4 การซื้อทรัพย์สิน บันทึกบัญชี ที่ดิน อาคาร

Click to rate this post!
[Total: 2 Average: 5]

การซื้อทรัพย์สิน

การบันทึกบัญชีเมื่อมีการซื้อทรัพย์สิน (Acquisition and Valuation)

เมื่อกิจการมีความต้องการสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการบริหารกิจการ ไม่ว่าจะนำมาใช้เพื่อการดำเนินงานหรือเพื่อการผลิตก็ตาม สามารถเลือกวิธีการได้มาซึ่งสินทรัพย์หลายวิธีด้วยกันคือ

การซื้อทรัพย์สิน
การซื้อทรัพย์สิน
  1. ซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด การซื้อสินทรัพย์ถาวรในบางกิจการมีความสามารถในการชำระเงินโดยอาจเลือกตัดสินใจซื้อสินทรัพย์เป็นเงินสดโดยไม่มีการใช้เครดิตในการซื้อสินทรัพย์นั้น
  2. กรณีซื้อเป็นเงินเชื่อ กิจการบางแห่งได้ตัดสินใจเลือกวิธีการจัดซื้อสินทรัพย์ถาวร โดยการชำระเป็นเครดิตซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 7วัน 15วัน 30วัน หรือแล้วแต่ตกลงกับผู้ขาย ทำให้กิจการได้มีการหมุนเวียนเงินสดให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ
  3. กรณีซื้อสินทรัพย์เป็นการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระ การซื้อสินทรัพย์ถาวรอีกวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมจัดซื้อกันค่อนข้างมาก ก็คือการซื้อโดยการเช่าซื้อหรือผ่อนชำระเพราะวิธีการหมุนเวียนเงินสดของกิจการให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้เงินสดทั้งก้อนในการจัดซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว แต่จะเป็นการทยอยจ่ายเป็นงวด งวดละเดือนจนกว่าจะครบ แต่ข้อเสียของวิธีนี้จะทำให้กิจการจะต้องรับภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายค่าสินทรัพย์ด้วย
  4. การซื้อสินทรัพย์โดยวิธีลิสซิ่ง (Leasing) คือการซื้อสินทรัพย์มาเพื่อการประกอบธุรกิจนอกจากจะซื้อเป็นเงินสด เงินเชื่อหรือเช่าซื้อแล้วยังสามารถซื้อสินทรัพย์โดยวิธีการเช่าแบบ (Leasing) สัญญาเช่าระยะยาวได้อีกด้วย เมื่อกิจการมีความต้องการสินทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้เพื่อการประกอบธุรกิจ นอกจากกิจการจะซื้อสินทรัพย์โดยเงินสด เงินเชื่อ หรือวิธีผ่อนชำระหรือเช่าซื้อแล้วก็ตามยังมีอีกวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติในการที่จะได้สินทรัพย์มาครอบครองก็คือวิธีลิสซิ่ง หรือเรียกว่าสัญญาเช่าระยะราว การซื้อสินทรัพย์โดยวิธีลิสซิ่งหมายถึงการซื้อสินทรัพย์โดยการเช่าระยะยาวเมื่อหมดสัญญาเช่ากิจกาการก็จะตัดสินใจว่าจะซื้อสินทรัพย์ที่เช่าหรือไม่ ดังนั้นในการเช่าสินทรัพย์โดยวิธี Leasing ในประเทศไทยนิยมใช้มีอยู่ 2 วิธีคือ
  • การเช่าแบบ Leasing การซื้อทรัพย์สินโดยการทำสัญญาเช่าระยะยาวเป็นสัญญาเช่าทางการเงิน (Financial Lease) ถือว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าทันทีที่มีการส่งมอบ ทางภาษีอากรไม่ยอมให้ถือเป็นสินทรัพย์เนื่องจากผู้เช่า ยังไม่ได้ซื้อทรัพย์สินที่เช่า ดังนั้นค่าเช่าที่จ่ายจึงถือเป็นค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามรอบระยะเวลาบัญชีนั้นซึ่งเป็นลักษณะของสัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease)
  • การซื้อรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน กิจการแทบทุกประเภทมักจะมีรถยนต์เข้ามาใช้ภายในกิจการ ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องมีรถยนต์ไว้ในการประกอบกิจการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้เป็นไปตามเป้หมายที่ได้กำหนดไว้ สะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการติดต่อการงานต่างๆ รถยนต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจจะมีหลายประเภทด้วยกันแต่ที่มักจะมีปัญหาจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ
  1. ระยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
  2. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน หรือรถยนต์กระบะ

ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เช่น ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่ายางรถยนต์ ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ กิจการไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อดังกล่าว และหากมีการเช่ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนไว้ใช้ภายในกิจการ ค่าเช่ารถยนต์จะต้องไม่เกิน 36,000 บาทต่อเดือนต่อคัน ทั้งนี้ค่าเช่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย และหากเช่าเป็นรายวันจะถือเป็นรายจ่ายได้ต้องไม่เกิน 1,200 ต่อวันต่อคัน

สัญญาเช่าดำเนินงาน คือ

สัญญาเช่าดำเนินงาน คือ (Operating Lease) เป็นสัญญาเช่าที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าเช่าทุกเดือน กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เช่ายังคงเป็นของผู้เช่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าผู้เช่าจะต้องคืนหรือส่งมอบสินทรัพย์ที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า ดังนั้นสัญญาเช่าดำเนินงานจะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
ผู้ให้เช่ามีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้เช่า ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการให้เช่าสินทรัพย์นั้น
ผู้เช่าไม่มีสิทธิซื้อสินทรัพย์เมื่อหมดสัญญาเช่า
สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทั้ง 2 ฝ่าย
ระยะเวลาของสัญญาเช่ามักจะเป็นสัญญาเช่าระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี

สัญญาเช่าทางการเงิน

สัญญาเช่าทางการเงิน คือ (Financing Lease) หากิจการไม่ต้องการเช่าสินทรัพย์โดยวิธีสัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) กิจการอาจจะเลือกทำสัญญาเช่าทางการเงิน (Financing Lease) ที่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า สินทรัพย์ที่เช่าเมื่อหมดสัญญาเช่ากิจการอาจจะซื้อสินทรัพย์นั้นมาถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ หากกิจการเลือกวิธีนี้จะถือว่าสินทรัพย์ที่เช่านั้นเป็นสินทรัพย์ของกิจการเมื่อมีการส่งมอบ ต้องนำมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดมาถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการตามข้อกำหนดสัญญาเช่า ลักษณะของสัญญาเช่าทางการเงินจะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ผู้ให้เช่าจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดอายุการเช่า
2. ให้สิทธิ์ผู้เช่าสามารถซื้อสินทรัพย์ที่เช่าได้ในราคาต่ำกว่าท้องตลอดเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง
3. อาจุของสัญญาเช่าจะต้องไม่น้อยกว่า 80% ของอายุการใช้สินทรัพย์ที่เช่า
4. มูลค่าปัจจุบันของค่าเช่านับแต่วันเริ่มทำสัญญาต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 90% ของราคาที่อาจขายให้กับบุคคลภายนอก
5. ราคาตามบัญชี (Book Value) และราคาตลาดของสินทรัพย์มีราคาเดียวกัน
6. ไม่มีผลกำไรหรือขาดทุน ณ วันทำสัญญา
การซื้อทรัพย์สิน
การซื้อทรัพย์สิน

Leave a Comment

Scroll to Top