ออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอย่างไร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารทางภาษีที่จะต้องออกให้กับลูกค้าเสมอโดยเฉพาะใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ดังนั้นจะต้องระมัดระวังว่าจะต้องออกเมื่อใดหรือออกอย่างไรจึงจะไม่ผิดพลาดเพราะจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับเงินได้ วันนี้เราก็เลยสรุปหลักเกณฑ์เพื่อให้จำกันได้ง่ายๆ และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
- การออกใบกำกับภาษี ไก้กำหนดเอาไว้ว่าให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายหรือให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำทันทีเมื่อมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีก็ให้เก็บรักษาไว้ หากผู้ประกอบการไม่ออกใบกำกับภาษี จะมีโทษดังนี้ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เสียเบี้ยปรับสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี
- การออกใบเสร็จรับเงิน ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคา จะต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้จ่ายเงิน หรือผู้ชำระราคา ทันทีและทุกครั้งที่รับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม แต่มีเงื่อนไขจำนวนเงินที่ต้องออกใบรับตามกฏหมาย คือ หากเป็นผู้ปรกอบการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร จะต้องออกใบเสร็จรับเงินเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการแต่ละครั้งเกิน 100 บาท หากผู้ประกอบการไม่ออกใบรับจะมีโทษคือ ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ