ปิดงบเปล่า

ปิดงบเปล่าด้วยตัวเองต้องใช้เอกสารอะไรยื่นงบบริษัทราคาถูก 500

รับปิดงบเปล่า

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับปิดงบเปล่า ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหา ขาดคนทำบัญชี ภาษี ปิดงบการเงิน ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ติดต่อ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า)

  • ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • Email : 9622104@gmail.com
  • Line Official Account : @e200
  • ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน

ปิดงบเปล่าด้วยตัวเอง

ปิดงบเปล่าด้วยตัวเอง

ปิดงบเปล่าด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการปิดงบเปล่า ด้วยตัวเอง

  1. ตรวจสอบหนังสือรับรอง และ บอจ 5 มาตรวจสอบ ให้ตรงกับสถานะในปีปัจจุบัน ที่ปิดงบการเงิน
  2. บันทึกบัญชีในสมุดรายวัน แยกประเภท งบทดลอง กระดาษทำการ ตามรอบระเวลาบัญชี
  3. จัดหาผู้ทำบัญชี ที่มีการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์
  4. จัดหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ
  5. จัดทำบัญชีและมีผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อเรียบร้อยแล้ว ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อรับรองงบการเงินภายใน 4 เดือน นับจากวันที่ผู้สอบลงลายมีชื่อในหน้ารายงานงบการเงิน
  6. ทำการประกาศหนังสือพิมพ์ เรื่อง ปิดงบการเงินประจำปี ไม่น้อยกว่า 7 วัน นับจากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  7. ยืนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  8. ยื่นงบการเงิน (สบช.3) หลังจากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 30 วัน
  9. ยื่นแบบภาษีนิติบุคคล(ภงด 50) ไม่เกิน 150 วัน นับจากรอบระยะเวลาบัญชี

ปิดงบเปล่า

เงื่อนไขงบเปล่า

สาระสำคัญของงบเปล่า

  1. ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องพิสูจน์ความถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า
  2. หากมีการเคลื่อนไหวของรายการธนาคาร หรือมีการยื่นแบบภาษี (ที่ไม่ใช่แบบเปล่า) จะไม่ใช่งบเปล่า
  3. ทุนจดทะเบียนบริษัท ต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท ถ้านอกเหนือจากนี้ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า

การจัดทำงบการเงิน กรณีไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ

  1. ผู้ประกอบการ มีหน้าที่นำส่งงบการเงินที่ กระทรวงพาณิชย์ และยื่นแบบแสดงรายการต่อสรรพากร ถึงแม้ว่าจะไม่มีการดำเนินธุรกิจก็ตาม
  2. ต้องจัดทำงบดุล และ งบกำไรขาดทุน ให้ผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชี ลงชื่อรับรองในการจัดทำเอกสาร

ตัวอย่างการลงบัญชี งบเปล่า

จัดทำแสดงฐานะทางการเงิน และงบกำไรขาดทุน

บริษัท ปิดงบเปล่า จำกัด จดทะเบียน วันที่ 1 มิถุนายน 2565 มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวน และมีค่าใช้จ่ายทำบัญชี

วิธีการลงบัญชีดังนี้

1.วันที่ 1/6/65   นำเงินลงทุนในกิจการ

Dr เงินสด    1,000,000.00

Cr ทุน      1,000,000.00

2.วันที่ 31/12/65 บันทึกค่าบริการและค่าสอบบัญชีค้างจ่าย

Dr.ค่าบริการ     5,000.00

     ค่าสอบบัญชี     20,000.00

Cr.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย      25,000.00

3.วันที่ 31/12/65 บันทึกรายได้ดอกเบี้ยค้างรับ (ปรับปรุงรายการเงินสด)

Dr.ลูกหนี้เงินยืมกรรมการ       900,000.00

Cr.เงินสด               900,000.00

4.บันทึกดอกเบี้ยค้างรับ ณ 31 ธันวาคม 2565

Dr ดอกเบี้ยค้างรับ        14,991.78

Cr รายได้ดอกเบี้ยค้างรับ        14,991.78

5.วิธีการคำนวณ ดอกเบี้ยค้างรับ

เงินลงทุน         1,000,000.00

ระยะเวลา 152 วัน

ดอกเบี้ย 4%

ดังนั้น จะคำนวณได้ 1,000,000 * 152/365*4% = 16,657.53 บาท

ตัวอย่าง งบเปล่า

งบเปล่า งบเปล่า

ปิดงบเปล่า ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อต้องการปิดงบการเงินในองค์กรหรือธุรกิจของคุณ คุณอาจต้องใช้เอกสารต่อไปนี้

  1. รายงานการเงินประจำปี เอกสารนี้เป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต้องเตรียมขึ้นเพื่อสรุปผลการเงินขององค์กรในระยะเวลาหนึ่ง (โดยทั่วไปจะเป็นรอบปี) รายงานการเงินประกอบด้วยงบทางบัญชีที่สำคัญ เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด งบเงินลงทุน และรายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์กร
  2. งบการเงินปัจจุบัน เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะการเงินปัจจุบันขององค์กร รวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น และผลกำไรหรือขาดทุน
  3. งบกำไรขาดทุน เป็นเอกสารที่บอกถึงผลกำไรหรือขาดทุนขององค์กรในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ส่งผลต่อกำไรหรือขาดทุน
  4. งบดุล เอกสารนี้แสดงสถานะการเงินขององค์กรในเบื้องต้น โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อแสดงว่าทรัพย์สินและหนี้สินขององค์กรมีค่าเท่ากัน
  5. รายงานผลการตรวจสอบบัญชี เอกสารนี้อาจจำเป็นในบางกรณี เมื่อต้องการปิดงบการเงินในองค์กร รายงานผลการตรวจสอบบัญชีจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลการเงินที่รายงานไปนั้นถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการบัญชี

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นอาจแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดท้องถิ่นและประเทศ ดังนั้นควรตรวจสอบกับที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญทางการบัญชีของคุณเพื่อทราบข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนกว่านี้

ปิดงบเปล่า: ความสำคัญของบัญชีในการดำเนินธุรกิจ

การปิดงบเปล่า เป็นกระบวนการที่ธุรกิจต้องดำเนินการเมื่อไม่มีรายรับหรือรายจ่ายในงบการเงินของปีนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับ บริษัทที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการ หรือไม่ได้มีธุรกรรมทางการเงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีรายรับรายจ่าย ธุรกิจยังคงต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย


ทำไมการปิดงบเปล่าจึงสำคัญ?

  1. ปฏิบัติตามกฎหมาย – แม้ว่าบริษัทจะไม่มีธุรกรรมเกิดขึ้น แต่ยังคงต้องส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร
  2. หลีกเลี่ยงค่าปรับจากหน่วยงานรัฐ – หากไม่มีการปิดงบและยื่นเอกสารภายในกำหนด อาจถูกปรับและถูกระงับทะเบียนบริษัท
  3. รักษาสถานะบริษัทให้พร้อมดำเนินธุรกิจ – หากมีแผนจะเริ่มทำธุรกิจในอนาคต การปิดงบเปล่าช่วยให้บริษัทไม่ถูกมองว่าขาดความต่อเนื่องทางบัญชี
  4. จัดการข้อมูลทางการเงินให้เป็นระเบียบ – แม้ว่าจะไม่มีรายรับรายจ่าย แต่การทำบัญชีให้ถูกต้องช่วยให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ง่ายขึ้นในอนาคต

เริ่มต้นจัดทำบัญชีปิดงบเปล่า

หากคุณต้องการปิดงบเปล่าให้ถูกต้อง สามารถใช้ แบบฟอร์มรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อช่วยให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น

✔️ ตรวจสอบว่าบริษัทไม่มีธุรกรรมทางการเงินในปีนั้น ๆ
✔️ ยื่นงบเปล่าต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
✔️ จัดทำเอกสารทางบัญชีและภาษีให้ถูกต้อง
✔️ วางแผนการกลับมาดำเนินกิจการในอนาคต


สรุป

แม้ว่าจะไม่มีรายรับรายจ่าย การปิดงบเปล่ายังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบริษัท เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาสถานะบริษัท หากคุณต้องการจัดทำบัญชีปิดงบเปล่า สามารถใช้ แบบฟอร์มรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อช่วยให้การทำบัญชีเป็นระบบและถูกต้องตามมาตรฐาน!

รับทําบัญชีราคาถูก 500

สำหรับบริษัทที่ไม่ดำเนินกิจการ สามารถใช้บริการในอัตราเดือนละ 500 บาท คิดค่าบริการขั้นต่ำ 12 เดือน สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท ปังอน จำกัด

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 219786: 498