- กิจการร่วมค้า
- กิจการร่วมค้า การประกอบกิจการร่วมกันตั้งแต่สองคน หรือสองกิจการขึ้นไป
- การบันทึกบัญชี กิจการร่วมค้า ตัวอย่าง
- การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
- สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
- กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
- การบันทึกบัญชีร่วมค้า-ฝากขาย ด้านผู้รับฝากขาย สามารถบันทึกได้กี่วิธี อะไรบ้าง
กิจการร่วมค้า
กิจการร่วมค้า การประกอบกิจการร่วมกันตั้งแต่สองคน หรือสองกิจการขึ้นไป
ลักษณะของกิจการร่วมค้า
การร่วมค้าเป็นการประกอบกิจการร่วมกันตั้งแต่สองคน หรือสองกิจการขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง เมื่อการค้าเสร็จสิ้นถือว่าการร่วมค้า สิ้นสุดลง
รูปแบบของการร่วมค้ามี 3 รูปแบบ คือ การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกันและกิจการที่ควบคุมร่วมกันหรือกิจการร่วมค้า
วิธีการบัญชีของการร่วมค้ามี 2 วิธี คือ วิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยไม่เปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหากและวิธีการบันทึกบัญชีการร่วมค้าโดยเปิดสมุดบัญชีกิจการร่วมค้าแยกต่างหาก
การบันทึกบัญชี กิจการร่วมค้า ตัวอย่าง
- รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
- รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
- รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations)
รูปแบบที่ 1 การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled operations) การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากเดิมแต่จะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม โดยผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะใช้ความรู้ความชำนาญและสินทรัพย์ของตน เช่น อุปกรณ์ โรงงาน
สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
รูปแบบที่ 2 สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets) การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะเหมือนกับรูปแบบแรก คือ ไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกออกจากกิจการ โดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิมผู้ร่วมค้าแต่ละรายจะนำสินทรัพย์ของตนมาให้ผู้ร่วมค้ารายอื่นๆ ใช้ร่วมกัน หรืออาจเป็นเจ้าของร่วมกันในสินทรัพย์ที่ซื้อมาเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ของกิจการร่วมค้า การบันทึกบัญชีและการแสดงรายการของการร่วมค้าจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติ
กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities )
รูปแบบที่ 3 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities ) การดำเนินงานของกิจการร่วมค้ารูปแบบนี้จะมีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมาย จึงสามารถแยกออกจากกิจการเดิม โดยกิจการที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะมีสัญญาซึ่งระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจควบคุมร่วมกันในการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า การบันทึกบัญชีและงบการเงิน กิจการร่วมค้ารูปแบบนี้เป็นหน่วยงานแยกออกมาตามกฎหมาย จึงสามารถที่จะมีสินทรัพย์ ก่อหนี้สิน และมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นของตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินของกิจการเองตามมาตรฐานการบัญชีเช่นเดียวกับกิจการทั่วไป
การจัดแบ่งรูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 สามารถจัดแบ่งรูปแบบได้ 3 รูปแบบ จะพบการดำเนินงาน 2 รูปแบบแรก คือ การดำเนินงานที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Operations) และสินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets ) จะมีรูปแบบที่เหมือนกัน คือ ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นหน่วยงานตามกฎหมายโดยจะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม ส่วนการดำเนินงานรูปแบบที่สาม เป็นแบบกิจการที่ควบคุมร่วมกัน หรือกิจการร่วมกัน (Jointly Controlled Entities ) ซึ่งจะมีการจัดตั้งการร่วมค้าเป็นหน่วยงานตามกฎหมายแยกการร่วมค้าออกจากิจการเดิมของผู้ร่วมค้าแต่ละคน
การบันทึกบัญชีร่วมค้า-ฝากขาย ด้านผู้รับฝากขาย สามารถบันทึกได้กี่วิธี อะไรบ้าง
*** วิธีการบันทึกบัญชีด้านผู้รับฝากขายมี 2 วิธี คือ
1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ารับฝากขายแยกไว้ต่างหากจากการขายปกติของกิจการ
2. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ารับฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการ
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
รถหัวลาก ตู้คอนเทนเนอร์ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย?
ส่งสินค้าคาร์โก้ ขนส่ง บริการ มีคุณภาพ?
ลักษณะของ ระบบต้นทุนงานสั่งทำ?
ในเครือเซ็นทรัล กิจการค้า รายรับ รายจ่าย?
แม่ค้าออนไลน์ ออเดอร์เป็นร้อย ไม่เปิดบิล?
แนะนำ 3 ขั้นตอน เริ่มต้น ขายของออนไลน์
การบันทึกบัญชี กรณีลูกค้าต่างประเทศ ทิ้งเงินมัดจำ ตัวอย่าง
เตรียมตัว สอบสัมภาษณ์ การเป็นนักบัญชี อย่างไรดี