ตรวจสอบบัญชี
ตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่ให้ความเชื่อมัน สภาวิชาชีพ ในพระราชูปถัมภ์ ได้ออกแม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น (Framework for Assurance Engagement) ได้สรปุเรื่องที่มีสาระสำคัญไว้ดังนี้
- คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ และประเภทของงานที่ให้ความเชื่อมัน
- ขอบเขตของแม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมัน
- การรับงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น
- องค์ประกอบของงานที่ให้ความเชื่อมัน
การตรวจสอบบัญชี
การตรวจสอบ (Audit Test) หมายถึง การทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน แบ่งเนื้อหาขอบเขตการตรวจสอบได้ 3 ระดับ คือ
- สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
- วิธีการได้มาของหลักฐานการสอบบัญชี
- ประเภทของการสอบ
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
เช่น ผู้บริหารของกิจการได้ให้การรับรอง ว่าบัญชีมีเงินสดที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินนั้นมีอยู่จริง การหาหลักฐานสนับสนุน ก็คือ 1 มีตัวตนอยู่จริงท 2 แสดงด้วยจำนวนที่ถูกต้อง 3 เป็นของกิจการและไม่มีข้อจำกัดในการใช้ เป็นต้น สิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงในการรับรองงบการเงินมีดังนี้
- การจัดประเภทรายการและเหตุการณ์ของงวดบัญชีที่ตรวจสอบ
- การเกิดขึ้นจริง (Occurrence) รายการและเหตุการณ์ที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นยอดขายที่เกิดขึ้นต้องมาจากการขายจริง
- ความครบถ้วน (Completeness) รายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกบันทึกไว้ครบถ้วน ไม่ได้มีการละเว้น หรือบันทึกซ้ำซ้อน
- ความถูกต้อง (Accuracy) รายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกบันทึกไว้ด้วยจำนวนที่ถูกต้อง รวมทั้งการวัดมูลค่าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
- การตัดยอด (Cutoff) รายการและเหตุการณ์ได้บันทึกไว้ตรงตามงวดบัญชีที่ถูกต้อง เช่น หากสินค้าหรือบริการยังไม่ถึงงวดที่ตัดยอดก็ต้องคงค้างไว้ก่อนจนกว่าจะถึงงวด
- การจัดประเภท (Classification) รายการและเหตุการณ์ วิธีการได้มาของหลักฐานการสอบบัญชีว่าได้มาอย่างไร
- ยอดคงเหลือ
- ความมีอยู่จริง (Existence) ของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ วันสิ้นงวดบัญชี
- สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations) สินทรัพย์เป็นสิทธิของกิจการ และใช้ประโยชน์ในสินค้าคงเหลือ และหนี้สินเป็นภาระผูกพันของกิจการ
- ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึง กิจการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และสวนของเจ้าของทุกรายการหรือทั้งหมดโดยครบถ้วน ไม่ละเว้นการบันทึกบัญชี
- การแสดงมูลค่าและการปันส่วน (Valuation and Allocation) หมายถึง สินทรัพย์ หนี้สิน และ สวนของเจ้าของ แสดงในงบการเงินด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม การปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าและการปันส่วนได้ บันทึกบัญชีไว้อย่างเหมาะสม
- การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
- การเกิดขึ้นจริง และสิทธิและภาระผูกพัน (Occurrence and Rights and Obligations) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล (เหตุการณ์ รายการ และประมาณการอื่น) เกี่ยวกับสิทธิและภาระผูกพันที่เกิดขึ้นจริง และเกี่ยวข้องกับกิจการ
- ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดอย่างครบถ้วนใน งบการเงิน
- การจัดประเภทและการจัดข้อมูลให้เข้าใจง่าย (Classification and Understandability) หมายถึง การแสดงและอธิบายข้อมูลทางการเงินอย่างเหมาะสม และเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน
- ความถูกต้องและการแสดงมูลค่า (Accuracy and Valuation) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล ทางการเงินและข้อมูลอื่นอย่างถูกต้องตามควร และด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม
วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีจะมีวิธีการต่าง ๆ ซึ่งให้ได้มาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ โดยอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทุกวิธีก็ได้ วิธีการมีดังนี้
- การตรวจ (Inspection)
- การสังเกตการณ์ (Observation)
- การสอบถาม (Inquiry)
- การขอคำยืนยัน (Confirmation)
- การคำนวณ (Computation)
- การปฏิบัติซ้ำ (Reperformance)
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure)
1 การตรวจ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1การจตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน 2 การตรวจเอกสาร และการบันทึกบัญชี
- การตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น การตรวจเงินสด หลักทรัพย์ สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ถาวร เป็นต้น
- การตรวจเอกสาร และการบันทึกบัญชี เช่น การตรวจการบันทึกบัญชีตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นปลาย ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องการการบันทึกบัญชี หลักฐานเกี่ยวกับเอกสาร แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- เอกสารภายใน (Internal Document) เป็นเอกสารที่จักทำขึ้นจากภายใน ใช้และเก็บรักษาไว้โดยกิจการ เช่น ใบรับสินค้า บัตรลงเวลาทำงาน เป็นต้น และ
- เอกสารภายนอก (External Document ) เป็นเอกสารที่บุคคลภายนอกออกให้ แล้วกิจการได้รับมา เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือยืนยันยอดลูกหนี้ เป็นต้น
2 การสังเกตการณ์ (Observation) การสังเกตการณ์เป็นการดูขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติงานของบุคคลอื่น ที่ไม่อาจทิ้งร่องรอยไว้ให้ตรวจ เช่น
- การสั่งเกตการณ์การปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามกระบวนการที่บริษัทกำหนดไว้หรือไว้
- สังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า การรับส่งสินค้า การขายสินค้า ของแผนกคลังสินค้า เป็นต้น
3 การสอบกาม (Inquiry) เป็นหารหาข้อมูลจากบุคคลกรที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งบุคคลกรภาย หรือภายนอก อาจสอบถามเป็นคำพูด หรือเขียนหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
- ผู้สอบอาจเขียนหนังสือสอบถามทนายความเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องที่เกิดขึ้น หรือ
- ผู้สอบอาจสอบถามการใช้งานโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ในกิจการ เป็นต้น
4.การขอคำยืนยัน (Confirmation) เป็นการหาคำตอบจากข้อสอบถามที่ผู้สอบคิดขึ้น และเขียนสอบถามจากบุคคลภายนอกโดยเฉพาะ เช่น
- การส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดบัญชีลูกหนี้ จากลูกหนี้ของกิจการ
- การขอข้อมูลจากธนาคาร
- การขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องต่าง ๆ ของบริษัททั้งฟ้องคนอื่น หรือถูกคนอื่นฟ้อง เป็นต้น
5.การคำนวณ (Computation) การคำนวนในที่นี้เป็นการคำนวณโดยผู้สอบ โดยจะตรวจความถูกต้อของตัวเลขในเชิงคณิตศาสตร์ด้วยการคำนวนตัวเลขในเอกสารเบื้องต้น และการบันทึกบัญชี หรือจะเป็นการทดสอบ การคำนวนค่าเสื่อมที่เกิดขึ้น ดอกเบี้ยต่าง ๆ ค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า หรือรายการเกี่ยวกับค้างรับ ค้างจ่าย เป็นต้น
6.การปฏิบัติซ้ำ (Reperformance) เป็นการทดสอบด้วยตัวผู้สอบเอง โดยการทำซ้ำ ๆ เช่น ผู้สอบทดสอบการ เบิกจ่ายเงินสด การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้า ลองทำหลาย ๆ รอบ เป็นการใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เป็นต้น
7.การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure) เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มสำคัญรวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามคาดหมายหรือไม่ จากปีก่อน หน้าที่เกิดขึ้น
ประเภทของการตรวจสอบ
ผู้สอบบัญชีแบ่งประเภทของการตรวจสอบบการเงินตามวัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบถามบัญชีได้ 3 ประเภท ดังนี้
- วิธีการประเมิณความเสี่ยง
- การกดสอบการควบคุม
- วิธีการตรวจเนื้อหาสาระ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท
- การทดสอบรายละเอียด
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ตัวอย่าง ตารางค่าสอบบัญชี
อัตราค่าตรวจสอบบัญชี
- ไม่เกิน 1,000 รายการ อัตราค่าตรวจสอบบัญชี 10,000.- บาท
- 1,000 – 2,000 รายการ อัตราค่าตรวจสอบบัญชี 30,000.- บาท
- 2,000 – 4,000 รายการ อัตราค่าตรวจสอบบัญชี 50,000.- บาท
- 4,000 – 10,000 รายการ อัตราค่าตรวจสอบบัญชี 90,000.- บาท
- 10,000 รายการ ขั้นไป อัตราค่าตรวจสอบบัญชี 150,000.- บาท เป็นต้น
ตารางค่าสอบบัญชี
จำนวนเอกสาร / ปี | อัตราค่าสอบบัญชี |
---|---|
ไม่เกิน 1,000 รายการ | อัตราค่าสอบบัญชี 10,000 บาท |
1,000 – 2,000 รายการ | อัตราค่าสอบบัญชี 30,000 บาท |
2,000 – 4,000 รายการ | อัตราค่าสอบบัญชี 50,000 บาท |
4,000 – 10,000 รายการ | อัตราค่าสอบบัญชี 90,000 บาท |
10,000 รายการ ขั้นไป | อัตราค่าสอบบัญชี 150,000 บาท เป็นต้น |
ค่าสอบบัญชี หัก ณ ที่จ่าย 3 %
การตรวจสอบบัญชี ใช้คนเดียวกันติดต่อหลายๆปีได้ไหมคะ
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
รายการ ผู้ถือหุ้น แสดง อะไร ประกอบ ด้วย
ฐานภาษี สำคัญ คืออะไร มีอะไรบ้าง? 2566-67
ผู้สร้าง TikTok #15 ติดตามเคล็ดลับซื้อขาย?
สัญญาจ้างพนักงานชั่วคราว โหลด ตัวอย่าง?
วิธีการเลือกสินค้าที่จะขายออนไลน์?
ค่าเสื่อมราคา หัก ออกจาก บัญชี สินทรัพย์ โดยตรง?
เลิกกิจการ ภาษี ปิดกิจการ ต้องทําอย่างไร !
ใน รอบบัญชี แรก จะมีสิทธิ์เลือก ปิดบัญชี เดือน ไหนก็ได้?
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า งบบัญชีหมวดไหน บันทึกปรับปรุงอย่างไร?