การหักค่าโอทีกรณีมาสาย

รับทำบัญชี.COM | วิธีคิดมาสายกฎหมายแรงงานหักค่าจ้างมาตรา 76

การหักค่าโอทีกรณีมาสาย การเลิกจ้าง

การหักค่าโอทีกรณีมาสาย การเลิกจ้าง หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา

การหัก ณ ที่จ่ายของค่าจ้าง
มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไง้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงาน
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(4.) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
การหักตาม (2) (3) (4) (5) ในแต่ละกรณีห้ามหักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

1. การเลิกจ้างลูกจ้าง ไม่ว่าจะช่วงทดลองงานหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบที่จำเป็น 3 ประการด้วยกัน คือ
(1) การบอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 17)
(2) การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง (มาตรา 118)
(3) เหตุแห่งการเลิกจ้าง (พรบ.จัดตั้งศาลแรงงาน)

ดังนั้น หากนายจ้างจะเลิกจ้างคุณ ต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบ 3 ประการข้างต้นนี้ ว่าเข้าข่ายหรือต่องจ่ายกันอย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “เหตุแห่งการเลิกจ้าง” เพราะนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เพียงจ่ายเงินชดเชยแล้วจบๆกันไป แต่ต้องมีเหตุแห่งการเลิกจ้าง ว่าได้เลิกจ้างลูกจ้างอย่างเป็นธรรมหรือไม่ การที่ฝ่ายบุคคลบอกว่า “เบื้องบนไม่ชอบการทำงาน” การกระทำเช่นนี้ เป็นความอ่อนหัดของฝ่ายบุคคลที่ยังใช้ระบบเจ้าขุนมูลนาย และอำนาจบริหารมากดขี่ลูกจ้างโดยไม่ได้คำนึงถึงสิทธิและกฎหมายที่คุ้มครองลูกจ้าง ดังนั้น จะเลิกจ้างลูกจ้าง เหตุแห่งการเลิกจึงต้องมาก่อน หากไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง เลิกจ้างไม่ได้ครับ ถึงเลิกจ้างไปก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีกต่อหนึ่ง
 
นอกเสียจากส่วนนี้ จะเป็นเรื่องของการพิจารณาเงินบอกกล่าวล่วงหน้าและการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งผมต้องทราบวันเริ่มงาน และรอบการจ่ายเงินเดือนในองค์กรของท่านก่อน จึงจะตอบได้ว่า จะจ่ายกันอย่างไร
 
แต่จำคำพูดผมไว้ว่า การที่นายจ้างเดินมาบอกว่าไม่ผ่านการทำงาน ไม่ต้องมาทำงานแล้วนั้น เป็นเจตนาในการเลิกจ้าง ดังนั้น ฝ่ายบุคคลเจ้าเล่ห์ทั้งหลาย จะบอกให้ลูกจ้างเขียนหนังสือลาออกให้บริษัท และอ้างว่าเพื่อเป็นการไม่เสียประวัติ ผมเตือนไว้ตรงนี้เลยว่า อย่าตกหลุมพรางนี้เป็นอันขาด เพราะการที่ลูกจ้างเขียนหนังสือลาออก เป็นการสละสิทธิแล้วซึ่งการเรียกร้องสิทธิใดๆ หากหลังจากท่านเขียนหนังสือลาออก ท่านจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องย้อนหลังในเรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินชดเชยใดๆ
ทั้งนี้ การที่นายจ้างไม่ให้ทำงานต่อ ถือเป็นการเลิกจ้าง ให้นายจ้างทำหนังสือเลิกจ้างมาครับ คุณห้ามเขียนหนังสือลาออกแต่อย่างใด นายจ้างไม่ทำหนังสือเลิกจ้างให้ ก็นั่งทำงานต่อมันอย่างนั้น ไม่ต้องเขียนหนังสือลาออก
2. การมาทำงานสาย นายจ้างสามารถงดจ่ายค่าจ้างได้ (ไม่เรียกหักเงิน) แต่เป็นการงดจ่ายค่าจ้างเนื่องจากไม่มาทำงาน แต่การงดจ่ายค่าจ้างนี้นั้น จะต้องงดจ่ายตามจริงเช่น สาย 5 นาที ก็ต้องงดจ่าย 5 นาที จะเหมาไม่จ่าย 2 ชม.ไม่ได้ครับ ส่วนค่าคอมมิชชั่น ผมต้องดูระเบียบการจ่ายด้วยว่า วางเอาไว้อย่างไร แต่ส่วนใหญ่แล้ว คอมมิชชั่นเป็นค่าจ้าง ไปงดจ่ายก็อาจเกิดปัญหาได้
3. ถึงแม้เป็นลูกจ้างทดลองงาน แต่กฎหมายก็กำหนดให้นายจ้างต้องหักและนำส่งประกันสังคม เรื่องนี้นายจ้างผิดครับ สามารถร้องเรียนต่อสนง.ประกันสังคมได้
 
การหักค่าโอทีกรณีมาสาย การเลิกจ้าง หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
การหักค่าโอทีกรณีมาสาย การเลิกจ้าง หักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )