การเลิกบริษัท เลิกกิจการ (ไม่) เสร็จการชำระบัญชี

Click to rate this post!
[Total: 244 Average: 5]

การเลิกบริษัท

เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใดๆโดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีภายใน 90 วันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ

และให้สารวัตรใหญ่บัยชีเก็บรักษาเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอให้สารวัตรใหญ่มีอำนาจขยายเวลาส่งมอบบัญชีแลกเอกสารได้

แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180 วันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชีมีอำนาจเรียกให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด

การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี

การเลิกบริษัท บริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลซึ่งมีสภาพเหมือนบุคคลตามกฎหมาย เมื่อจะเลิกกิจการอาจเลิกโดยผลแห่งกฎหมายหรือเลิกโดยคำสั่งศาลก็ได้ ดังนี้

การเลิกบริษัท
การเลิกบริษัท
  1. ถ้าในข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้เลิกกิจการในกรณีใด เมื่อเกิดกรณีนั้นขึ้นบริษัทก็ต้องเลิกกิจการทันที เช่น ข้อบังคับของบริษัทแห่งหนึ่งระบุว่าถ้าบริษัทมีผู้ถือหุ้นถึง 100 คนเมื่อใดให้ถือว่าบริษัทเป็นอันเลิกกัน เมื่อใดที่บริษัทแห่งนี้มีผู้ถือหุ้น 100 คน บริษัทก็ต้องเลิกกิจการ
  2. ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้นก็ต้องเลิกกัน เช่น บริษัทตกลงตั้งขึ้นเพื่อทำการค้ามีกำหนดเวลา 15 ปี เมื่อดำเนินการครบกำหนด 15 ปีแล้วก็ต้องเลิกบริษัท
  3. ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อทำกิจการใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จการนั้นก็ต้องเลิก เช่น บริษัทตั้งขึ้นเพื่อรับเหมาก่อสร้างศูนย์การค้าแห่งหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นบริษัทก็เป็นอันเลิกกัน
  4. เมื่อมีมติพิเศษให้เลิก เช่น บริษัทดำเนินงานขาดทุนทุกปีและไม่มีทางได้กำไรเลย
  5. เมื่อบริษัทล้มละลาย เช่น บริษัทมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก เจ้าหนี้จึงฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อศาลพิพากษาให้บริษัทล้มละลายเมื่อใดบริษัทก็ต้องเลิกกันเมื่อนั้น
  6. คำสั่งศาลให้เลิกบริษัทด้วยเหตุดังต่อไปนี้
    • ถ้าทำผิดในการยื่นรายงานตั้งบริษัทหรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท เช่นไม่ส่งรายงานการตั้งบริษัทไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนอย่างน้อย 7 วันก่อนวันประชุม
    • ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายใน 1 ปีนับแต่วันจดทะเบียนหรือหยุดทำการถึงหนึ่งปีเต็ม
    • ถ้าการดำเนินงานของบริษัททำไปก็มีแต่จะขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีทางหวังว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้
    • ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนไม่ถึงเจ็ดคน

การชำระบัญชี เมื่อบริษัทจำกัดเลิกดำเนินกิจการจะต้องมีการชำระบัญชี แต่ถ้าบริษัทเลิกเพราะเหตุล้มละลายจะต้องจัดการตามพระราชบัญญัติ โดยปกติบริษัทเอกชนจำกัดมักจะมีข้อบังคับกำหนดไว้ว่าจะตั้งใครเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกบริษัท ถ้าไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย คือกรรมการบริษัททำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชี กรณีไม่มีผู้ชำระบัญชีดังกล่าว พนักงานอัยการหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีก็ได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ชำระบัญชีจะได้แก่บุคคลซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้น นายทะเบียนหรือศาลแล้วแต่กรณีแต่งตั้ง บริษัทที่เลิกกิจการยังถือว่าคงตั้งอยู่จนกว่าจะชำระบัญชีเสร็จ

การบัญชีเกี่ยวกับการชำระบัญชีเลิกบริษัท

เมื่อบริษัทเลิกดำเนินงานผู้ชำระบัญชีจะต้องจัดการขายสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่ จัดการเก็บเงินจากลูกหนี้เพื่อรวบรวมเงินสดไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆและหนี้สินทั้งหมดในการชำระบัญชี เงินสดที่เหลือจึงคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นในการขายสินทรัพย์อาจจะขายได้กำไรหรือขาดทุนก็ได้ กำไรหรือขาดทุนดังกล่าวจะบันทึกไว้ในบัญชีกำไรขาดทุนในการขายสินทรัพย์ ขั้นตอนในการบันทึกบัญชีจะทำตามลำดับดังนี้

  1. การโอนปิดส่วนของผู้ถือหุ้นไปบัญชีผู้ถือหุ้น โดยปกติหุ้นทุนของบริษัทคือหุ้นสามัญ บางบริษัทอาจมีหุ้นบุริมสิทธิด้วย โอนปิดส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญซึ่งประกอบด้วยทุนหุ้นสามัญ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญและเงินปันผลหุ้นสามัญค้างจ่าย ถ้ามีไปบัญชีผู้ถือหุ้นสามัญ โอนปิดส่วนของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งประกอบด้วยทุนหุ้นบุริมสิทธิ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ และเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิค้างจ่ายถ้ามีไปบัญชีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ

(หุ้นบุริมสิทธิคือ ตราสารที่มีผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ)

  1. การโอนหุ้นกู้ไปบัญชีผู้ถือหุ้นกู้ บริษัทที่มีเงินกู้ยืมระยะยาวจากการออกหุ้นกู้จะโอนปิดบัญชีหุ้นกู้ และดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างจ่ายถ้ามี ไปบัญชีผู้ถือหุ้นกู้
  2. การโอนสำรองต่างๆไปบัญชีกำไรสะสม สำรองต่างๆของบริษัทเช่นสำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อขยายกิจการ สำรองเพื่อไถ่ถอนหุ้น
  3. การโอนปิดบัญชีค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและบัญชีส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้หรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้ไปบัญชีกำไรขาดทุนในการขายสินทรัพย์หากบริษัทยังคงมีค่าใช้จ่ายในการตั้งบริษัท ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ หรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้เหลืออยู่เนื่องจากยังตัดจำหน่ายไม่หมด จะต้องโอนปิดบัญชีเหล่านี้ไปยังกำไรขาดทุนในการขายสินทรัพย์
  4. การบันทึกบัญชีเมื่อมีการขายสินทรัพย์ หมายความรวมถึงการเก็บเงินจากลูกหนี้ด้วย ในการขายสินทรัพย์เงินสดที่ได้รับอาจจะเท่ากับ มากกว่าหรือน้อยกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์
  5. การชำระหนี้สิน ภายหลังจากการขายสินทรัพย์และเก็บเงินจากลูกหนี้แล้ว ผู้ชำระบัญชีจะจ่ายชำระหนี้สินให้แก่บุคคลภายนอกซึ่งรวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้
  6. การปิดบัญชีกำไรขาดทุนในการขายทรัพย์ เมื่อขายสินทรัพย์และชำระหนี้สินทั้งหมดแล้วจะปิดบัญชีกำไรขาดทุนในการขายสินทรัพย์ไปบัญชีกำไรสะสม
  7. การปิดบัญชีกำไรสะสม กำไรสะสมที่บริษัทเหลืออยู่ทั้งหมดเป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ จึงปิดบัญชีกำไรสะสมไปบัญชีผู้ถือหุ้นสามัญ
  8. การจ่ายคืนทุนให้ผู้ถือหุ้น ในการคืนทุนนั้น ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเงินสดที่เหลืออยู่หลังจากคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะเท่ากับจำนวนที่จะคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญพอดี

การเลิกบริษัท และชำระบัญชี บริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลคำสั่งศาลหรือไม่

การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี

การเลิกบริษัท บริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลซึ่งมีสภาพเหมือนบุคคลตามกฎหมาย เมื่อจะเลิกกิจการอาจเลิกโดยผลแห่งกฎหมายหรือเลิกโดยคำสั่งศาลก็ได้

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์

คำขอ : แบบ ลช.1,หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช.1)
รายการ แบบ ลช.2
เอกสารประกอบรายการ
-สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ถ้ามี)
-สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ในการตั้งผู้ชำระบัญชีหรือตั้งผู้อื่นที่ไม่ใช่กรรมการทุกคนเป็นผู้ชำระบัญชี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทุกคนที่ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ดังกล่าว (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
-สำเนาใบมรณบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
-สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
-สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
-หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

Leave a Comment

Scroll to Top