อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

รับทำบัญชี.COM | เปิดร้านขายอุปกรณ์ไอทีคอมพิวเตอร์ Hard Disk

Hard disk

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทร. 081-931-8341 (คุณจ๋า) ครอบคลุมทุกจังหวัด เมื่อคุณมีปัญหาเรื่องบัญชี ให้นึกถึงเรา เพราะเราเชี่ยวชาญและทำงานอย่างมืออาชีพ การันตีจากสรรพากร (ตัวแทนสรรพากร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักงานบัญชีคุณภาพ) ปัจจุบันเปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปี

  • ที่อยู่ : 47/103 หมู่ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • Email : 9622104@gmail.com
  • Line Official Account : @e200
  • ราคา : เอกสารไม่เกิน 30 ชุด เริ่มต้น 4,000 บาท/เดือน

hard disk

อุปกรณ์ Hard disk เป็นเรื่องที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับหน่วยเก็บความจำของคอมพิวเตอร์หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ฮาร์ดดิส (Harddisk) หรือชื่อย่อๆ ว่า HDD ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์ หากคอมพิวเตอร์ขาดเจ้าสิ่งนี้ไปก็คงไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และนอกจากจะมีไว้เก็บความจำแล้ว รายละเอียดต่าง ๆ จะเป็นยังไง ไปทำความรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ให้มากยิ่งขึ้นกัน

Hard disk คืออะไร

(Harddisk) หรือ HDD นี้ถูกผลิตขึ้นมาใช้งานครั้งแรกโดยนักประดิษฐ์จากบริษัทไอบีเอ็มในปี 1956 ซึ่งครั้งแรกที่ได้มีการผลิต HDD รุ่นแรกขึ้นมานั้น ตัวของมันมีความจุ 100 kB และมาพร้อมกับขนาดที่ใหญ่ถึง 20 นิ้ว ซึ่งแน่นอนว่าจากการผลิตได้ออกมาสำเร็จทำให้ราคาของเจ้า HDD นั้นแพงอย่างมหาศาล ซึ่งแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่จนดูเทอะทะแต่ก็มีผู้คนที่พยายามหาซื้อมันมาใช้งานอยู่ดี จนได้รับการพัฒนาต่อ ๆ กันมาตามยุคสมัยจนขนาดของฮาร์ดดิสนั้นเล็กลง และสามารถบรรจุความจำได้มากยิ่งขึ้นตามกาลเวลา

hard disk

5 ประเภทของ Hard disk

  1. (PATA) Parallel Advance Technology Attachment หรือที่รู้จักกันในชื่อ IDE หรือ Integrated Drive Electronics ซึ่งได้ถูกพัฒนาโดยบริษัท Western Digital เป็น Hard disk รุ่นเก่าที่มีความเร็วในการเขียน/อ่านข้อมูลไม่มากนัก และมีความจุน้อย แต่ก็ยังมีใช้จนถึงปัจจุบัน
  2. SCSI (Small Computer System Interface) เอสซีเอสไอหรือที่เรียกกันติดปากว่า สกัสซี่นั้น ได้รับความนิยมสูงในการนำมาใช้งานกับ Server องค์กรในสมัยก่อน เนื่องจากมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงในสมัยนั้น และมีการทำงานที่ช่วยลดภาระการทำงานของ CPU แต่ในปัจจุบัน SCSI นั้นถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลอื่น จนแทบจะไม่ค่อยได้เห็นกันแล้ว
  3. SATA (Serial Advanced Technology Attachment) Serial ATA หรือ SATA นั้นเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกเริ่มใช้ราวๆปี 2545 จุดเด่นภายนอกคือมีขนาดที่เล็กลงอย่างมาก ทั้งตัว Hard disk และสาย(SATA) ทำให้มีต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่เจ้าตัว SATA เองมีการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมที่แพร่หลาย ใช้ใน PC ทั่วไปและ SERVER บางรุ่น
  4. Solid-State Drive (SSD) SSD เป็นเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบใหม่ ที่ใช้แผงวงจรในรูปแบบ ship หน่วยความจำ ในการเก็บข้อมูลโดยจะมีอุปกรณ์ทำงานร่วมกัน 2 ส่วนหลักๆ คือ ชิปหน่วยความจำ (Memory) และ ชิปควบคุมการทำงาน (Controller) ปราศจากจานหมุนในการบันทึกข้อมูลเช่น Hard disk ในรุ่นอื่นๆที่กล่าวมาทำให้ไม่มีเสียงจานหมุนรบกวนและเรื่องของความร้อนที่เกิดจากการหมุนของจานด้วย ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอย่างมากรวมถึงความเร็วในการบันทึกข้อมูล ที่เร็วขึ้นอย่างมาก แต่จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
  5. Serial Attached SCSI (SAS) SAS ทำหน้าในการรับส่งข้อมูลผ่าน Protocol ในรูปแบบ Point to Point ระหว่าง Hard drive และ Tape Drive โดยผ่านตัวควบคุม (controller) แบบอนุกรม Serial Attached SCSI (SAS) ถูกนำมาใช้รับส่งข้อมูลแทนการส่งข้อมูลแบบขนาน (SCIS) แต่ยังคงใช้คำสั่งของ (SCIS) อยู่ เพียงแต่ได้ถูกปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

hard disk

ความจุของ ขนาดของ

  • ความจุของ HDD นั้นก็มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 512GB, 2 TB, 3TB, 4TB, 8TB และ 10 TB
  • ขนาด 8 นิ้ว ขนาด 5.25 นิ้ว ขนาด 3.5 นิ้ว ขนาด 2.5 นิ้ว ขนาด 1.8 นิ้ว ขนาด 1 นิ้ว

hard disk

หลักการทำงาน

สำหรับในส่วนของหลักการทำงานของ HDD นั้นจะมีหลักการทำงานเป็นแบบการบันทึกข้อมูลด้วยสารแม่เหล็ก บันทึกลงไปบนแผ่นอลูมิเนียมที่อยู่ภายใน ผู้ใช้งานนั้นสามารถลบหรือเขียนใหม่ได้อยู่ตลอดเวลา โดยแผ่นจานจะอยู่ซ้อนทับกันภายใน Harddisk มีหัวบันทึกลอยเหนือแผ่นจาน โดยตัวแผ่นจานนั้นจะทำการเคลือบด้วยสารแม่เหล็กบาง ๆ ลงไป ซึ่งสิ่งที่บันทึกลงในฮาร์ดดิสก์นั้นจะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลบิต เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูล ตัวแขนอ่านจะขยับและจานจะหมุนเพื่อไปยังตำแหน่งข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ เพื่อเรียกข้อมูลออกมาแสดงบนหน้าจอนั่นเอง

ตัวอย่าง โรงงานผลิต hard disk

  1. บริษัทฟูจิตสึ (ไทยแลนด์)
  2. บริษัทไอบีเอ็มสตอเรจโปรดักส์
  3. บริษัทเวส เทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย)
  4. บริษัทซีเกท เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)

4 ทริคที่โรงงานควรมี

1.) มาตราฐานโรงงาน

โรงงานที่ได้รับมาตรฐาน เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างมาก คือ การที่โรงงานผลิต hard disk ของคุณได้รับมาตราฐาน อย่างที่ควรจะเป็น ควรได้รับมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานโรงงาน GMP. ISO ต่างๆ หรือ ผ่านการรับรองตามกฎหมายของประเภทโรงงานที่ควรจะมี

2.) สามารถแนะนำการสร้างแบรนด์ให้เราได้

การตลาดทุกวันนี้อาศัยที่ความต่างกันมากจริงๆ หลายโรงงานมีสูตรมาตรฐานให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ทำให้เราสามารถใช้เวลากับการโฟกัสเกี่ยวกับการตลาดได้มากขึ้น

3.) ให้คำปรึกษา หรือคำแนะนำที่ดี

เรื่องนี้สำคัญมากเลยครับ เวลาติดต่อโรงงานส่วนใหญ่จะเจอเซลล์ บางคนให้คำแนะนำดีมาก บางคนไม่ให้คำแนะนำเลย แต่บางคนให้คำแนะนำไปถึงเรื่องการวางแผนการตลาด แนะนำเรื่องการขาย การใส่ใจเป็นพฤติกรรมของผู้ให้คำปรึกษาที่แสดงออกด้วยภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง ซึ่งบอกถึงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา โดยการแสดงความสนใจ การเห็นความสำคัญ และการให้เกียรติ เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความอบอุ่นใจและไม่รู้สึกห่างเหิน

4.) กำหนดระยะเวลาการผลิตชัดเจน

เรื่องนี้สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเราได้โรงงานที่สร้างความมั่นใจ และกำหนดระยะเวลาการผลิตไม่ได้ อาจทำให้เกิดปัญหา เพราะคุณอาจไม่สามารถวางแผนการตลาดอะไรได้เลย ควรเสร็จทันตามกำหนด เพราะ เรา ต้องมีการวางแผนการผลิตระยะยาว และระยะสั้น ในการทำการตลาด ประเมินความต้องการสินค้าในตลาดช่วงนั้น และที่สำคัญ ต้องมีการจัดสรรงบประมาณการผลิตอีกด้วย

4ทริคโรงงาน

โรงงาน คือ

ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 โรงงาน หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน 50 คน ขึ้นไป สำหรับ ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะตั้งโรงงาน สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือการขออนุญาตตั้งโรงงานและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยในปัจจุบันตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้การประกอบกิจการโรงงานได้รับความสะดวกและมีความคล่องตัวขึ้น โดยโรงงานขนาดเล็กจะประกอบกิจการง่ายขึ้น โรงงานขนาดใหญ่จะได้รับความสะดวกมาก

ประเภทของโรงงาน

การประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 7) กำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ

โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง

โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก
  • กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี

โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ

  • เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล
  • โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
  • ผู้ผลิตต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
  • ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบางแห่ง
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ

ประเภทโรงงาน

เครดิต : idrlab.com / mercular.com / diw.go.th

รับทำบัญชี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
รับทำบัญชี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )