เพื่อเป็นช่องทางที่จะใช้ลดอัตราภาษี แต่หากการจัดตั้งคณะบุคคล

ข้อดีข้อเสียระวังเจออาญาจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อเป็น 1 ในช่องทาง?

เพื่อเป็นช่องทางที่จะใช้ลดอัตราภาษี แต่หากการจัดตั้งคณะบุคคล

ระวังเจออาญา จัดตั้งคณะบุคคล ผู้ประกอบการที่มิได้เป็นนิติบุคคล ในกรณีที่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ จะต้องเสียภาษีรายได้ แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งบางท่านจะเสีย ภาษีใน อัตราก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้จึงมักมีการจัดตั้งเป็นคณะบุคคล เพื่อเป็นช่องทางที่จะใช้ลดอัตราภาษี แต่หากการจัดตั้งคณะบุคคล มีเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ก็อาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีแนวคิดจะจัดตั้ง คณะบุคคลร่วมกับบุคคลอื่น ควรจะศึกษาถึงรายละเอียดให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อมิให้ตกเป็นผู้กระทำความผิด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

คำนิยามของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากร คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันเหมือน ห้างหุ้นส่วน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น โดยผู้เป็นบุคคลในคณะบุคคลทุกคนต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้สินทั้งปวงของคณะบุคคลแบบไม่มีจำกัด ตามความหมายในส่วนที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันกำไร น่าจะหมายถึงการได้ผลกำไรของคณะบุคคลอาจจะได้แก่หุ้นส่วนเพียง คนเดียวไม่จำเป็นต้องแบ่งให้แก่หุ้นส่วนอื่นในคณะบุคคล แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันกับคณะบุคคลโดยไม่จำกัดจำนวน

เหมือนผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ขั้นตอนการจัดตั้งคณะบุคคล โดยทั่วไปจะต้องมีสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล กำหนดชื่อวัตถุประสงค์ ที่ตั้ง และระบุทุนของหุ้นส่วน แต่ละคน ซึ่งอาจเป็นเงิน แรงงานหรือทรัพย์สินอื่นๆ ก็ได้ จากนั้นต้องมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการไปยื่นต่อกรม สรรพากรเพื่อขอเลขประจำตัว ผู้เสียภาษี ถ้าคณะบุคคลใดประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องไป ดำเนินการจดทะเบียนดังกล่าวด้วย แต่การจัดตั้ง คณะบุคคลนั้น นิติบุคคลไม่อาจร่วมจัดตั้งกับบุคคลธรรมดาได้ เนื่องจากจะส่งผลให้ ฐานะการร่วมกันนั้นเปลี่ยนไปเป็นการร่วมทุนแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทันที และที่สำคัญ บุคคลที่ร่วมกันจัดตั้งเป็น คณะบุคคล ต้องไม่ใช่สามีภรรยาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เพราะถือว่าสามีและภรรยาเป็น บุคคลคนเดียวกัน

สำหรับกลุ่มบุคคลที่มักจะขอจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคล ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้มาก หรือที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น นักบริหาร, นักการเงิน, ที่ปรึกษา, หรือวิศวกร เป็นต้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยใช้อัตราก้าวหน้า คือเงินได้พึงประเมินยิ่งสูงอัตราภาษีก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าการจัดตั้งคณะบุคคลสามารถจัดตั้งได้ง่าย เพียงร่วมกันจัดตั้ง และใช้สัญญาฉบับเดียว ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย อีกทั้งเมื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นคณะบุคคลเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะถือว่าเป็นหน่วยงาน ภาษีที่มีรายได้และรายจ่ายของตนเอง แยกต่างหากออกจากบรรดาคณะบุคคลธรรมดาที่เข้าหุ้นส่วนหรืออยู่ในคณะบุคคล

ในการคำนวณเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลไม่ได้แตกต่างจากบุคคลธรรมดาซึ่งก็คือ นำเงินได้ทั้งปีตั้งหักด้วยค่าใช้จ่ายเหมา และหักด้วยค่าลดหย่อนได้สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่อยู่ใน ประเทศไทย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ทั้งนี้เมื่อคณะบุคคลเสียภาษีแล้วบุคคลธรรมดาที่ร่วมอยู่ในคณะบุคคลก็ไม่ต้องนำเงินที่ได้รับไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ตัวอย่างของการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อวางแผนการเสียภาษี เช่น นายสมชายมีรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจส่งออกอาหาร กระป๋อง มีรายได้พึงประเมินสุทธิต่อปีประมาณ 600,000 บาท ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้าจำนวน 55,000 บาท หากนายสมขายร่วมกับเพื่อนจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อรับงานที่ปรึกษาด้านการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้เงินมา 1,000,000 บาท เมื่อหักภาษีแล้ว นายสมชายได้รับส่วนแบ่งประมาณ 430,000 บาท ในส่วนนี้นายสมชายไม่ต้องนำเงินดังกล่าว ไปคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมอีกแต่อย่างใด

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น แม้การจัดตั้งคณะบุคคลจะมีประโยชน์ในด้านช่วยประหยัดการเสียภาษี แต่หากการจัดตั้งคณะบุคคลโดย ไม่มีการเช้าหุ้นและร่วมกันทำกิจการกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ หรือการที่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สร้างหลักฐาน เท็จว่าเป็นรายจ่ายค่าขนส่ง ค่านายหน้า หรือค่าที่ปรึกษาให้แก่คณะบุคคลที่จัดขึ้น เพื่อให้มีกำไรสุทธิลดลง ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่ต้องเสียภาษี กรณีเช่นนี้ อาจต้องรับผิดทางแพ่งโดยต้องชำระภาษีหร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และยังมีความผิดทางอาญาฐาน เจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร นอกจากนี้

หากมีคณะบุคคลใดขอคืนภาษีโดยอ้างว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งกรมสรรพากรไว้ ทั้งๆ ที่คณะบุคคลนั้น ไม่เคยมีเงินได้ ก็จะถือว่าเป็นการขอคืนภาษีอันเป็นเท็จมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงเงินภาษีอากรของรัฐ และยังมีความผิดฐาน แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายมิได้ต้องการให้มี การจัดตั้งคณะบุคคลขึ้นมาอาศัยช่องโหว่ในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี หากแต่เพียงต้องการให้บุคคลธรรมดาที่มีความรู้ความสามารถและมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกัน นำความรู้และ ประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่ มาร่วมกันพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดี ยิ่งกว่าการดำเนินการเพียงคนเดียว รวมทั้งจะช่วย ให้ธุรกิจมีเงินทุนมากขึ้น และมีความรอบคอบในการตัดสินใจสำหรับการดำเนินธรุกิจอีกด้วย ที่มา : SMEs Today

 
เพื่อเป็นช่องทางที่จะใช้ลดอัตราภาษี แต่หากการจัดตั้งคณะบุคคล

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 615: 83