ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย

ภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการรับประกันวินาศภัยและมี 2 ค่าอากรแสตมป์?

ภาษีประกันวินาศภัย

ข้อหารือที่ กค 0811/พ.12498
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/พ.12498
วันที่
: 13 ธันวาคม 2542
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการรับประกันวินาศภัย
ข้อกฎหมาย
: มาตรา79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542
ข้อหารือ
: บริษัท ก จำกัด ได้เรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัย และค่าอากรแสตมป์จากลูกค้า
ผู้เอาประกันภัย บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้คำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิ บวกค่า
อากรแสตมป์ หรือคำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเบี้ยประกันภัยสุทธิเท่านั้น
2. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้ จำเป็นต้องมีเศษสตางค์ทุกครั้งหรือไม่
มีความเห็นว่า การรับประกันวินาศภัยเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา
77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกัน และค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจาก
ผู้เอาประกันมาเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับ หรือ
พึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และหากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษ
สตางค์ ต้องแสดงเศษสตางค์นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย
แนววินิจฉัย
: 1. การประกอบธุรกิจรับประกันวินาศภัยถือเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10)
แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ผู้ประกอบการนำมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ รวมถึง
เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินมารวมเป็นมูลค่า
ของฐานภาษีในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น บริษัทฯ จะต้องนำค่าเบี้ยประกันและค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยมา
คำนวณเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด เพราะถือเป็นมูลค่าทั้งหมดที่บริษัทฯ ได้รับหรือพึงได้รับจากการ
ให้บริการตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและปรากฏว่ามีเศษสตางค์ ให้บริษัทฯ แสดงเศษสตางค์
นั้นไว้ในใบกำกับภาษีด้วย โดยถือปฏิบัติตามข้อ 4(6) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มี
ลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
เลขตู้
: 62/28676

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

บทความจากเว็บ รับทำบัญชี.COM
อ่านบทความทั้งหมด https://รับทําบัญชี.com/accounting-services

บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
วันที่เริ่มมีรายได้ BOI ประกอบกิจการ 1 นับวันเริ่มมีรายรับ?

วันที่เริ่มมีรายได้ BOI ประกอบกิจการ 1 นับวันเริ่มมีรายรับ?

ภาษีมาตราเจ็ดสิบภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 มี เป้าหมายรายได้?

ภาษีมาตราเจ็ดสิบภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 มี เป้าหมายรายได้?

ภาษีเงินปันผลต่างประเทศ 1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีหักภาษี?

ภาษีเงินปันผลต่างประเทศ 1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีหักภาษี?

ภาษีขายที่ดินพร้อมบ้าน 1 ภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีรขายบ้านพร้อมที่?

ภาษีขายที่ดินพร้อมบ้าน 1 ภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีรขายบ้านพร้อมที่?

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มบริจาคสินค้า 2 ข้อมี จบเป้าหมายรายได้?

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มบริจาคสินค้า 2 ข้อมี จบเป้าหมายรายได้?

แสดงยอดภาษีผิดช่องภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีแสดงรายการแบบ ภ.พ.30?

แสดงยอดภาษีผิดช่องภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีแสดงรายการแบบ ภ.พ.30?

ภาษีคอนกรีตเสริมเหล็กหัก ณ ที่จ่ายอากรแสตมป์ในอัตราร้อยละ 0?

ภาษีคอนกรีตเสริมเหล็กหัก ณ ที่จ่ายอากรแสตมป์ในอัตราร้อยละ 0?

ภาษียกเว้นรัษฎากรการยกเว้นรัษฎากร 2 ข้อมี จบเป้าหมายรายได้?

ภาษียกเว้นรัษฎากรการยกเว้นรัษฎากร 2 ข้อมี จบเป้าหมายรายได้?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1 กรณีการเกษียณอายุก่อนกำหนดในโครงการ?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1 กรณีการเกษียณอายุก่อนกำหนดในโครงการ?

สารพัดบริการ ความสะดวกสบายมากธุรกิจใดก็ตามช่วยให้ประหยัดเวลา

สารพัดบริการ ความสะดวกสบายมากธุรกิจใดก็ตามช่วยให้ประหยัดเวลา

ส่งพัสดุโลจิสติกส์เอกชนซัพพลายเชนแฟรนไชส์ 10 จบความพร้อมมาก?
สะดวกซัก หยอดเหรียญตลาดโอกาสเติบโตมากเพิ่งเริ่มต้นในแง่จำนวน
ภาษีขายแม่พิมพ์ ต่างหากจากราคาสินค้าต้นทุน 1 ปริมาณสั่งซื้อ?
ภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีจำหน่ายอาหารสุนัข 2 ข้อ เป้าหมายรายได้?
ระบบเงินทดรองจ่าย ภาษีเงินทดรองจ่ายโฆษณาภาษีตามมาตรา 86?
ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 1 การขอคืนภาษี?
ขายสินค้าไม่มีรูปร่าง 1 ภาษีมูลค่าเพิ่มบริการต่างกันหรือไม่?
ภาษีมาตราสามเตรส หัก ณ ที่จ่ายมาตรา 3 เตรส เป้าหมายรายได้?
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกรณีการคำนวณมูลค่าของประกอบ 1 การพิจารณา?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาวิชาชีพอิสระ 2 วิธี จบเป้าหมายรายได้?