รับทำบัญชี.COM | วัดมูลค่างบการเงิน การวัดมูลค่า มีอะไรบ้าง?

Click to rate this post!
[Total: 113 Average: 5]

มูลค่างบการเงิน

การรับรู้ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน

หนี้สินควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรที่จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องขำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

กิจการไม่ต้องรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล หากคู่สัญญายังมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญา เช่น กิจการไม่ต้องรับรู้รายการที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าที่ยังมิได้รับเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ในบางกรณีภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นหนี้สินตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการซึ่งกิจการควรรับรู้ในงบดุล ในกรณีนี้การรับรู้หนี้สินอาจทำให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน

การวัดมูลค่า

การรับรู้หนี้สิน

หนี้สินควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรที่จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องขำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ

กิจการไม่ต้องรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล หากคู่สัญญายังมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญา เช่น กิจการไม่ต้องรับรู้รายการที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าที่ยังมิได้รับเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ในบางกรณีภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นหนี้สินตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการซึ่งกิจการควรรับรู้ในงบดุล ในกรณีนี้การรับรู้หนี้สินอาจทำให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน

การวัดมูลค่าของหนี้สิน

การวัดมูลค่า เป็นการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลต่างๆ (สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ) และงบกำไรขาดทุน (รายได้ และค่าใช้จ่าย) ในการวัดมูลค่านี้จะเกี่ยวข้องกับเลือกใช้หลักเกณฑ์ในการวัดมูลค่า

เกณฑ์ในการวัดมูลค่าต่างๆ ของหนี้สินที่แสดงในงบการเงิน อาจจำแนกได้ดังนี้

  1. ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาในการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่กิจการได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการที่เทียบเท่าเงินสด ที่กิจการคาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ภาษีเงินได้
  2. ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) เป็นราคาที่กิจการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการที่เทียบเท่าเงินสดที่กิจการต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
  3. มูลค่าที่จะได้รับ (Receivable Value) เป็นมูลค่าในการแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าที่กิจการจะต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการที่เทียบเท่าเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามปกติ
  4. มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) เป็นมูลค่าที่กิจการแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิ ซึ่งกิจการคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติ

การแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน

มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้งบดุลต้องแสดงรายการบัญชีแต่ละบรรทัดพร้อมทั้งจำนวนเงินทางด้านหนี้สินหมุนเวียน ดังนี้

  1. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
  2. หนี้สินที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
  3. ประมาณการหนี้สิน

รายการในแต่ละบรรทัดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการกำหนดอย่างกว้างๆ ตามลักษณะและไม่ได้จำกัดเฉพาะรายการที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีเท่านั้น ในการแสดงรายการหนี้สินในงบดุลนั้น กิจการจะนำสินทรัพย์และหนี้สินมาหักกลบกันไม่ได้ เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีจะอนุญาตหรือกำหนดให้มีการหักกลบกันได้

งบดุลต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัด หัวข้อเรื่องและยอดรวมย่อยเพิ่มเติม หากมาตรฐานการบัญชีกำหนด หรือถ้าการแสดงนั้นทำให้การเงินของกิจการแสดงฐานะการเงินโดยถูกต้องตามที่ควร นอกจากนี้คำอธิบายและการจัดเรียงลำดับของรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามราบการทางบัญชีหรือลักษณะของแต่ละกิจการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงฐานะการเงินของกิจการโดยรวม

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาว่ารายการใดกิจการควรแยกแสดงเป็นการเพิ่มเติมนั้น ให้คำนึงถึง จำนวนลักษณะและวันครบกำหนดการชำระหนี้ของหนี้สิน ซึ่งตามปกติถือเป็นปัจจัยในการแยกแสดงรายการหนี้สินที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และที่ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยจากประมาณการหนี้สิน

รวมทั้งแยกประเภทหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปก็คือ การแสดงหนี้สินหมุนเวียนในงบดุลมักเรียงลำดับจากระยะเวลาของพันธะผูกพันที่สั้นที่สุดของหนี้สินนั้นๆ ก่อนแล้วตามด้วยรายการหนี้สินที่มีกำหนดเวลาการชำระหนี้ที่มีกำหนดเวลาการชำระหนี้นานกว่าตามลำดับ

ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนที่ต้องแสดงในงบดุลหรือเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

มาตราฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการต้องแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบดุลหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยการจัดประเภทย่อยเป็นรายการแต่ละบรรทัดตามลักษณะการดำเนินงานของกิจการรายการบัญชีแต่ละรายการต้องมีการจัดประเภทย่อยตามลักษณะและจำนวนเงินที่กิจการค้างจ่ายกับบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายละเอียดที่ให้ไว้ในการจัดประเภทย่อยที่แสดงในงบดุลหรือเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินนั้น ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีรวมถึงขนาด ลักษณะ และหน้าที่ของจำนวนเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาว่ารายการใดกิจการควรแยกแสดงเป็นการเพิ่มเติมนั้น

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

แสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับเกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินและนโยบายการบัญชีที่กิจการเลือกใช้กับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่สำคัญ
ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่มาตฐานการบัญชีกำหนด
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินแต่เป็นข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงินนั้นแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร

ดังนั้น หมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียน จะประกอบไปด้วยรายการ ดังต่อไปนี้

  1. คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล
  2. ข้อมูลตามที่มาตรฐานกำหนดหรือสนับสนุนให้เปิดเผย
  3. ข้อมูลอื่นๆ ที่จะทำให้งบการเงินแสดงรายการโดยถูกต้องเช่น
  • ข้อจำกัดต่างๆ ในสิทธิที่มีอยู่เหนือสินทรัพย์
  • หลักประกันของหนี้สิน
  • วิธีการที่ใช้ปฏิบัติสำหรับโครงการเงินบำเหน็จ บำนาญ
  • หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นโดยให้ระบุจำนวนเงินถ้าสามารถทำได้
  • จำนวนเงินที่ผูกพันไว้แล้วสำหรับรายจ่ายประเภททุนในอนาคต
  • ภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงินอื่นๆ
การรับรู้ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน
การรับรู้ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )