เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่าย

รับทำบัญชี.COM | เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่ายเสียภาษีเงินได้

Click to rate this post!
[Total: 84 Average: 5]

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่าย

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่าย เสียภาษี เงินได้

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
– กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12
– กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24
– กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52
การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริง
สำหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9
(2) ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่าย
ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น
กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
(3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หัก
รวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี
(4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) – (3)
(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษ
เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด
ให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น
แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น
(6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป
(7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก

ภาษี หมายถึงเงินที่เรียกเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพและภาษีที่ได้จากการประกอบกิจการทางการค้า บริการ และอุตสาหกรรม และภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนเมื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประชาชนทุกคนจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเพราะประโยชน์ของการเสียภาษีจะกลับมาตอบแทนประชาชนใน 2 ลักษณะคือ
1. นำไปจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเพื่อให้บริการประชาชนและใช้จ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานที่ราชการต่างๆ
2. นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างโรงเรียน เป็นต้น ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมีอยู่มากมายหลายประเภท
แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล เหตุผลก็เนื่องมาจากมีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจใหม่ ที่กิจการยังไม่มีขนาดใหญ่โตมากนัก จึงเข้าเกณฑ์ของภาษีทั้ง 2 ประเภทนี้มากที่สุด ซึ่งรายละเอียดของภาษีทั้ง 2 ประเภทมีดังต่อไปนี้
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไป ตามที่กฎหมายบัญญัติและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเจ้าของกิจการหรือธุรกิจอะไรก็ตามแต่ ที่มีตัวเองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว จะเข้าข่ายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ โดยปกติจะทำการเรียกเก็บเป็นรายปี โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆก็ตาม ผู้มีรายได้ต้องนำไปยื่นแสดงรายการภาษีที่กำหนดในช่วงระหว่างเดือนมกราคถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล
คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ซึ่งจะเรียกเก็บจากนิติบุคคล ที่มีความหมายถึงการรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในการจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในที่นี้หมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ฯลฯ ด้วยเป็นต้น

 
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่าย
เงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะถูกหักณที่จ่าย

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )