มูลค่างบการเงิน
การรับรู้ การวัดมูลค่า และการแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน
หนี้สินควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรที่จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องขำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
กิจการไม่ต้องรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล หากคู่สัญญายังมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญา เช่น กิจการไม่ต้องรับรู้รายการที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าที่ยังมิได้รับเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ในบางกรณีภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นหนี้สินตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการซึ่งกิจการควรรับรู้ในงบดุล ในกรณีนี้การรับรู้หนี้สินอาจทำให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน
การรับรู้หนี้สิน
หนี้สินควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรที่จะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องขำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
กิจการไม่ต้องรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล หากคู่สัญญายังมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญา เช่น กิจการไม่ต้องรับรู้รายการที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าที่ยังมิได้รับเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ในบางกรณีภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นหนี้สินตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการซึ่งกิจการควรรับรู้ในงบดุล ในกรณีนี้การรับรู้หนี้สินอาจทำให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน
การวัดมูลค่าของหนี้สิน
การวัดมูลค่า เป็นการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลต่างๆ (สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ) และงบกำไรขาดทุน (รายได้ และค่าใช้จ่าย) ในการวัดมูลค่านี้จะเกี่ยวข้องกับเลือกใช้หลักเกณฑ์ในการวัดมูลค่า
เกณฑ์ในการวัดมูลค่าต่างๆ ของหนี้สินที่แสดงในงบการเงิน อาจจำแนกได้ดังนี้
- ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาในการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่กิจการได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการที่เทียบเท่าเงินสด ที่กิจการคาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ภาษีเงินได้
- ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) เป็นราคาที่กิจการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการที่เทียบเท่าเงินสดที่กิจการต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
- มูลค่าที่จะได้รับ (Receivable Value) เป็นมูลค่าในการแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าที่กิจการจะต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการที่เทียบเท่าเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามปกติ
- มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) เป็นมูลค่าที่กิจการแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิ ซึ่งกิจการคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติ
การแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในงบการเงิน
มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้งบดุลต้องแสดงรายการบัญชีแต่ละบรรทัดพร้อมทั้งจำนวนเงินทางด้านหนี้สินหมุนเวียน ดังนี้
- เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
- หนี้สินที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
- ประมาณการหนี้สิน
รายการในแต่ละบรรทัดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการกำหนดอย่างกว้างๆ ตามลักษณะและไม่ได้จำกัดเฉพาะรายการที่ระบุไว้ในมาตรฐานการบัญชีเท่านั้น ในการแสดงรายการหนี้สินในงบดุลนั้น กิจการจะนำสินทรัพย์และหนี้สินมาหักกลบกันไม่ได้ เว้นแต่มาตรฐานการบัญชีจะอนุญาตหรือกำหนดให้มีการหักกลบกันได้
งบดุลต้องแสดงรายการแต่ละบรรทัด หัวข้อเรื่องและยอดรวมย่อยเพิ่มเติม หากมาตรฐานการบัญชีกำหนด หรือถ้าการแสดงนั้นทำให้การเงินของกิจการแสดงฐานะการเงินโดยถูกต้องตามที่ควร นอกจากนี้คำอธิบายและการจัดเรียงลำดับของรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามราบการทางบัญชีหรือลักษณะของแต่ละกิจการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงฐานะการเงินของกิจการโดยรวม
ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาว่ารายการใดกิจการควรแยกแสดงเป็นการเพิ่มเติมนั้น ให้คำนึงถึง จำนวนลักษณะและวันครบกำหนดการชำระหนี้ของหนี้สิน ซึ่งตามปกติถือเป็นปัจจัยในการแยกแสดงรายการหนี้สินที่ระบุอัตราดอกเบี้ย และที่ไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยจากประมาณการหนี้สิน
รวมทั้งแยกประเภทหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปก็คือ การแสดงหนี้สินหมุนเวียนในงบดุลมักเรียงลำดับจากระยะเวลาของพันธะผูกพันที่สั้นที่สุดของหนี้สินนั้นๆ ก่อนแล้วตามด้วยรายการหนี้สินที่มีกำหนดเวลาการชำระหนี้ที่มีกำหนดเวลาการชำระหนี้นานกว่าตามลำดับ
ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนที่ต้องแสดงในงบดุลหรือเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่มาตฐานการบัญชีกำหนด
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงินแต่เป็นข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงินนั้นแสดงโดยถูกต้องตามที่ควร
ดังนั้น หมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียน จะประกอบไปด้วยรายการ ดังต่อไปนี้
- คำอธิบาย และการวิเคราะห์รายละเอียดของจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล
- ข้อมูลตามที่มาตรฐานกำหนดหรือสนับสนุนให้เปิดเผย
- ข้อมูลอื่นๆ ที่จะทำให้งบการเงินแสดงรายการโดยถูกต้องเช่น
- ข้อจำกัดต่างๆ ในสิทธิที่มีอยู่เหนือสินทรัพย์
- หลักประกันของหนี้สิน
- วิธีการที่ใช้ปฏิบัติสำหรับโครงการเงินบำเหน็จ บำนาญ
- หนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นโดยให้ระบุจำนวนเงินถ้าสามารถทำได้
- จำนวนเงินที่ผูกพันไว้แล้วสำหรับรายจ่ายประเภททุนในอนาคต
- ภาระผูกพันและข้อมูลทางการเงินอื่นๆ