ชื่อบริษัทร้าง คือ นิติบุคลร้าง เราจะนำใช้ใหม่
บริษัทจำกัดสถานะ “ร้าง” คือบริษัทที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง มีผลให้บริษัทเป็นอันเลิกกันตั้งแต่เมื่อโฆษณาแจ้งความในหนังสือราชกิจจนุเบกษา ลักษณะบริษัทที่เข้าข่ายการเป็นบริษัทร้าง เมื่อปรากฏว่าบริษัทใดมิได้ส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี นับแต่ปีปัจจุบันย้อนหลังลงไป
ทั้งนี้ไม่ว่าบริษัทนั้นจะได้มีการติดต่อทางทะเบียนในเรื่องอื่นใดหรือไม่ หรือบริษัทที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชีมิได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันรับจดทะเบียนเลิกบริษัท และนายทะเบียนได้มีหนังสือบอกกล่าวเรียกให้ส่งรายงานการชำระบัญชีหรือให้มาจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ที่ลงในคำบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้ชำระบัญชีมิได้ปฏิบัติตาม ให้สันนิษฐานว่า บริษัทนั้นมิได้ทำการค้า หรือประกอบการงานหรือไม่มีผู้ชำระบัญชีทำการอยู่แล้วแต่กรณี
เมื่อปรากฎมูลเหตุเบื้องต้นอันเป็นข้อสันนิษฐานที่จะดำเนินการถอนทะเบียนร้างได้ ตามวรรคแรกแล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการตามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อถอนทะเบียนบริษัทให้เป็นบริษัทร้างต่อไป กรณีที่ปรากฎต่อนายทะเบียนในระหว่างดำเนินการเพื่อถอนทะเบียนบริษัทร้างว่าบริษัทยังคงทำการค้าหรือประกอบการงานอยู่ หรือยังมีตัวผู้ชำระบัญชีกระทำการชำระบัญชีอยู่หรือได้มีส่วนราชการใดมีหนังสือขอให้ระงับการถอนทะเบียนบริษัทร้างไว้ เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี หรือเพื่อประโยชน์ที่สำคัญอื่นใดของทางราชการ ให้นายทะเบียนพิจารณาระงับการถอนทะเบียนบริษัทร้างนั้น ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ป.พ.พ. ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท
ขั้นตอนการกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนมีดังนี้
1. บริษัทร้างที่ประสงค์จะกลับมาประกอบกิจการอีก จะต้องดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทเข้าสู่ทะเบียนตาม ป.พ.พ. 1246 (6)
2. วิธีการฟื้นคืนสู่ทะเบียน คือ บริษัท ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ จะต้องจ้างทนายไปร้องต่อศาลโดยยื่น คำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนสู่ทะเบียน ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่ยื่นร้องจนถึงศาลมีคำสั่งให้คืนสู่ทะเบียนใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน
3. เมื่อศาลมีคำสั่ง ให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนแล้ว ให้ผู้ร้องขอคัดสำเนาคำสั่งศาลโดยมีคำรับรองของเจ้าหน้าที่ศาลและทำหนังสือแจ้งนายทะเบียนเพื่อขอให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียน ตามคำสั่งศาลพร้อมแนบคำสั่งศาลมาด้วย (สำเนาคำสั่งศาลให้ส่งฉบับที่เจ้าหน้าที่ศาลได้รับรองความถูกต้องแล้ว)
4. นายทะเบียนเมื่อได้รับคำสั่งศาล แล้ว จะดำเนินการออกคำสั่งกลับจดทะเบียนคืนเข้าสู่ทะเบียนและแก้ไขข้อมูลรายการทะเบียนในหนังสือรับรอง พร้อมกับนำคำสั่งจดชื่อคืนสู่ทะเบียนส่งไปลงประกาศราชกิจจานุเบกษา
5. บริษัทเมื่อคืนสู่ทะเบียน ตามคำสั่งศาลแล้ว ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่เสมือนดั่งว่ามิได้มีการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (6) ซึ่งมีผลให้บริษัทกลับมามีสถานะเป็นนิติบุคคล มีสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายเหมือนเดิม
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
บัญชีทุน คืออะไร ในทางบัญชี เคลื่อนย้าย?
บริษัทนำเข้าสินค้า บริการมุ่งเน้นความสำเร็จ
อาชีพทั้งหมดมีอะไรบ้าง 350+ รู้จักอาชีพสุจริต ในฝัน น่าสนใจ?
ไม่ แสดง ความเห็น หน้า รายงานผู้สอบ?
ขั้นตอน การ ขอมีเลขประจำตัว ผู้เสียภาษี ใช้เอกสารอะไรบ้าง
รายได้เสริมออนไลน์ หา ไม่ต้องลงทุน ได้จริง?
บริการ ที่ บริษัทรับทำบัญชี สามารถทำได้?
บริษัทรับทำบัญชี ความต้องการ เปรียบเทียบ?
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 8 ข้อดี เสีย มีอะไร ที่ไม่มีใครพูด?