รับทำบัญชี.COM | BSC อัตราส่วนทางการเงินอะไรบ้างสรุปตัวอย่าง?

Click to rate this post!
[Total: 114 Average: 5]

อัตราส่วนทางการเงิน

เริ่มวิเคราะห์อย่างไร ทาง BSC จึงมาอธิบายให้ละเอียดมากขึ้นในบทนี้เพื่อผู้สนใจวิเคราะห์จะได้เริ่มวิเคราะห์เองได้ มีการยกตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งเพื่อประกอบการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ส่วนให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กันอย่างไรถึงไม่ขาดทุน

เริ่มวิเคราะห์อย่างไร ทาง BSC จึงมาอธิบายให้ละเอียดมากขึ้นในบทนี้เพื่อผู้สนใจวิเคราะห์จะได้เริ่มวิเคราะห์เองได้ มีการยกตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งเพื่อประกอบการวิเคราะห์อัตรา ส่วนให้ผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น

สมมติกิจการตัวอย่างนี้ชื่อ บริษัท บ้านดี จำกัด เป็นกิจการที่ทำธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน คล้ายกับธุรกิจของ โฮมโปร (Homepro) และ โกลบอล (Global) การจัดทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนี้จะถูกแบ่งให้เป็น 4 ด้านเพื่อวัดความสามารถในแต่ละด้านของกิจการเอง และยังนำอัตราส่วนทางการเงินของโฮมโปรและโกลบอล มาเปรียบเทียบด้วย เพราะเป็นธุรกิจคล้ายกันและยังเป็นธุรกิจที่เป็นผู้นำของธุรกิจประเภทนี้รวมทั้งหาข้อมูลได้ง่ายเพราะจดทะเบียนบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย การวิเคราะห์ความสามารถของกิจการเองและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับธุรกิจที่เป็นตัวอย่างจะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงและแก้ไขการบริหารงานที่เป็นจุดอ่อนของกิจการได้ ผู้วิเคราะห์ที่ต้องการเปรียบเทียบกับกิจการอื่นนั้นจำเป็นต้องเลือกธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายกันกับธุรกิจที่จะวิเคราะห์เพราะผลการวิเคราะห์จะทำให้เราปรับปรุงงานได้ดีขึ้น

 

บริษัทตัวอย่างอัตราส่งนทางการเงิน บริษัท บ้านดี จำกัดมาวิเคราะห์ตามตารางข้างล่างนี้

ด้านที่ 1 ” วัดสภาพคล่องทางการเงิน “

บริษัทบ้านดี มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่น้อยลงจากปี 56 คือจาก 0.94 เท่าเป็น 0.55 เท่าในปี 57 เมื่อนำเปรียบเทียบกับอีกสองบริษัทแล้วก็มีสภาพคล่องที่ต่ำกว่า แต่เมื่อนำมาหาค่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วทำให้อัตราส่วนนี้ดีขึ้นมาจากปี 56 คือมีสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วจำนวน 34 สตางค์ในขณะที่มีหนี้สินหมุนเวียน 1 บาทซึ่งอัตราส่วนนี้สูงกว่า 2 บริษัทใหญ่ แต่เนื่องจากอัตราส่วนนี้ได้ค่าน้อยกว่า 1 เท่าจึงทำให้บริษัทบ้านดีอาจมีปัญหาสภาพคล่องได้เมื่อเจ้าหนี้ระยะสั้นมาทวงเงินพร้อมกัน

ด้านที่ 2 ” วัดความสามารถในการทำกำไร 

อัตราส่วนกำไรขั้นต้นในปี 57 ต่ำกว่าปี 56 คือจากกำไรขั้นต้นร้อยละ 13.8 เหลือร้อยละ 12.94 ต่อยอดขายและเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสองบริษัทใหญ่แล้ว บ้านดีก็ยังทำกำไรได้ต่ำกว่ามากในขณะโฮมโปรมีกำไรขั้นต้นสูงทำให้เราทราบว่าบ้านดีมีต้นทุนขายที่สูงมาก และเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วก็จะได้อัตราส่วนกำไรสุทธิ ซึ่งทำให้พบว่าบ้านดีมีกำไรสุทธิในปี 56 เท่ากับร้อยละ 0.52 และปี 57 เท่ากับร้อยละ 1.08 ในขณะที่โฮมโปรมีอัตราส่วนกำไรสุทธิสูงกว่าเท่ากับ 6.47% และยังมีกำไรสูงกว่าโกลบอลด้วย

พอสรุปว่าบ้านดีทำกำไรได้ในอัตราส่วนที่ต่ำมากคือมียอดขาย 100 บาทแต่กำไรสุทธิเพียง 1.08 บาทเท่านั้น อัตราส่วนต่อมาคืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) บ้านดีก็ยังมีผลตอบแทนที่ต่ำเช่นกันคือเท่ากับ 3.67% ในปี 57 ในขณะที่โฮมโปรสูงถึง 11.51% และ โกลบอลประมาณ 5.43% อย่างไรก็ตามบริษัทบ้านดีกลับมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นมีค่าสูงถึง 41.83% และสูงกว่า 2 บริษัทใหญ่เพราะมีเงินทุนที่จำนวนน้อยกว่าสองบริษัทนั้นเมื่อนำเงินทุนมาหารกำไรสุทธิจึงได้ค่าที่สูง แสดงว่าเงินทุนจำนวน 100 บาทของผู้ถือหุ้นบ้านดี สามารถไปทำกำไรได้สูงถึง 41.83%

ด้านที่ 3 ” วัดประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียน 

มีอัตราส่วนที่นิยมใช้หลายตัวแต่จะวิเคราะห์ที่สำคัญๆ โดยเริ่มจากอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ซึ่งบ้านดีมีค่าสูงถึง 3.4 เท่าและสูงกว่าบริษัทใหญ่ 2 แห่งนั่นแสดงว่าทรัพย์สินมูลค่า 100 บาททำให้มีเกิดยอดขายได้สูงเป็น 3.4 เท่าของการใช้สินทรัพย์นั้น อัตราส่วนต่อมาคือระยะเวลาการเก็บหนี้ซึ่งปี 56 มีระยะสั้นเพียง 3.23 วันแต่ปี 57 เพิ่มขึ้นเป็น 11.21 วันและมีจำนวนวันใกล้เคียงกับระยะเวลาการเก็บหนี้ของโฮมโปร อัตราส่วนถัดมาที่จะวิเคราะห์คือระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลังเท่ากับ 143.64 วัน

แสดงว่าบริษัท บ้านดี มีสต๊อกจำนวนมากและเก็บนานถึง 143 วันถึงจะขายได้ แต่ระยะเวลาการเก็บสต๊อกของโฮมโปรสั้นกว่าคือประมาณ 75 วัน และการเก็บสต๊อกของโกลบอลค่อนข้างเก็บนานถึง 189 วัน อัตราส่วนสุดท้ายที่จะวิเคราะห์คือระยะเวลาการชำระเงินให้กับเจ้าหนี้การค้าค่อนข้างสั้นมากคือ 22 วันในปี 2557 แสดงว่าได้รับเครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ในระยะเวลาที่สั้น แต่บริษัทโฮมโปรมีความสามารถในการต่อรองสูงจึงได้เทอมการชำระเงินที่ยาวกว่าคือ 119 วัน

แสดงว่าเมื่อโฮมโปรซื้อสินค้าแล้วกว่าจะชำระเงินก็อีก 4 เดือนแต่สามารถการเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เพียง 11 วันทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนถึง 108 วันที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและยังสามารถนำไปฝากเพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝากได้อีกด้วย

ด้านที่ 4 ” วัดความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยง 

อัตราส่วนตัวแรกคืออัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม(Debt ratio) ที่สูงมากคือมีหนี้สินเป็น 1.86 เท่าของสินทรัพย์รวม เมื่อนำเปรียบเทียบกับสองบริษัทใหญ่ซึ่งมีหนี้เพียง 0.65เท่าและ 0.33 เท่าต่อสินทรัพย์รวม อัตราส่วนตัวที่สองเป็นอัตราส่วนที่เจ้าหนี้และนักการเงินนิยมใช้มากคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to equity ratio) จะสังเกตเห็นว่าบริษัทบ้านดีมีหนี้สินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทุนคือ มีหนี้สิน 21.33 บาทในขณะที่มีทุน 1 บาทเท่านั้น

ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ถือว่าสูงมาก ในขณะที่โฮมโปรมีหนี้สินต่อทุนเพียง 1.82 เท่าทั้งๆที่มีการลงทุนเปิดสาขาใหม่ๆทั่วประเทศอยู่จำนวนมาก ต่อมาเป็นอัตราส่วนที่แสดงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย บริษัทบ้านดีได้ค่าอัตราส่วนนี้เท่ากับ 1.58 เท่า

แสดงว่าบ้านดียังมีกำไรเพียงพอในการจ่ายดอกเบี้ยเป็น 1.58 เท่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แต่ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยยังไม่สูงเท่ากับอีกสองบริษัทใหญ่ เพราะโกลบอลสามารถชำระดอกเบี้ยได้ 7 เท่าและโฮมโปรชำระได้เป็น 10 เท่าเมื่อเราได้วิเคราะห์ทีละด้านของกิจการแล้วก็มาสรุปเป็นภาพรวมว่า

บริษัท บ้านดี มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ที่สูง มีการเก็บหนี้ได้เร็ว และมีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูง รวมทั้งยังทำกำไรเพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยได้ สำหรับจุดด้อยคือ มีทุนน้อยและมีหนี้จำนวนมากทำให้หนี้สินต่อทุนสูงถึง 21.22 เท่า และมีความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างต่ำเพราะมีกำไรสุทธิเพียง 1.08% เท่านั้น รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องได้เพราะมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำ

ทาง BSC ได้เตรียมแบบฟอร์มให้กับผู้สนใจที่จะวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน โดยต้องกรอกรายการของงบการเงินบางรายการที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มก่อน แล้วถึงออกผลการคำนวณของอัตราส่วนต่างๆได้ ซึ่งทาง BSC ได้ผูกสูตรคำนวณให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งยังแบ่งการวัดความสามารถของกิจการเป็น 4 ด้านตามตัวอย่างของบริษัท บ้านดี จำกัดด้วย ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่ Download รายการที่ต้องกรอกตัวเลขนั้นจะถูกไฮไลค์เป็นสีเหลืองไว้ BSC ขอนำช่องรายการบางส่วนมาแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าควรกรอกอย่างไรบ้างดังนี้

ทาง BSC ได้เตรียมแบบฟอร์มให้กับผู้สนใจที่จะวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน โดยต้องกรอกรายการของงบการเงินบางรายการที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มก่อน แล้วถึงออกผลการคำนวณของอัตราส่วนต่างๆได้ ซึ่งทาง BSC ได้ผูกสูตรคำนวณให้เรียบร้อยแล้ว ทั้งยังแบ่งการวัดความสามารถของกิจการเป็น 4 ด้านตามตัวอย่างของบริษัท บ้านดี จำกัดด้วย ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่ Download รายการที่ต้องกรอกตัวเลขนั้นจะถูกไฮไลค์เป็นสีเหลืองไว้ BSC ขอนำช่องรายการบางส่วนมาแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าควรกรอกอย่างไรบ้างดังนี้

อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนทางการเงิน