อาชีพ นักบัญชี

4 ปี อาชีพนักบัญชี จบบัญชีทํางานอะไรได้อีก

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]

อาชีพนักบัญชี

อาชีพนักบัญชี

                  นักบัญชี อาชีพที่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทาง และไม่ใช่แค่ความรู้เท่านั้น จำเป็นต้องมีความสามารถเฉพาะทางด้วย โดยต้องใช้สิ่งต่างๆที่เรียนมาโดยตรงจากสายบัญชี เข้ามาทำงานในอาชีพบัญชีโดยเฉพาะ เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานที่ดี โดยต้องมีความรับผิดชอบเป็นอย่างมากในอาชีพนี้ หลายคนรู้จักนักบัญชีในตำแหน่ง สมุห์บัญช หรือว่าผู้จัดการฝ่ายบัญชีนั่นเอง และในที่สุดเมื่อมีความรู้ มีเทคนิค และมีความสามารถมากขึ้น ระดับ ตำแหน่งต่างๆก็จะได้รับการอัพเกรดขึ้นจนกลายเป็นนักบัญชี สำหรับผู้ที่ทำบัญชีนั้นจะมีกฎหมายต่างๆที่รองรับและคุ้มครองอาชีพนักบัญชีโดยเฉพาะ แต่ว่าเหล่านักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายคุ้มครองนั้นก็อาจจะยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน จึงต้องหาประสบการณ์ต่างๆ

โดยใช้วุฒิการศึกษาเป็นส่วนประกอบ และหากไม่มีวุฒิการศึกษาก็อาจจะทำให้ไม่สามารถเป็นนักบัญชีได้ นักบัญชีหรือว่าผู้ทำบัญชีนั้นก็ต้องทำการตรวจสอบบัญชีต่างๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องใช้ความอิสระในการหาประสบการณ์ แต่ว่ามันก็ต้องพึ่งพาและอาศัยกัน สำหรับคนทำบัญชีและคนตรวจสอบบัญชีนั้นไม่ควรเป็นคนๆเดียวกัน เพราะว่ามันก็อาจจะทำให้เกิดทั้งผลเสียต่างๆตามมาเช่น คนทำก็ต้องคิดว่างานของตัวเองถูก เป็นต้น

จนเกิดเป็นคำที่ว่าคนทำไม่ตรวจ คนตรวจไม่ทำ ก็คล้ายกับอีกหลายอาชีพเช่น หมอเป็นคนตรวจแล้วก็สั่งยาให้เจ้าหน้าที่ห้องยาเป็นคนหยิบยา ทางด้านเภสัชกรเองก็มีหน้าที่หยิบยาเท่านั้น แต่ว่าไม่สามารถสั่งยาได้แต่อย่างใด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอาชีพบัญชี จำเป็นต้องใบใบประกอบวิชาชีพด้วย แล้วต้องทำการขึ้นทะเบียน ดังต่อไปนี้คือ ผู้ทำบัญชี, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, และผู้สอบภาษีอากร สำหรับอาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีก็คือ, อาชีพรับทำบัญชี, อาชีพตรวจสอบบัญชี, อาชีพวางระบบบัญชี, อาชีพรับเขียนโปรแกรมบัญชี, อาชีพที่ปรึกษาภาษีอากร, อาชีพวิทยากร, อาชีพผู้สอนวิชาบัญชี, อาชีพภาษีอากร, อาชีพสถาบันอบรมบัญชี, อาชีพจำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เป็นต้น

บัญชีงานหนักมั้ย

          หลายๆคนกังวลว่าทำงานเป็นพนักงานบัญชีแล้วต้องทำงานหนัก ถามว่าการทำอาชีพบัญชีนั้นงานมันหนักมั้ย ความจริงแล้ว มันก็มีช่วงที่งานหนักบ้างเบาบ้าง เหมือนกับงานอื่นๆ แต่ว่าการเป็นพนักงานบัญชีนั้นอาจจะไม่ได้รูทีนเหมือนพนักงานประจำที่เข้าออกงานตรงเวลา แต่หากว่าเราสามารถทำการแบ่งเวลาในการทำบัญชีได้ งานมันก็จะไม่หนักแน่นอน ส่วนรายได้ที่เราจะได้รับจากการทำอาชีพบัญชีนั้น
ก็จะน่าสนใจเมื่อเราได้รับตำแหน่งเป็นซีพีเอ ซึ่งอาชีพนี้ก็คือผู้รับหน้าที่ตรวจสอบบัญชี เนื่องจากเป็นตำแหน่งเดียวที่สามารถเซ็นต์ประเมินงานได้ มูลค่าของลายเซ็นต์ในตำแหน่งนี้ถือว่าค่อนข้างสูง คุณค่าของอาชีพบัญชีเมื่อเทียบกับคนรอบข้างและสังคม นั้นถือว่าเป็นอาชีพที่เรียกว่าปิดทองหลังพระ
เพราะว่าการทำงานของอาชีพบัญชี จะต้องเช็คธุรกิจต่างๆว่ามีความบกพร่องหรือไม่ พนักงานบัญชีบางคนอาจจะไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ ที่จะต้องเข้าไปยุ่งในเรื่องของความบกพร่องในธุรกิจของคนอื่นและเจ้าของธุรกิจนั้นๆก็ไม่ใช่ว่าจะชอบพนักงานบัญชีเช่นกัน เพราะว่ต้องมาขอเอกสารต่างๆ ต้องตรวจนั่นตรวจนี่ แต่ว่าหากไม่มีผู้ตรวจสอบบัญชีก็จะทำให้ไม่รู้ในเรื่องของความบกพร่องต่างๆของธุรกิจเรา
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความบกพร่องต่างๆได้ บางคนอาจจะมองข้ามในเรื่องของการบริการเงิน การทำบัญชีมีส่วนทำให้การบริการเงินนั้นดีขึ้น  และลดปัญหาในเรื่องของการทุจริตต่างๆซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ง่าๆยจากการตรวจสอบบัญชีนั่นเอง ยิ่งบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องทำการตรวจบัญชีเช็คว่ามีมูลค่าการลงหุ้นเท่าใด มีหนี้สินเท่าไหร่ เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในอนาคตและเป็นสิ่งประกอบในการตัดสินใจเพื่อลงทุน รวมแล้วอาชีพบัญชีอาจจะมีหน้าที่ที่ค่อนข้าจุกจิก แต่เมื่อเราใช้ทักษะ ใช้ความรู้และความสามารถในการทำบัญชีขั้นพื้นฐานได้ มันก็จะทำให้ความซับซ้อนในการทำงานนั้นน้อยลง หากว่าคนไม่เรียนมาก็อาจจะไม่เข้าใจ ฉะนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจระบบบัญชีทั้งหมดก่อนเป็นพนักงานบัญชี

อาชีพบัญชีต้องทำงานร่วมกับอาชีพใดบ้าง

          อาชีพบัญชี ต้องทำงานร่วมกับหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นเซอร์ติไฟด์ พับลิค แอคเค้าแทนท์ หรือที่เรียกย่อๆว่า ซีพีเอ โดยหัวหน้างานนั้นๆ จะต้องทำการประเมินงาน แล้วก็ทำการตรวจสอบว่ามีความถูกต้องเพียงใด เพื่อให้เซ็นต์รับรองงานได้ สำหรับอาชีพบัญชี เป็นอาชีพที่น่าเชื่อถือและคนที่จะเข้ามาเป็น ซีพีเอนั้น ก็ต้องผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนระดับการทำงานให้มีความน่าเชื่อถือพอ ก่อนที่จะร่วมมือในการตรวจสอบบัญชีของแต่ละบริษัทหรือว่าแต่ละธุรกิจ อาชีพบัญชี ต้องทำงานร่วมกับเมเนเจอร์ต่างๆ เพราะว่าเหล่าเมเนเจอร์ส่วนมากก็จะดูแลงานทั้งหมด

 

จนต้องประเมินการทำงานว่าต้องทำงานกับทีมไหน แต่ละทีมก็ต้องมีความสามารถที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น การเข้าไปตรวจงานที่บริษัทต่างๆ อาจจะต้องศึกษาก่อนว่าควรใช้ประเด็นอะไรในการทำงาน เพื่อให้ผลลัพธ์ในการทำบัญชีออกมาดีที่สุด พนักงานบัญชีของแต่ละบริษัทนั้นก็ไม่เหมือนกัน บางคนที่เราทำงานด้วยเราอาจจะต้องนำเอกสารต่างๆเข้าไปประเมินด้วยเพื่อใช้ประกอบการทำงานต่างๆอย่างละเอียดที่สุด เพราะว่าต้องเข้าไปยุ่งกับส่วนงานของคนอื่นค่อนข้างมาก การทำเอกสารนั้นก็ต้องทำตลอดเวลา เพื่อให้งานมีความถูกต้องที่สุดและมีความโปร่งใสมากที่สุด การทำบัญชีนั้นความจริงแล้วก็มักจะได้ร่วมงานกับผู้ที่มีความรู้ต่างๆ นอกจากเรื่องการเงินแล้ว

 

ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพวกธุรกิจต่างๆด้วยเช่นกัน หากว่าเราไม่สามารถทำการตรวจสอบหน้างานได้ การทำบัญชี ก็จะไม่ลุล่วง ฉะนั้นเราต้องทำการประเมินราคาของสิ่งของต่างๆให้ชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานเป็น พนักงานบัญชีอย่างดีที่สุด คุณลักษณะของงานบัญชี มักจะมีเป้าหมายของงานเป็นหลัก โดยโจทย์ใหญ่ของการทำบัญชแต่ละครั้ง ก็เรียกว่าเป็นความท้าทายเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้นในธุรกิจ จึงเป็นเรื่องแปลกใหม่ในการทำบัญชีเสมอ บางคนมีความสนุกและมีความสุขในการทำงานตลอดเวลา แต่ว่าเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าโปรเจ็คท์ใหม่ใยการทำบัญชีต่อไปจะต้องทำให้กับธุรกิจอะไร เพราะว่าในโลกของเรามีธุรกิจมากมายนั่นเอง

 

อาชีพ และ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ นักบัญชี

งานที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี นั้น มีหลาย ๆ องค์กรด้วยกัน ทั้งองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิการกุศล มูลนิธิในรูปแบบต่าง ๆ องค์กรบริษัท และองค์กรของรัฐบาล ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความรู้ของการทำบัญชีในการเก็บรวบรวมธุรกรรมทางการเงิน และการตลาดที่เกี่ยวข้อง

เราสามารถแบ่งลักษณะของผู้ทำบัญชีไว้ เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

นักบัญชีหน่วยงานเอกชน นักบัญชีสำคัญกับหน่วยงานเอกชนอย่างไร คำตอบก็คือ หน่วยงานเอกชนมีความต้องการให้นักบัญชีเข้ามาจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน เพื่อให้ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้รับข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการลงทุน นักบัญชีจะมีความสำคัญแทบจะทุกส่วน ทั้งใช้ความรู้ในการจัดทำรายงานประจำปี การใช้ความรู้ในด้านการประเมินภาษีให้สรรพากร หรืออาจจะทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้า ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินในทุก ๆ ส่วน ตำแหน่งงานของนักบัญชี มีหลายตำแหน่งด้วยกัน เช่น นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัท สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี เป็นต้น

นักบัญชีราชการ หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทางราชการหรือรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ล้วนต้องบริหารจัดการด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณรายรับ รายจ่าย รายละเอียดทางการเงิน การจัดเก็บภาษี สัมปทาน งบประมาณส่วนกลาง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ต้องมีข้อมูลด้านตัวเลข เพื่อช่วยในการวิเคราะห์งบประมาณตามนโยบายแต่ละองค์กร นักบัญชีจะเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลทางด้านการเงินเพื่อให้ทางองค์กรได้นำข้อมูลไปประเมินวางแผนในการจัดทำตามนโยบายของหน่วยเหนือต่อไป
มีข้อแตกต่าง สำหรับนักบัญชีหน่วยงานเอกชน และหน่วยงานรัฐ คือ ในเรื่องรายละเอียดรูปแบบกฎระเบียบต่าง ๆ ในด้านการเงินขององค์กร ด้วยมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักบัญชีจึงควรใส่ใจค้นคว้าหาข้อมูลในด้านกฎเกณฑ์ขององค์กรในแต่ละองค์กรว่ามีลักษณะอย่างไร เพื่อจะได้ทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กรให้มากที่สุด

งานบัญชีส่วนบุคคลหรือสาธารณะ งานบัญชีลักษณะนี้จะมีความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อใคร มีเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน ซึ่งนักบัญชีสามารถรับงานตามที่มีผู้ว่าจ้างให้ทำ สำหรับค่าบริการนั้นตามที่ตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างและนักบัญชีเอง นักบัญชีอิสระมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น นักบัญชีทั่วไป นักวิเคราะห์ระบบบัญชี นักวางแผนระบบบัญชี ที่ปรึกษาทางภาษีอากร ผู้ตรวจสอบบัญชี นักบัญชีควรจะมีความรู้ หลักทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวเลขในเรื่องต่าง ๆ ให้ถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนี้ควรมีความเข้าใจในทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ความรู้ให้เหมาะกับองค์กรในลักษณะต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่านักบัญชีมีความสำคัญแทบจะทุกหน่วยองค์กร ทั้งหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอิสระ ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญและตลาดมีความต้องการ ทุกองค์กรต่างต้องการนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญและมีคุณสมบัติของการเป็นนักบัญชีที่ดี เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าต่อไป

อาชีพนักบัญชี
อาชีพนักบัญชี

Leave a Comment

Scroll to Top