มารู้จักความหมายของการปิดบัญชีกัน
ขั้นตอนที่ 1 บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งจะมีการบันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน ส่วนการบันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของทุน และบันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน
ขั้นตอนที่ 2 ผ่านรายการปิดบัญชี โดยผ่านข้อมูลรายละเอียดจากรายรับรายจ่ายจากสมุดรายวันทั่วไป ส่งไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการปิดบัญชีทรัพย์สิน ส่วนของหนี้สินและส่วนของเจ้าของในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
ขั้นตอนที่ 4 เป็นส่วนขั้นตอนการจัดทำงบทดลองหลังทำการปิดบัญชีแล้ว การปิดบัญชีหมวดทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน การปิดบัญชียอดหมวดนี้จะต้องปิดโดยการหายอดคงเหลือยกยอดไปงวดหน้า โดยการเขียนรายละเอียดในช่องรายการ ยอดยกไปงวดหน้า มีการเขียนรายละเอียดในช่องรายการว่า “ยอดยกไป” และเมื่อเริ่มบัญชีใหม่ต้องมีการบันทึกรายการเปิดบัญชีใหม่ และมีการเขียนรายละเอียดในช่องรายการว่า “ยอดยกมา” แล้วจึงหายอดคงเหลือยกไปและยกมาในบัญชีงวดใหม่ สำหรับกรณีบัญชีไม่มียอดคงเหลืออยู่เลย ก็ปิดบัญชีให้หมดไปเลย งบทดลองหลังปิดบัญชี เมื่อทำการปิดบัญชีแยกประเภทแล้ว จะเป็นขั้นตอนการทำงบทดลองหลังบัญชีเพื่อที่จะตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีว่ายอดคงเหลือที่เป็นสินทรัพย์ หนี้สินและทุน มีจำนวนที่ถูกแล้วแล้วหรือยัง การรวมยอดด้านสินทรัพย์จะมียอดด้านเดบิต นั่นคือยอดรวมหนี้สินและทุนยอดเครดิต ท้ายแล้วยอดรวมของทั้งสองด้านจะเท่ากัน จะเห็นได้ว่าเมื่อได้มีการบันทึกรายการบัญชีทั้งรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้องในแต่ละรายการแล้ว เมื่อสิ้นสุดรายการประจำปี การปิดงบบัญชีในตอนสุดท้ายและการทำงบทดลองหลังปิดบัญชี จะทำให้การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีจะทำได้อย่างละเอียดรัดกุม ทำให้กิจการสามารถทราบถึงข้อมูลทั้งส่วนของสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ซึ่งเจ้าของกิจการสำหรับนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงการดำเนินงานของกิจการให้เกิดส่วนกำไรมากที่สุด
สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341
ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี