ธุรกิจแสตนเลส

รับทำบัญชี.COM | โรงงานผลิตสแตนเลสส่งออก ร้านขาย 304 316?

สแตนเลส

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี โรงงานผลิตสแตนเลส ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) 

  • ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • Email : 9622104@gmail.com
  • Line Official Account : @e200
  • ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน 

สแตนเลส เหล็กกล้าไร้สนิมเป็นโลหะผสมที่ทนต่อการกัดกร่อนของเหล็ก โครเมียม และในบางกรณีอาจรวมถึงนิกเกิลและโลหะอื่นๆ เสแตนเลสสามารถรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุดเป็น “วัสดุสีเขียว” ที่ยอดเยี่ยม ในความเป็นจริง ในภาคการก่อสร้าง อัตราการฟื้นตัวที่แท้จริงของมันอยู่ใกล้ถึง 100% เหล็กกล้าไร้สนิมยังเป็นกลางต่อสิ่งแวดล้อมและเฉื่อย และอายุการใช้งานที่ยาวนานทำให้มั่นใจได้ว่าจะเป็นไปตามความต้องการของการก่อสร้างที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังไม่ชะล้างสารประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบเมื่อสัมผัสกับองค์ประกอบต่างๆ เช่น น้ำ

ขายแสตนเลส

นอกจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้แล้ว สเตนเลสสตีลยังสวยงามน่าดึงดูด ถูกสุขลักษณะมาก ดูแลรักษาง่าย ทนทานสูง และมีประโยชน์หลากหลายด้าน เป็นผลให้พบสแตนเลสในวัตถุในชีวิตประจำวันมากมาย นอกจากนี้ยังมีบทบาทที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น พลังงาน การขนส่ง อาคาร การวิจัย การแพทย์ อาหารและโลจิสติกส์

เนื่องจากความต้านทานการกัดกร่อนที่ดีเยี่ยม ความแข็งแรงสูง และรูปลักษณ์ที่สวยงามสแตนเลสจึงถูกนำไปใช้อย่างหลากหลายทั้งในตลาดอุตสาหกรรมและผู้บริโภค

ส่วนประกอบของสแตนเลส

เหล็กเป็นโลหะผสมของเหล็กและคาร์บอน เหล็กกล้าไร้สนิมคือเหล็กกล้าที่มีโครเมียมอย่างน้อย 10.5% คาร์บอนน้อยกว่า 1.2% และองค์ประกอบโลหะผสมอื่นๆ ความต้านทานการกัดกร่อนและคุณสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้าไร้สนิมสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ด้วยการเติมธาตุอื่นๆ เช่น นิกเกิล โมลิบดีนัม ไททาเนียม ไนโอเบียม แมงกานีส ฯลฯ ปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับอากาศ ความชื้น หรือน้ำ จะเกิดชั้นโครเมียมออกไซด์ขึ้นบนพื้นผิวของวัสดุ ชั้นพาสซีฟนี้ปกป้องมันและมีความสามารถพิเศษในการซ่อมแซมตัวเอง

สแตนเลส
สแตนเลส

ประเภทของสแตนเลส

โดยทั่วไปสเตนเลสแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างคือ

  1. ออสเทนนิติค
  2. เฟอร์ริติค
  3. ดูเพล็กซ์
  4. มาร์เทนซิติค
  5. เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก

ซึ่งประมาณได้ว่า 70 เปอร์เซนต์ของการผลิตสเตนเลสในโลกนี้เป็นสเตนเลส ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) หรือที่รู้จักกันใน “ซีรี่ส 300”

1.) ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15 เปอร์เซนต์ มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16 เปอร์เซนต์ และ นิกเกิล หรือซึ่งช่วยปรับปรุง คุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีโครเมียม 18 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 10 เปอร์เซนต์ และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และ 18/8

2.) ตระกูลเฟอร์ริติค (Ferritic) มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27 เปอร์เซนต์ บางเกรดผสมนิกเกิ้ลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม

3.) ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic) เป็นตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติค และเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 14 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัม 0.2-1 เปอร์เซนต์ มีนิกเกิ้ล 0-2 เปอร์เซนต์และมีคาร์บอนผสม อยู่ประมาณ 0.1-1 เปอร์เซนต์ ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบคืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน “ซีรี่ส -00”

แสตนเลส

4.) ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex) เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19 ถึง 28 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัมสูงกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติคใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง

5.) ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก มีความต้านทานการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17 เปอร์เซนต์และมีนิกเกิล 4 เปอร์เซนต์ ทองแดง และไนโอเบียม ผสมอยู่ด้วย เนื่องจาก สเตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของ อากาศยาน

8 สารที่สามารถนำไปไปผสมได้

เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ทนต่ออุณหภูมิสูง ทนต่ออุณหภูมิต่ำ ความแข็งแรงที่ดีขึ้น ความสามารถในการเชื่อมที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น

  1. นิกเกิล
  2. คาร์บอน
  3. แมงกานีส
  4. โมลิบดีนัม
  5. ไนโตรเจน
  6. กำมะถัน
  7. ทองแดง
  8. ซิลิคอน

7 โรงงานผลิตแสตนเลส

  1. บริษัท เอเชี่ยนสเตนเลส จำกัด
  2. เอส เค เหล็กอิตาลี
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรุ่ง สแตนเลส เวอร์ค
  4. บริษัท โลหศิลป์เอนจิเนียริ่ง จำกัด
  5. บริษัท มั่นคงวิศวกรรม จำกัด
  6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เท็นไซน์ สแตนเลส เอ็นจิเนียริ่ง
  7. บริษัท โปรชอยส์ เมทัล ดีไซน์ จำกัด

4 ทริคที่โรงงานควรมี

1.) มาตราฐานโรงงาน

โรงงานที่ได้รับมาตรฐาน เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างมาก คือ การที่โรงงานผลิตร แสตนเลส ของคุณได้รับมาตราฐาน อย่างที่ควรจะเป็น ควรได้รับมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานโรงงาน GMP. ISO ต่างๆ หรือ ผ่านการรับรองตามกฎหมายของประเภทโรงงานที่ควรจะมี 

2.) สามารถแนะนำการสร้างแบรนด์ให้เราได้

การตลาดทุกวันนี้อาศัยที่ความต่างกันมากจริงๆ หลายโรงงานมีสูตรมาตรฐานให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ทำให้เราสามารถใช้เวลากับการโฟกัสเกี่ยวกับการตลาดได้มากขึ้น

3.) ให้คำปรึกษา หรือคำแนะนำที่ดี

เรื่องนี้สำคัญมากเลยครับ เวลาติดต่อโรงงานส่วนใหญ่จะเจอเซลล์ บางคนให้คำแนะนำดีมาก บางคนไม่ให้คำแนะนำเลย แต่บางคนให้คำแนะนำไปถึงเรื่องการวางแผนการตลาด แนะนำเรื่องการขาย การใส่ใจเป็นพฤติกรรมของผู้ให้คำปรึกษาที่แสดงออกด้วยภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง ซึ่งบอกถึงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา โดยการแสดงความสนใจ การเห็นความสำคัญ และการให้เกียรติ เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความอบอุ่นใจและไม่รู้สึกห่างเหิน

4.) กำหนดระยะเวลาการผลิตชัดเจน 

เรื่องนี้สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเราได้โรงงานที่สร้างความมั่นใจ และกำหนดระยะเวลาการผลิตไม่ได้ อาจทำให้เกิดปัญหา เพราะคุณอาจไม่สามารถวางแผนการตลาดอะไรได้เลย ควรเสร็จทันตามกำหนด เพราะ เรา ต้องมีการวางแผนการผลิตระยะยาว และระยะสั้น ในการทำการตลาด ประเมินความต้องการสินค้าในตลาดช่วงนั้น และที่สำคัญ ต้องมีการจัดสรรงบประมาณการผลิตอีกด้วย

4ทริคโรงงาน

โรงงาน คือ

ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 โรงงาน หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน 50 คน ขึ้นไป สำหรับ ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะตั้งโรงงาน สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือการขออนุญาตตั้งโรงงานและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยในปัจจุบันตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้การประกอบกิจการโรงงานได้รับความสะดวกและมีความคล่องตัวขึ้น โดยโรงงานขนาดเล็กจะประกอบกิจการง่ายขึ้น โรงงานขนาดใหญ่จะได้รับความสะดวกมาก

ประเภทของโรงงาน

การประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 7) กำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ

โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง

โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก 
  • กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี

โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ

  • เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล
  • โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
  • ผู้ผลิตต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
  • ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบางแห่ง
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ

ประเภทโรงงาน

หมายเหตุ :

  1. โรงงานจำพวกที่ 1, 2, 3 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
  2. โรงงานจำพวกที่ 1, 2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
  3. แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย

เครดิต : aperam.com / unifiedalloys.com / diw.go.th / สมาคมพัฒนาสเตนเลสไทย (TSSDA)

รับทำบัญชี โรงงานสแตนเลส
รับทำบัญชี โรงงานสแตนเลส

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )