บัญชีเบื้องต้น สิ่งที่ควรทำความเข้าใจก่อนเรียนรู้บัญชี
บัญชี เป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึกการจำแนก และการทำสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ขั้นตอนของการทำบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างคือ
- ทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าในกิจการ และประสบการณ์ในการดำเนินงานในส่วนผู้บริหาร
- ทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงานและความเคลื่อนไหวของฐานะการเงินของกิจการ
- ทำให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่นได้ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบในการวางแผนการควบคุมรวมถึงการตัดสินใจ
- ทำให้ฝ่ายบริหารทราบถึงข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือหาทางแก้ไขในอนาคต
ผู้ที่มีสิทธิ์ในการใช้ข้อมูลทางบัญชี
1.ผู้ถือหุ้น เป็นผู้ที่นำเงินมาลงทุนในกิจการไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ได้ หากผู้ถือหุ้นต้องการทราบผลการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นผลกำไรหรือขาดทุน หรือการจ่ายเงินปันผล
2.เจ้าหนี้ เป็นผู้ที่ให้เจ้าของกิจการกู้เงิน หรือเป็นการให้เครดิตแก่กิจการในการชำระเงิน ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ต้องการทราบความสามารถและกำลังในการชำระหนี้ของกิจการ
3.ผู้บริหาร เป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทน หากกิจการมีผลประกอบการที่ดีก็จะทำให้ฐานะทางการเงินมั่นคงและผลตอบแทนของผู้บริหารก็จะได้จากกิจการที่ดี
4.คู่แข่ง ต้องการทราบเพื่อที่จะได้วางแผนกำหนดนโยบายของกิจการเพื่อที่จะได้แข่งขันและความอยู่รอดได้ในธุรกิจ
5.พนักงาน เพื่อคาดการณ์การได้รับผลตอบแทนไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส รวมถึงการพิจารณาความมั่นคงของตัวเองในการทำงานต่อไปหรือไม่
6.ลูกค้า หากลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือการบริการจากกิจการก็จำเป็นต้องพิจารณาว่าจะได้รับการจัดส่งตรงตามเวลาหรือไม่
การจำแนกประเภทของผู้ใช้งบการเงินนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ การบัญชีการเงิน คือการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินของกิจการที่จัดทำภายใต้กฎเกณฑ์ตามหลักการทำบัญชี เพื่อใช้ในประกอบการวางแผน การควบคุม หรือการตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ และ การบัญชีบริหาร คือการจัดทำบัญชีหรือรายงานการเงินของส่วนต่างๆให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผนหรือการควบคุมและการตัดสินใจ เพื่อความเหมาะสมและความต้องการของฝ่ายบริหาร
เรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีโดยผู้ที่ทำบัญชีมีหน้าที่บันทึกข้อมูล
การบัญชี เป็นศิลปะของการรวบรวมข้อมูลการบันทึก จำแนก และสรุปข้อมูลในรูปแบบตัวเลขเงิน เป็นผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี การให้ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้ที่สนใจและเป็นประโยชน์กับหลายฝ่ายสำหรับงานของการทำบัญชี คือเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีโดยผู้ที่ทำบัญชีมีหน้าที่บันทึกข้อมูลตัวเลขต่างๆรวมถึงการจัดระบบบัญชีของกิจการควบคุมและตรวจสอบบัญชี ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.ธุรกิจพาณิชยกรรม หรือธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าสำเร็จรูปที่รับมาแล้วก็ขายออกไปได้เลย รายได้หลักของธุรกิจนี้คือรายได้จากการขายทั้งหมดดังนั้นวิธีการจัดการทำรายงานทางการเงินนั้นไม่ซับซ้อน เนื่องจากไม่มีการคำนวณต้นทุนเกี่ยวกับการผลิตแต่จะมีเพียงแค่ต้นทุนจากการซื้อเท่านั้น
2.ธุรกิจอุตสาหกรรม หรือธุรกิจประเภทผลิต จะเป็นธุรกิจที่มีการซื้อวัตถุดิบ แล้วนำเข้าสู่การผลิต โดยใช้แรงงานในการผลิต ผลสำเร็จที่ออกมาคือสินค้าสำเร็จรูป รายได้หลักของธุรกิจนี้คือรายได้จากการขาย สำหรับการจัดทำรายงานทางการเงินจะมีความความยุ่งยากมากกว่า เพราะจะต้องคำนวณต้นทุนในการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน
3.ธุรกิจบริการ เป็นธุรกิจที่ให้บริการในรูปของแรงงาน ซึ่งรายได้จะมาจากรายได้ค่าบริการที่คิดจากลูกค้า ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของรายได้ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าบริการ หรือรายได้ค่าเช่า สำหรับต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของแรงงาน รูปแบบของธุรกิจ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.กิจการเจ้าของคนเดียว คือเป็นบุคคลคนเดียวที่เป็นเจ้าของที่ลงทุนโดยไม่มีหุ้นส่วนและการรับผิดชอบหนี้สินและการตัดสินใจก็จะเป็นเพียงคนเดียวเท่านั้น
2.ห้างหุ้นส่วน คือการดำเนินงานทีมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และจะร่วมบริหารธุรกิจด้วยกันคือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3.บริษัทจำกัด คือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนในรูปแบบของนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการลงทุนคนละเท่ากันจะเรียกว่าผู้ถือหุ้นและจะรับผิดชอบในหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ถือหุ้น สำหรับบริษัทเอกชนจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คน และบริษัทมาหาชนจำกัด มีผู้จัดตั้งกลุ่มอย่างน้อย 15 คน และผู้ถือหุ้นเกินกว่า 100 คน
นอกจากนักบัญชีที่ได้ทำบัญชีประจำแล้วก็ต้องมาดูเรื่องการนำข้อมูลทางบัญชีการเงิน
บัญชีภาษีอากร เป็นการนำหลักเกณฑ์ทางบัญชีมาปรับใช้ให้เข้ากับประมวลรัษฎากรรวมถึงกฎหมายภาษีอากรเพื่อให้สอดคล้องถูกต้องตามหลักการบัญชีการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ เงื่อนไขการรับรู้รายได้ หรือรายจ่ายของการประกอบการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้-นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีอากรแสตมป์ นอกจากนักบัญชีที่ได้ทำบัญชีประจำแล้วก็ต้องมาดูเรื่องการนำข้อมูลทางบัญชีการเงินปรับปรุงให้สอดคล้องตามหลักกฎหมายภาษีจึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องภาษีด้วยเช่นกัน บัญชีการเงิน
เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบบัญชี รวมถึงการแสดงฐานะทางการเงินของกิจการเพื่อจัดทำงบการเงิน หรือแสดงเปลี่ยนแปลงสถานะการเงิน หรือผลการดำเนินของการประกอบการเพื่อรายงานผลต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น หรือบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นงบกำไรหรือขาดทุน ต้นทุนการผลิต งบดุล งบประกอบการอื่นๆ ข้อแตกต่างบัญชีภาษีอากร กับ บัญชีการเงิน ต่างกันอย่างไร
บัญชีภาษีอากร
1.ปรับหลักการบัญชีให้เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรกำหนด
2.หาข้อสรุปทางบัญชีและภาษีให้สอดคล้องกัน
3.ปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักกฎหมายภาษีอากร
4.จัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดเช่นการนำส่งภาษี รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.ปรับปรุงรายรับรายจ่ายทางบัญชีให้เป็นจริงและตรงกับภาษีอากร
บัญชีการเงิน
1.ช่วยในด้านการควบคุมรายรับ รายจ่าย หรือหนี้สิน
2.ช่วยในการบริหารงานของกิจการ
3.ช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานว่าจะขยายกิจการต่อหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเช่นผู้ถือหุ้น หรือเป็นการนำเสนอข้อมูลกับธนาคารหากมีการกู้ยืม
4.เป็นหลักฐานความถูกต้องในการทำบัญชีและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดเวลา
ดังนั้น การบัญชีจะต้องมีแนวทางที่สามารถกำหนดการจัดทำให้ถูกต้องตามหลักบัญชีและถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีบ่อยครั้งที่บัญชีที่ได้จัดทำนั้นไม่ได้สอดคล้องตามหลักการทางกฎหมายภาษีอากรซึ่งมีหลายสาเหตุคือ การขาดความรู้เรื่องกฎหมาย เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงทำให้ต้องทำผิดกฎหมายอย่างไม่รู้ตัว ผู้จัดทำบัญชีทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ทั้งสองอย่างเพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งแกไขเอกสารต่างๆในภายหลัง