ภาษี
ทำไมต้องจัดเก็บภาษี
รัฐบาลนั้นมีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยให้บริการสาธารณะ เช่น สร้างโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคต่างๆ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ไม่มีใครกล้าลงทุน ทำแล้วไม่คุ้ม รัฐจึงต้องเป็นผู้ลงมือทำในการทำโครงการเหล่านี้ และต้องใช้เงินจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงเรียน การจราจร เงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
คำถาม คือ รัฐบาลจะไปเอาเงินมาจากที่ไหน คำตอบคือ จากการจัดเก็บจากประชาชน หรือที่เราเรียกกันว่า “ ภาษี ” นั้นเอง ซึ่งภาษีก็เปรียบเสมือนค่าส่วนกลางที่ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันจ่ายเพื่อรับบริการสาธารณะและบำรุงรักษาไว้
ภาษีแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
ภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษีทางตรง
ภาษีทางอ้อม
ภาษีคืออะไร สรุป
ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่บริการประชาชน และใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานราชการต่าง ๆ เรียกได้ว่าการเรียกเก็บภาษีจากราษฎร เป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในการบริหารประเทศ เพื่อให้รัฐสามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่มีต่อประชาชน ในการดูแลความผาสุขของประชาชน และ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
อากร คือ
ภาษีอากร คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากบุคคล เพื่อนาไปใช้จ่ายในการบริหารประเทศเป็นรายได้ที่สาคัญ
ที่สุดของรัฐ ภาษีอากรที่รัฐจัดเก็บมีทั้งภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม แยกออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่เก็บจากเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้นิติบุคคล ภาษี
การค้า และอากรแสตมป์
2. ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากสิ่งประดิษฐ์และผลิตขึ้นในประเทศ
3. ภาษีศุลากร เป็นภาษีที่เก็บจากสินค้าที่นาเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ
ภาษีทางตรง
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บโดยตรงจากผู้ที่มีรายได้ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องรับภาระไว้เองทั้งหมด เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตัวอย่างภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีที่เรามีหน้าที่จะเสียของเราเองเมื่อเรามีรายได้เอง จะให้คนอื่นเสียแทนไม่ได้ ต้องจ่ายเองเท่านั้น ไม่สามารถพลักภาระได้ เมื่อมีรายได้ทั้งปี จะต้องนำมาเสียภาษี โดย นำรายได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน เพื่อให้ได้กำไรสุทธิ และหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) แล้วนำไปคำนวนภาษี จากฐานภาษีรายได้ โดยใช้ อัตราก้าวหน้าในการคำนวนภาษี บุคคลธรรมดา เป็นต้น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน
- ภาษีบำรุงท้องที่
- ภาษีมรดก
- ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ
หมายเหตุ : โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดเก็บ
ภาษีทางอ้อม
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บรวมไปกับการซื้อสินค้าหรือบริการผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องได้เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร
ตัวอย่างภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เกิดจากการดำเนินกิจการการซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยเจ้าของกิจการจะผลักภาระ ให้กับลูกค้า โดยการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการนั่นเอง เช่นการซื้อสินค้า 100 บาทแล้วบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท แล้วนำ 7 บาทที่บวกเพิ่มนำส่งกรมสรรพากร เป็นต้น
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีสรรพามิต
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีศุลกากร
- ภาษีทางการค้า
- ค่าธรรมเนียมอากรต่าง ๆ
หมายเหตุ : ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคล โดยมิได้พิจารณาฐานะความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคล นั้น
- ภาษีทางตรง เรียกเก็บจาก บุคคล มีหน้าที่ เสียเองเมื่อ บุคคลมีรายได้
- ภาษีทางอ้อม บวกเพิ่มหรือแฝงไปกับ สินค้าหรือบริการ
อัตราภาษี คือ
- อัตราก้าวหน้า: ยิ่งได้เงินมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก
- อัตราคงที่: ทุกคนจ่ายอัตราเดียวกัน
- อัตราเหมาจ่าย: เหมาจ่ายไม่ต้องคิดเยอะ
- อัตราถดถอย: รายได้ยิ่งมาก ยิ่งจ่ายภาษีน้อยลง
- อัตราภาษีบุคคลธรรมดา
- อัตราภาษีนิติบุคคล
- อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
- อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- อัตราภาษีรถยนต์
- อัตราภาษีนำเข้า-ส่งออก (อากร)
- อัตราภาษีน้ำมัน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ภาษีอากรแต่ละประเภทมีลักษณะและวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน
เพิ่มเติม
ที่มา ของ คำว่าภาษี โดยคาดคะเนกันว่า น่าจะมาจาก คำในภาษาแต้จิ๋วว่า บู้ซี อันหมายถึง สำนักเจ้าพนักงาน ทำการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินซึ่งตั้งขึ้นจากระบบเจ้าภาษีนายอากรนี่เอง คำว่าภาษีนี้ จะใช้กับอากรที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อให้ฟังดู แตกต่างจากอากรเก่าที่เคยจัดเก็บมาแต่โบราณ ดังที่ปรากฎในหนังสือพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายว่า
“ เกิดอากรขึ้นใหม่ๆ ได้เงินใช้ในราชการแผ่นดิน ดีกว่ากำไรค้าสำเภา อากรเหล่านั้นให้เรียกว่า ภาษี เพราะเป็นของที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนหนึ่งเป็นกำไร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้เห็นว่าเงินเก่าเท่าใด เกิดขึ้นในรัชกาลของท่านเท่าใด การบังคับบัญชาอากรเก่าใหม่เหล่านี้ จึงได้แยกออกเป็นสองแผนก อากรเก่าอยู่ในพระคลังมหาสมบัติ อากรใหม่ซึ่งเรียกว่า ภาษี อยู่ในกรมพระคลังสินค้า คงเรียกชื่อว่าอากรอยู่ แต่หวยจีนก.ข. ซึ่งเป็นของเกิดใหม่แต่คล้ายกับอากรบ่อนเบี้ยของเดิม จึงคงเรียกว่าอากร แต่ก็คงยกมาไว้ในพวกภาษีเหมือนกัน ”
ที่มา https://www.rd.go.th/3458.html
สรุป
ภาษียังเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลช่วงไหนเศรษฐกิจไม่ดีหากรัฐบาลลดการเก็บภาษีประชาชนจะมีเงินในมือเยอะขึ้นเหมือนมีรายได้มากขึ้นทำให้ฉันจ่ายให้มากขึ้นเพื่อสะกิดรัฐบาลสามารถใช้ภาษีสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจของคนลดภาษีให้กับธุรกิจที่ต้องการส่งเสริมทำให้คนอยากลงทุนมากขึ้นหรือเก็บภาษีในสิ่งที่ไม่อยากให้คนซื้อเช่นสินค้าฟุ่มเฟือยสินค้านำเข้าสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพเพราะเมื่อมีราคาแพงขึ้นคนก็อยากจะซื้อน้อยลงนอกจากนั้นภาษียังช่วยกระจายรายได้สร้างความเท่าเทียมรถจะเก็บเงินคู่ที่มีมากเพื่อนำเงินไปทำสวัสดิการให้บริการกับผู้ที่มีรายได้น้อยอีกด้วย
- TAX (ภาษี) คือ สิ่งที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร โดยแบ่งเป็นภาษีทางตรง (ภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้) และภาษีทางอ้อม (ภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้)
- VAT กรมสรรพากรให้นิยามของ VAT (Value Added Tax) หรือภาษีมูลค่าเพิ่มว่าเป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจัดอยู่ในภาษีทางอ้อม
ลดหย่อนภาษี คืออะไร
ลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงเมื่อ คำนวณภาษี หรืออาจช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น.
แก้ไขครั้งสุดท้าย ธันวาคม 25, 2022
บัญชีปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 10 ปี
แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ
สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ขายของออนไลน์ จ้างทำบัญชี ค่าบริการ ทำบัญชี
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษีอย่างไร ดียังไง