หมู่บ้านจัดสรร

คอนโดหมู่บ้านจัดสรรนิติบุคคล CONDO อาคารชุด 9 บัญชีส่วนกลาง?

ทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด

หมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นมา หรือ หลังจาก ปีพ.ศ.2543 หากต้องการจะมีนทางกฎหมายในสังคมหมู่บ้านจัดสรร และจัดทำให้ถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ผู้ออกกฎนั้น ได้มีการกำหนด พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และต้องปฏิบัติตาม

การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จึงได้กำหนดให้ ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังของโครงการ และมีมติให้จัดตั้ง และแต่งตั้งตัวแทนไปยื่นตคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ สาขา พร้อมด้วยข้อบังคับที่กำหนดไว้

การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด

  1. ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
  2. ต้องมารควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ตรงตามความจริง และ ถูกต้อง ซึ่งในส่วนนี้การเลือกผู้รับตรวจสอบบัญชีนิติบุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพย่อมดีกว่า
  3. ในบัญชีต้องมีชนิด ข้อความ และรายการที่กำหนด รวมถึงระยะเวลาในการลงบัญชีด้วย
  4. เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีต้องครบถ้วน เช่น บันทึกใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการ ใบเสร็จ เป็นต้น
  5. การปิดงบบัญชีการเงินนิติบุคคลและอาคารชุดครั้งแรกจะปิดภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 เมษายน
  6. จากนั้นงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้รับตรวจสอบบัญชีนิติบุคคลภายใน 60 วัน นับจากวันสิ้นสุดรอบบัญชี โดยคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลต้องทำการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขึ้น จะเห็นได้ว่าผู้รับตรวจสอบบัญชีนิติบุคคลมีบทบาทอย่างมากในการดำเนินงาน
  7. ทำการยื่นงบการเงินหมู่บ้านหรืออาคารชุดต่อกรมที่ดินภายในจังหวัด ภายในระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี
  8. ต้องมีการเก็บรักษาบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการลงบัญชีเอาไว้ด้วย โดยเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการ และต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันปิดบัญชี

หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีการจ้างงานแก่บุคคลภายนอก จำเป็นต้อง หัก ภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ เผื่อนำส่ง ในเดือนถัดไปด้วย เนื่องจากการจ้างงานแก่บุคคลภายนอกนั้น เงินที่บุคคลภายนอด ถือเป็นรายได้ ค่าบริการ ผู้ถูฏจ้างนนั้น จะต้องนำเงินจำนวนนั้นไปเสียภาษีอีกด้วย

บัญชี รายรับ รายจ่าย นิติบุคคล

ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา 70

1.ผู้จัดสรรที่ดิน ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน หรือผู้รับโอนใบอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการ บำรุงรักษากิจการอันเป็นสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรร

2.ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรอาจยื่นคำขอเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเอง

โดยดำเนินการได้ ดังนี้

  1. ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่ดินแปลงย่อยตามแผนผังโครงการ ที่ได้รับอนุญาตยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรตั้งอยู่ ในการยื่นคำขออาจกระทำโดยมีการจัดประชุมเพื่อมีมติหรือการลงชื่อร่วมกันในคำขอจัดตั้ง (จำนวนคะแนนเสียงของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรแต่ละแปลงมีเสียงเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียง หากได้แบ่งแยกที่ดิน แปลงย่อยตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตออกไปอีก ให้ถือว่าผู้ซื้อที่ดินแปลงคงเหลือและผู้ซื้อที่ดินแปลง ที่ได้แบ่งแยกออกไป มีเสียงรวมกันเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียงเช่นเดียวกับเจ้าของรวม)
  2. หลักฐานที่ใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ได้แก่ รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร หรือหลักฐานการเข้าชื่อร่วมกันจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายมีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เห็นชอบข้อบังคับ และแต่งตั้ง ตัวแทนในการยื่นคำขอจดทะเบียน
    ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จำนวน 2 ชุด
    – บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค, สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

3.พนักงานเจ้าหน้าที่

  1. เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ได้พิจารณาความถูกต้อง ครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐาน ข้อบังคับ และวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรรวมทั้งบัญชี ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภค สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว ให้รับคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และให้ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการแขวง หรือที่ทำการกำนันแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และบริเวณที่ดินที่ทำการจัดสรรมีกำหนดสามสิบวัน 18
  2. มีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาต หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภคทราบ ตามที่อยู่ที่ได้ให้ไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่
    • กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาต หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภคไม่คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา จดทะเบียนนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรต่อไป
    • กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้รับโอนใบอนุญาต หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็น สาธารณูปโภค คัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดสาขา ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดพิจารณาต่อไป
  3. เมื่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้จัดสรรที่ดินไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ใน การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคจริง ให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้าประกันการ บำรุงรักษาสาธารณูปโภคกับคณะกรรมการฯ เมื่อผู้จัดสรรที่ดินน าส่งสัญญาค้าประกันการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ยกเลิกคำขอจดทะเบียน จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น แต่หากผู้จัดสรรที่ดินไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ ให้เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อไป
  4. เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา ๗๐ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.๒๕๔๓ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจดทะเบียนโอน ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ได้จัดตั้งขึ้นต่อไป และตามมาตรา ๑๐ แห่ง พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า หากได้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไว้ตามมาตรา ๗๐ แล้ว ให้ถือว่าทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยผลของ กฎหมายไว้แล้ว หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการท าประโยชน์มาจดทะเบียนโอน พนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถออกใบแทนโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อดำเนินการจดแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรได้

ปิดบัญชี งบการเงินนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

ปิดบัญชี และ จัดทำงบการเงิน

  • ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 เมษายน
  • จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อ ตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน

จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นรอบบัญชี โดยคณะกรรมการบริหารจะต้องแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขึ้นเพื่อการตรวจสอบบัญชี

การยื่นงบการเงิน

  • ยื่นงบการเงินต่อ กรมที่ดินภายในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับวันแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
  • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
  • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ไว้ ณ สถานที่ทำการ
  • เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อาคารชุด ต้อง จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือไม่

โดยปกติแล้วนิติบุคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเป็นนิติบุคคลประเภท ไม่แสวงหาผลกำไร แต่หากมีรายได้จากนำส่วนกลางไปใช้ประโยชน์ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ตลาด เป็นต้น อาจจำเป็นต้องจด และยื่น ภงด 50 เพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร ตอนสิ้นปี

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อาคารชุด ต้องเสียภาษีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีภาษีที่เกี่ยวที่ต้องเสีย คือ ภาษี หัก ณ ที่จ่ายที่ ที่เกิดจาก เช่น การจ้าง รปภ. คนตัด คนกวาดขยะ เป็นต้น หรือหากมีการจ้างพนักงานประจำ ที่มากกว่า 1 คนขึ้นไปก็ต้องมีการหักประกันสังคมเพื่อนำส่งให้ประกันสัมคมอีกด้วย

นิติบุคคลหมู่บ่านจัดสรรจดจัดตั้งที่ไหน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จดจัดตั้งที่ กรมที่ดิน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องจัดทำบัญชีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องจัดทำบัญชี ตาม พรบ.ที่ดินจัดสรร และยังจำเป้นต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องใช้ผู้สอบบัญชีหรือไม่

นิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชี และผู้จัดทำบัญชี อาจเป็นหน้าที่ของผู้จัดการที่นิติบุคคลเป็นผู้จ้างให้มาดูและ

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องมีผู้ทำบัญชีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเป็นต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี โดยผู้ทำบัญชีต้องมี คุณสมบัติ และเงื่อนไข ตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนด

หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เหมือนกันการจัดทำบัญชีนิติบุคลทั่ว ๆ ไป คือ

หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เหมือนกันการจัดทำบัญชีนิติบุคลทั่ว ๆ ไป โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย
2. บัญชีรายวันทั่วไป
3. บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
4. บัญชีสินค้า สต๊อกสินค้า (ถ้ามี)
5. บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น

ความสำคัญของบัญชีในหมู่บ้านจัดสรร

การจัดการ บัญชีหมู่บ้านจัดสรร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการควบคุมการเงินและงบประมาณของนิติบุคคลหมู่บ้านให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งการทำบัญชีที่มีระบบจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาด้านการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้


1. ทำไมบัญชีหมู่บ้านจัดสรรจึงสำคัญ?

บัญชีของหมู่บ้านจัดสรรเกี่ยวข้องกับการบริหารค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค และค่าบำรุงรักษาส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งการมี ระบบบัญชีที่ดี จะช่วยให้สามารถติดตามรายรับ-รายจ่ายได้อย่างชัดเจน

ข้อดีของการทำบัญชีที่เป็นระบบ

เพิ่มความโปร่งใส – ลดข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เงินของนิติบุคคล
ช่วยวางแผนงบประมาณ – สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายรายปีให้เหมาะสม
ลดปัญหาความขัดแย้ง – ป้องกันการโต้แย้งเกี่ยวกับเงินกองทุนของหมู่บ้าน
ปฏิบัติตามกฎหมาย – เป็นไปตามมาตรฐานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า


2. หน้าที่ของบริษัทบัญชีในการจัดการบัญชีหมู่บ้านจัดสรร

การทำบัญชีของหมู่บ้านจัดสรรต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีที่สามารถจัดการเอกสาร รายงานทางการเงิน และการยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การเลือกบริษัทบัญชีที่มีประสบการณ์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

บริษัทบัญชีจะช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น:
📌 การทำงบการเงินประจำปี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
📌 การจัดทำรายงานรายรับ-รายจ่าย ของนิติบุคคลหมู่บ้าน
📌 การวางแผนภาษีและการยื่นภาษี ให้เป็นไปตามข้อกำหนด
📌 การให้คำแนะนำทางบัญชี เพื่อช่วยให้การบริหารเงินมีประสิทธิภาพ


3. เลือกบริษัทบัญชีใกล้ฉัน เพื่อความสะดวกในการบริหารงาน

หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการด้านบัญชีสำหรับหมู่บ้านจัดสรร การเลือกบริษัทบัญชีที่อยู่ใกล้คุณ จะช่วยให้การติดต่อและการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกล และยังสามารถเข้าใจระบบของหมู่บ้านในพื้นที่ของคุณได้เป็นอย่างดี

📍 ค้นหาบริการบัญชีที่เหมาะสมกับคุณได้ที่ 👉 บริษัทบัญชีใกล้ฉัน


สรุป

บัญชีหมู่บ้านจัดสรรเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการด้านการเงินของนิติบุคคลหมู่บ้าน หากต้องการให้การทำบัญชีเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้บริการจาก บริษัทบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญ และอยู่ใกล้คุณ จะช่วยให้การทำงานสะดวกและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 5

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

บทความจากเว็บ รับทำบัญชี.COM
อ่านบทความทั้งหมด https://รับทําบัญชี.com/accounting-services

บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
คาเฟ่อเมซอนแชร์ประสบการณ์ลักษณะ 7 Café Amazon บัญชีรับจ่าย

คาเฟ่อเมซอนแชร์ประสบการณ์ลักษณะ 7 Café Amazon บัญชีรับจ่าย

ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาด เทคนิคล่าสุดกับ 7P 4P ที่น่าสนใจใหม่ๆ?

ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาด เทคนิคล่าสุดกับ 7P 4P ที่น่าสนใจใหม่ๆ?

ประเภทของการลงทุน 9 รูปแบบ ทางการเงิน 2 มี เป้าหมายรายได้?

ประเภทของการลงทุน 9 รูปแบบ ทางการเงิน 2 มี เป้าหมายรายได้?

สิทธิหน้าที่สำหรับผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายมี 1 กรรมสิทธิ์ใน?

สิทธิหน้าที่สำหรับผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายมี 1 กรรมสิทธิ์ใน?

ปลูกกล้วยน้ำว้ารายได้ผลผลิตต่อไร่ 1 ไร่ การดูแลรักษาแปลงปลูก

ปลูกกล้วยน้ำว้ารายได้ผลผลิตต่อไร่ 1 ไร่ การดูแลรักษาแปลงปลูก

คลินิกกายภาพบำบัดราคาเหมาะสมบริการครบจบ 7 พื้นฐานรูปแบบใหม่ๆ

คลินิกกายภาพบำบัดราคาเหมาะสมบริการครบจบ 7 พื้นฐานรูปแบบใหม่ๆ

วิธีหาลูกค้าง่ายอยากบริการทำที่บ้านธุรกิจรวยเงียบ 9 ทุนน้อย?

วิธีหาลูกค้าง่ายอยากบริการทำที่บ้านธุรกิจรวยเงียบ 9 ทุนน้อย?

สินค้าคงเหลือของกิจการซื้อมาขายไป 9 สูงต่ำมีผลกระทบอย่างไร?

สินค้าคงเหลือของกิจการซื้อมาขายไป 9 สูงต่ำมีผลกระทบอย่างไร?

ค่าส่งเสริมการขาย ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9 ตัวอย่างของกิจกรรม?

ค่าส่งเสริมการขาย ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9 ตัวอย่างของกิจกรรม?

คาเฟ่อเมซอนแชร์ประสบการณ์ลักษณะ 7 Café Amazon บัญชีรับจ่าย

คาเฟ่อเมซอนแชร์ประสบการณ์ลักษณะ 7 Café Amazon บัญชีรับจ่าย

ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาด เทคนิคล่าสุดกับ 7P 4P ที่น่าสนใจใหม่ๆ?
ประเภทของการลงทุน 9 รูปแบบ ทางการเงิน 2 มี เป้าหมายรายได้?
สิทธิหน้าที่สำหรับผู้ฝากขายและผู้รับฝากขายมี 1 กรรมสิทธิ์ใน?
ปลูกกล้วยน้ำว้ารายได้ผลผลิตต่อไร่ 1 ไร่ การดูแลรักษาแปลงปลูก
คลินิกกายภาพบำบัดราคาเหมาะสมบริการครบจบ 7 พื้นฐานรูปแบบใหม่ๆ
วิธีหาลูกค้าง่ายอยากบริการทำที่บ้านธุรกิจรวยเงียบ 9 ทุนน้อย?
สินค้าคงเหลือของกิจการซื้อมาขายไป 9 สูงต่ำมีผลกระทบอย่างไร?
ค่าส่งเสริมการขาย ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9 ตัวอย่างของกิจกรรม?
ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการตลาด 2 วิธี มีเป้าหมายรายได้?
บุคลิกภาพของนักบัญชีจุดอ่อนแข็งของนักบัญชี 1 สายอาชีพกำหนด?