ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็น 9 กลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัทใหม่จบ?
ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัท
ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักธุรกิจหน้าใหม่ ก้าวเข้าสู่วงการกลายเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME โดยมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างกัน ทั้งก่อตั้ง และดำเนินการโดยเจ้าของกิจการคนเดียว หรือร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นหรือเป็นกลุ่มคณะในรูปแบบของบริษัท
อย่างไรก็ตามหากมองย้อนไปในอดีต รูปแบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมจดทะเบียนสำหรับกิจการเริ่มต้นขนาดเล็ก คงหนีไม่พ้นการจัดตั้งในรูปแบบห้างหุ้นส่วน เนื่องจากมีการร่วมลงทุน ความรู้ ความชำนาญกับบุคคลอื่นทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตได้ไวกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว อีกทั้งมีอัตราค่าธรรมเนียมและขั้นตอนการจดทะเบียนง่ายกว่าการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท และด้วยข้อดีดังกล่าวนี้จึงทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วน มีความเข้าใจในองค์กรธุรกิจรูปแบบนี้ยิ่งขึ้น ในบทความนี้จึงรวบรวมวิธีการและสาระสำคัญสำหรับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ดังนี้
- ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว โดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้น ส่วนไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
ห้างหุ้นส่วนสามัญคือบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกัน หุ้นส่วนทุกคนมีหน้ารับผิดชอบร่วมกันทั้งเงินทุนและหนี้สินที่เกิดขึ้นจากกิจการโดยไม่จำกัดความรับผิดชอบ ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียน ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญส่วนใหญ่เลือกไม่ทำการจด จึงไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลทั้งทางแพ่งและทางอาญา อย่างไรก็ตามยังมีห้างหุ้นส่วนจำนวนไม่น้อยที่ยื่นเรื่องของจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และถูกเรียกในนามว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
โดยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จะต้องมีการเตรียมการที่สำคัญ คือ
หุ้นส่วนทุกคนทำการตกลงกันในเรื่องสำคัญ เช่น ชื่อที่อยู่ของหุ้นส่วนทุกคน จำนวนเงินลงทุนของแต่ละคน วัตถุประสงค์ของกิจการ สถานที่ตั้ง ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ (ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนหุ้นส่วนทั้งหมด) และข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
ขอตรวจสอบและทำการจองชื่อห้างหุ้นส่วน เพื่อไม่ให้มีชื่อซ้ำกับห้างหุ้นส่วนอื่นๆที่ได้จัดตั้งไปก่อนหน้าแล้ว
จัดทำตรายางของห้างหุ้นส่วนและกรอกรายละเอียดในเอกสารคำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วน
จากนั้นหุ้นส่วนทุกคนไปจดทะเบียนพร้อมกันที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนได้ หรือใช้วิธียื่นขอออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th เมื่อนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร จากนั้นให้พิมพ์เอกสารคำขอจดทะเบียนพร้อมลงลายมือชื่อและตราประทับและส่งกลับมาที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทางไปรษณีย์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ดังนี้คือ
(1) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
(2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนที่ประกอบไปด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด ซึ่งอาจต้องรับภาระหนี้สินมากกว่าเงินที่นำมาลงทุน แต่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่มีอำนาจบริหารกิจการและลงนามแทนหุ้นส่วนคนอื่น
หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบหนี้สินเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่ได้ร่วมทุนในกิจการเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิในการรับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
หลังจากมีการเจรจาข้อตกลงต่างๆที่สำคัญพร้อมทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร จะมีการขั้นตอนดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเช่นเดียวกับการจดทะเบียนในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เพียงแต่ระบุรายการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และเมื่อการจดทะเบียนเสร็จสิ้น จะได้รับเอกสารเป็นหนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรองพร้อมทั้งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายต่อไป
ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นประกอบกิจการใดๆก็ตาม การวางแผน เลือกจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจให้เหมาะสมกับกิจการของตนเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยบริหารต้นทุนและกำไรให้กิจการ ซึ่งหากเป็นกิจการเริ่มต้นขนาดเล็ก มีผู้ร่วมลงทุนน้อย และต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งความรู้ ความเชี่ยวชาญร่วมกัน การจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย
- การดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
เมื่อ มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงใจที่จะเข้าร่วมลงทุนประกอบกิจการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด ประเภทหนึ่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ กรณี ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จะเป็นได้เฉพาะแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
- การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ใน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
- รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
(1) ชื่อห้างหุ้นส่วน
(2) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
(3) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
(4) ผู้เป็นหุ้นส่วน
(5) หุ้นส่วนผู้จัดการ
(6) ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
(7) ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
(8) รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
(9) ควบห้างหุ้นส่วน
- วิธีการจดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
(1) ในกรณีจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อห้าง ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ขอตรวจและจองชื่อห้างหุ้นส่วนเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำหรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน
(2) ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
(3) จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
(4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
(5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่
(6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
- การลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและ เอกสารประกอบคำขอด้วยตนเอง จะมอบหมายบุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทนไม่ได้
(2) หุ้นส่วนผู้จัดการผู้ขอจดทะเบียนซึ่งต้องลงชื่อในคำขอจดทะเบียน จะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงต้นฉบับบัตรประจำตัว หรือ
(3) ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนตาม (2) ให้หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อต่อหน้าสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา หรือทนายความก็ได้
- สถานที่รับจดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่วนจดทะเบียนกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภูมิกาค สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ยกเว้น จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี สามารถขอจดทะเบียนได้ทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th อีกทางหนึ่ง
- หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน
ห้าง หุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มีหน้าที่ ต้องจัดทำงบการเงินประจำปี ยื่นต่อสำนักบริหารข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด แล้วแต่กรณี ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
- กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(2) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ได้เปลี่ยนตัว
(3) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
(4) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
(5) การยื่นรายงานการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด
* ยื่นแบบขอจองชื่อห้างหุ้นส่วนเพื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำกับห้างหุ้นส่วนบริษัทอื่น
* กรอก รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน กิจการที่จะทำ สานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผุ้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) พร้อมกับ ประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง และให้ หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียน (ปกติการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล /ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านาย ทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท ในกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการไม่ประสงค์จะไปลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนก็สา มาร จะลงลายมือชื่อต่อหน้าสามัญหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อเป็นการรับรองลายมือชื่อ ของตนได้ในอีกทางหนึ่ง) หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นจดทะเบียนแทนก็ได้
* เสีย ค่าธรรมเนียมโดยนับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน เสีย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กรณีเกิน 3 คน จะเสียค่าธรรมเนียมหุ้นส่วนที่เกินเพิ่มอีกคนละ 200 บาท
* เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วจะได้รับหนังสือรับรองและใบสำคัญเป็นหลักฐาน
อ่านเพิ่มเติม >> ประชุมสามัญ
บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
รับทำบัญชี
โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
แนวข้อสอบบัญชีเบื้องต้น พื้นฐานของโลกธุรกิจ ที่เน้นการ บันทึก-จัดประเภท-สรุปผลทางการเงิน ของกิจการ ผู้เรียนต้องเข้าใจ บัญชีเดบิต เครดิต งบการเงิน รายการ
สมัครงานตำแหน่งบัญชี เนื่องจากทุกธุรกิจ ต้องมีการจัดการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือองค์กรใหญ่ นักบัญชี คือหัวใจในการควบคุมงบประมาณ บันทึก
Brought Forward บัญชี ยอดยกมา หรือยอดคงเหลือจากงวดก่อนหน้า ที่ถูกนำมาตั้งต้นเป็นยอดเริ่มต้นในงวดปัจจุบัน เช่น หากคุณมียอดเงินสดในเดือนมิถุนายน
บัญชีบัตรเครดิต บัญชีทางบัญชีประเภทเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) ที่บันทึกภาระหนี้สินของผู้ถือบัตรกับสถาบันการเงินเจ้าของบัตร เมื่อคุณใช้บัตรเครดิตซื้อ
บัญชีโก: พลิกชีวิตเจ้าของธุรกิจด้วยการจัดการบัญชีอย่างม […]
บัญชีธนาคาร Shopee การบัญชีให้ถูกต้อง เพิ่มยอดขายแบบมือโปร! หรือเพิ่งเริ่มต้นขายของในแพลตฟอร์มนี้ คำว่า “บัญชีธนาคาร Shopee” ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ