เรียนรู้วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีเพื่อให้ทราบก่อนตัดสินใจลงทุน

รับทำบัญชี.COM | การจัดทำบัญชีเพื่อให้ทราบก่อนตัดสินใจลงทุน?

Click to rate this post!
[Total: 52 Average: 5]

เรียนรู้วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีเพื่อให้ทราบก่อนตัดสินใจลงทุน

          การทำบัญชีของบริษัท ก็เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า และเพื่อทำให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่า ในช่วงเวลานั้น  มีสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่เป็นส่วนของเจ้าของอยู่จำนวนเท่าใด และเพื่อเป็นปัจจัยนำไปประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ อีกทั้งการทำบัญชียังเป็นการป้อง กันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย และเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนำมาใช้ในการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายแก่รัฐบาลนั่นเอง หลักในการจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชี เป็นกระบวนการจัดการในส่วนของบันทึกรายการทางการค้า โดยผู้ทำบัญชีจะต้องทำการเขียนบันทึกราย การทางการค้า โดยสามารถทำการจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ทางการค้า และจะต้องสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลของนักบัญชี  ย้อนกลับไปถึงประวัติของการทำบัญชีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุเมเรียนซึ่งอยู่ในดินแดนเมโสโปเตเมีย ในช่วงแรกๆ การทำบัญชี อาจจะเป็นแค่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตร และมูลค่าต่างๆ เหล่านั้น ส่วนวิชาการบัญชีที่มีพื้นฐานเหมือนกับระบบคณิตศาสตร์ ที่เป็นระบบบัญชีคู่ มีความหมายคือ เป็นการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินซึ่งจะมีการบันทึกทั้งด้านบวก  สำหรับหน่วยของเดบิต ที่อาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านซ้าย  ส่วนด้านลบ หรือเครดิต  ซึ่งอาจเรียกว่าการบันทึกบัญชีทางด้านขวา  ในการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องมียอดรวมด้านบวกโดยรวมกับด้านลบเป็นศูนย์ ขอบเขตของงานบัญชี พื้นฐานของการบัญชีทั้งหมดมาจากสมการที่ว่า  สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน สำหรับส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน  ส่วนขอบเขตของงานบัญชี สามารถจำแนกออกได้เป็นสองประเภท
1.การบัญชีการเงิน การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)  เรียกได้ว่าเป็นการจัดทำบัญชีโดยบันทึกตามมาตรฐานการบัญชีหรือหลักการบัญชีที่รับรองกันทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็น งบแสดงฐานะการเงินของบริษัท  แสดงถึงงบกำไรขาดทุนงบกระแสเงินสด และ นโยบายการบัญชี รวมทั้งหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อรายงานต่อบุคคลภายนอกกิจการอย่างนักลงทุน เจ้าหนี้ และ ผู้ถือหุ้น  อีกทั้งหน่วยงานราชการและลูกจ้าง
2.การบัญชีเพื่อการจัดการ การบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการจัดทำเพื่อรวบรวมข้อมูลดีๆ เสนอต่อผู้ใช้ซึ่งข้อมูลที่เป็นบุคคลภายในกิจการ จะมี กรรมการบริหาร และผู้จัดการ  รวมถึงหัวหน้าฝ่าย และหัวหน้าแผนก ฯลฯ ซึ่งการบัญชีเพื่อการจัดการ ก็เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากการทำบัญชี ที่รวมกับข้อมูลอื่นๆ ในแบบที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน อย่างจำนวนชั่วโมงการทำงาน  หรือจำนวนหน่วยของวัตถุดิบ การรายงานทางการบัญชีทั้งนี้มีการจัดการได้หลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหาร
 
เรียนรู้วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีเพื่อให้ทราบก่อนตัดสินใจลงทุน