หัก ณ ที่จ่ายรายได้พนักงานเบี้ยประกันภัย 9 ประกันชีวิตหมู่?

หักณ.ที่จ่าย รายได้พนักงาน เบี้ยประกันภัยหมู่

การหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีประกันชีวิตหมู่
1) ค่าเบี้ยประกันหมู่ที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะต้องแยกรายการดังกล่าวออกมาจากเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และนำกรอกลงในช่องข้อที่ 6 ซึ่งเป็นรายการอื่นๆ ตามแบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายแบบเดิม โดยให้ระบุว่าเป็น “ค่าเบี้ยประกันภัย”
2) ลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์เพิ่มจากการที่นายจ้างออกค่าเบี้ยประกันให้ ไม่ต้องนำรายได้ส่วนนี้มารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีนี้ และ
3) กรณีที่นายจ้างได้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้กับลูกจ้างไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยมีการนำค่าเบี้ยประกันหมู่ไปบวกรวมอยู่ในเงินเดือนค่าจ้าง กรณีนี้ให้นายจ้างออกเอกสารอีกฉบับ โดยแยกรายการทั้ง 2 ออกจากกันให้ชัดเจน และมอบให้ลูกจ้างไว้เป็นหลักฐานแนบกับหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย เพื่อใช้ในการยื่นเสียภาษีปีนี้
สำหรับเงื่อนไขของลูกจ้างที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีที่นายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันหมู่ให้แทน มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี และได้สิทธิพิเศษเฉพาะการประกันภัย ในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกจ้าง สามี ภรรยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย ส่วนกรณีจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศให้ครอบคลุมเฉพาะลูกจ้างในขณะปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

เฉลี่ยได้กี่คะแนน 5 / 5. จำนวนโหวต: 1

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนโพสต์นี้

จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 5249: 140