ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีซื้อต้องห้าม คือ (Prohibited purchase tax) ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ
ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่17) ดังนี้ ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีซื้อต้องห้าม มีอะไรบ้าง
ลักษณะของภาษีซื้อต้องห้าม มีดังนี้
- ไม่มีใบกำกับภาษี หรืออาจไม่แสดงใบกำกับภาษี
++(1.1) ไม่มีใบกำากับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำากับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น
++(1.2) มีใบกำากับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำากับภาษีได้ว่ามีการชำาระภาษีซื้อ เป็นกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรได้
- กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายจ่ายเพื่อกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกำกับภาษีนั้นจะมีรายการครบถ้วน
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำานองเดียวกัน
++(4.1) ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอำานวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำานองเดียวกัน
++(4.2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้ นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ ผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำากับภาษีมีดังนี้
++(5.1) บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
++(5.2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนทำาการออกใบกำากับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
++(5.3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำาออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นหรือโดยบุคคลอื่น
- ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ มีดังนี้
++(6.1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
++(6.2) ภาษีซื้อตามใบกำากับภาษีอย่างย่อ
++(6.3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
++(6.4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นหรือนำาไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น
++(6.5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการในใบกำากับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำาขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
++(6.6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
++(6.7) ภาษีซื้อตามใบกำากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำาเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำารวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
++(6.8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
++(6.9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำาไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำาภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
++(6.10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
++(6.11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใชในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตกรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำาหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
++(6.12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำากับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อ
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำภาษีซื้อต้องห้ามมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีรวมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้ เบี้ยปรับจากการนำภาษีซื้อต้องห้าม! มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 กรณี
1. เบี้ยปรับ 1 เท่า
- ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
- ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
– ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) หากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีข้างต้นไปคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้คำนวณภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป ตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เบี้ยปรับ 2 เท่า
กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ :
- (1) ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
- (2) ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ง 2,000 บาท เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง
ภาษีซื้อต้องห้าม เมื่อประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียว หรือแบบมีหุ้นส่วน หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพราะเจ้าของกิจการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร พร้อมทั้งมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีขายทุกครั้งให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการ (ซึ่งเราเรียกว่า “ภาษีขาย” ) และขอใบกำกับภาษีซื้อทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ซึ่งเราเรียกว่า “ภาษีซื้อ”) เพื่อนำมาคิดคำนวณและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสรรพากรได้อย่างถูกต้องในทุกๆเดือน
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้าใจและนำส่งรายการภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้จึงนำเสนอความรู้เกี่ยวกับภาษีขายต้องห้าม ซึ่งเป็นข้อควรรู้และข้อพึงระวังสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านต่อปีโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 (7%) ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นรายการคำนวณภาษีในแต่ละเดือน โดยใช้หลักการสำคัญคือ
ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- – หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีสิทธิขอรับคืนภาษีซื้อเป็นเงินสดหรือรับเป็นเครดิตภาษีเพื่อนำไปชำระในเดือนถัดไปได้
- – หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการต้องนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรเท่ากับส่วนต่างนั้นๆ
ภาษีซื้อสำคัญอย่างไร
หากพิจารณาจากสูตรคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระจะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวแปรสำคัญในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการจะได้สิทธิขอรับภาษีซื้อคืนหรือต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายจะต้องถูกกฏหมายและไม่เข้าข่ายภาษีซื้อต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ภาษีซื้อต้องห้าม
บริษัท ปังปอน จำกัด
47/103 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ บางพูด ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร.02-964-9800
รับทำบัญชี
โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
แนวข้อสอบบัญชีเบื้องต้น พื้นฐานของโลกธุรกิจ ที่เน้นการ บันทึก-จัดประเภท-สรุปผลทางการเงิน ของกิจการ ผู้เรียนต้องเข้าใจ บัญชีเดบิต เครดิต งบการเงิน รายการ
สมัครงานตำแหน่งบัญชี เนื่องจากทุกธุรกิจ ต้องมีการจัดการทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือองค์กรใหญ่ นักบัญชี คือหัวใจในการควบคุมงบประมาณ บันทึก
Brought Forward บัญชี ยอดยกมา หรือยอดคงเหลือจากงวดก่อนหน้า ที่ถูกนำมาตั้งต้นเป็นยอดเริ่มต้นในงวดปัจจุบัน เช่น หากคุณมียอดเงินสดในเดือนมิถุนายน
บัญชีบัตรเครดิต บัญชีทางบัญชีประเภทเจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) ที่บันทึกภาระหนี้สินของผู้ถือบัตรกับสถาบันการเงินเจ้าของบัตร เมื่อคุณใช้บัตรเครดิตซื้อ
บัญชีโก: พลิกชีวิตเจ้าของธุรกิจด้วยการจัดการบัญชีอย่างม […]
บัญชีธนาคาร Shopee การบัญชีให้ถูกต้อง เพิ่มยอดขายแบบมือโปร! หรือเพิ่งเริ่มต้นขายของในแพลตฟอร์มนี้ คำว่า “บัญชีธนาคาร Shopee” ไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ