เปิดเสรีอัตราภาษี

รับทำบัญชี.COM | การเปิดเสรีอัตราภาษีปรับปรุงบันทึกบัญชีอยู่หมวด?

เปิดเสรีอัตราภาษี

การเปิดเสรีอัตราภาษี คือ (Tariff Liberalization)

การเปิดเสรีอัตราภาษี (Tariff Liberalization)
การลดหรือยกเลิกอากรขาเข้า ( Reduction or Elimination of Import Duties )
1.เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในความตกลงฉบับนี้ กลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศ อันได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว เขมร จะต้องยกเลิกอากรขาเข้า ( Import Duty ) ของสินค้าทุกรายการที่มีการค้าระหว่างประเทศสมาชิกภายในปี ค.ศ.2010 ( พ.ศ.2553 ) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ( ได้แก่ Thai Malaysai Singapore Indonesia Philippines และ Brunei ) และภายในปี ค.ศ.2015 ( พ.ศ.2558 ) สำหรับประเทศ CLMV ( Cambodia, Lao, Myanmar และ Vietnam ) แต่ 4 ประเทศที่พัฒนาการค้าน้อยและเข้ามาทีหลังเพื่อนก็จะสามารถยืดหยุ่นการเข้าร่วมยกเลิกอากรขาเข้าให้ถึงปี ค.ศ.2018 ( พ.ศ. 2561 )
2.ประเทศสมาชิดแต่ละประเทศจะต้องลด และ/หรือยกเลิกอากรขาเข้าในสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกอื่นให้เป็นไปตามแนวทางต่อไปนี้
( A ) อากรขาเข้าของสินค้าภายใต้ตาราง A ของแผนการเปิดเสรีอัตราภาษีของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต้องถูกยกเลิกภายในปี ค.ศ.2010 ( พ.ศ.2553 ) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ และ ค.ศ.2015 ( พ.ศ.2558 ) สำหรับประเทศ CLMV ตามแผนการลดภาษีที่กำหนดไว้ดังกล่าว ตาราง A ของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศต้องมั่นใจว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ :
1)สำหรับประเทศสมาชิดอาเซียน 6 ประเทศ ภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2009 ( พ.ศ.2552 )
-อากรขาเข้าอย่างน้อยร้อยละ 80 ของพิกัดศุลกากรจะต้องถูกยกเลิก
-อากรขาเข้าของสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ไอ ซี ที ) ในกรอบความตกลงว่าด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ของอาเซียนทั้งหมดจะต้องถูกยกเลิก
-อากรขาเข้าของสินค้าที่สามารถนำมาลดภาษีได้ของสินค้าภายใต้การรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน ( PIS : Priority Integration Sectors ) จะต้องเป็นร้อยละ 0 ยกเว้นสินค้าที่ถูกระบุแนบอยู่ในรายการเร่งรัดการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและข้อแก้ไขใดๆ
-อากรขาเข้าของสินค้าทั้งหมดจะต้องเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 5
2)สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อากรขาเข้าของสินค้าทั้งหมดจะต้องเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยล 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2009 ( พ.ศ.2552 )
3)สำหรับราชอาณาจักรกัมพูชา อากรขาเข้าอย่างน้อยร้อยละ 80 ของพิกัดศุลกากรจะต้องเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2009 ( พ.ศ.2552 )
4)อากรขาเข้าของสินค้าบางรายการของประเทศ CLMV ไม่เกินร้อยละ 7 จะต้องถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2018 ( พ.ศ. 2561 ) รายการสินค้าและแผนการลดอากรขาเข้าของสินค้าเหล่านี้จะต้องถูกแจ้งโดยประเทศ CLMV ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.2014 ( พ.ศ.2557 )
3.เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในความตกลงฉบับนี้ ประเทศสมาชิกจะต้องไม่ลบล้างหรือทำให้เสื่อมเสียไปซึ่งข้อลดหย่อบทางภาษีใดๆ ที่ได้ให้ไว้ตามแผนการลดภาษีในภาคผนวก 2 ที่อ้างถึงไว้ในวรรค 5 ของข้อนี้
4.เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในความตกลงของฉบับนี้ ประเทศสมาชิกจะต้องไม่ขึ้นอากรที่ได้แจ้งไว้ในตารางที่จัดทำขึ้นตามบทบัญญัติของวรรค 2 ของข้อนี้ในเรื่อง การนำเข้าสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิด
5.เว้นแต่จะกำหนดไว้ในวรรค 2 ( เอ ) ( สี่ ) รายละเอียดของแผนการลดภาษีเพื่อนดำเนินการตามรูปแบบการลด และ/หรือยกเลิกอากรขาเข้าที่กำหนดไว้ในวรรค 2 จะต้องหาข้อสรุปให้ได้ก่อนความตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ และ (6) เดือน หลังจากที่ความตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว สำหรับประเทศ CLMV และจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความตกลงฉบับนี้
แหล่งอ้างอิง : เอกสารภาษีอากร (ธรรมนิติ)
 
อ่านเพิ่มเติม >> เงินขาดและเกินบัญชี ปรับปรุง บันทึกบัญชี หมวดไหน?
 
เปิดเสรีอัตราภาษี
การขายสินค้าหรือบริการให้กับสหประชาชาติ
ยื่นภงดเกิน

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )