสี่ยง ก็ซื้อตัวที่จ่ายปันผลไว้ก่อนดีกว่า เพราะเราไม่รู้ว่าดัชนีหุ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยขอเก็บปันผลไว้บ้างก็ยังดี นอกจากนี้ การซื้อ LTF จากสถาบันการเงินที่มี LTF ให้เลือกได้หลายกองทุนก็จะดี เพราะระหว่างที่ยังไม่ครบ 5 ปี คุณสามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ง่าย ช่วงไหนหุ้นตกหนักก็อาจซื้อกองที่ไม่จ่ายปันผล (เพราะคาดว่าตกไม่นานก็จะขึ้น) พอหุ้นขึ้นก็ค่อยเปลี่ยนไปซื้อกองที่จ่ายปันผลแทน (เพื่อลดความเสี่ยง) RMF กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพหรือ RMF เป็นการระดมเงินจากประชาชนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ คล้ายกับ LTF แต่ต่างกันตรงที่ RMF มักจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ ทองคำ เช่นเดียวกับ LTF การซื้อ RMF เพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี จะต้องซื้อไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปีก่อนหักค่าลดหย่อน แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือเมื่อคุณเริ่มซื้อ RMF แล้ว คุณจะต้องซื้อติดต่อกันทุกปีจนกว่าจะมีอายุครบ 55 ปี ถ้าเว้นการซื้อติดต่อกันสองปี คุณจะต้องจ่ายคืนภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนไป 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งตอนนั้นจะวุ่นวายมาก เพราะถ้าคุณจ่ายคืนช้า คุณจะถูกปรับเงินเพิ่มด้วย ปีไหนที่คุณไม่อยากซื้อ RMF เยอะมาก คุณจะต้องซื้ออย่างน้อย 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท อยู่ที่ว่าอันไหนต่ำกว่า ถึงจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่เยอะ แต่ก็เป็นภาระสำหรับเราไปจนแก่เหมือนกัน สรุป ทั้ง 4 แบบมีความแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถเลือกนำไปหักลดหย่อนกันค่ะ

 
ลดหย่อนภาษี วิธีไหนดีน่ะที่จะดีสุด
ลดหย่อนภาษี วิธีไหนดีน่ะที่จะดีสุด

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )